งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 3 การจัดตั้งธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 รูปแบบการประกอบธุรกิจ
กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company) บริษัทมหาชน (Public Company) กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)

3 กิจการเจ้าของคนเดียว
(Sole Proprietorship) การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนโดยคนๆ เดียว ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือรับผิดชอบคนเดียว

4 ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของธุรกิจเจ้าของคนเดียว
1. การจัดตั้งทำได้ง่าย เหมาะกับกิจการ ขนาดเล็ก 2. เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลกำไร และ ขาดทุนทั้งสิ้นแต่ผู้เดียว 3. เจ้าของมีอิสระในการบริหารเอง จึงรักษา ความลับได้ดี 4. ข้อบังคับทางกฎหมายมีน้อย 5. การเลิกกิจการทำได้ง่าย 1. เจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบในหนี้สิน ไม่จำกัดจำนวน 2. การจัดหาเงินทุนเพิ่มขึ้นทำได้ยาก 3. เมื่อกิจการขยายตัวขึ้น เจ้าของต้องรับภาระ ในการทำงานมากขึ้น 4. ลูกจ้างมีโอกาสก้าวหน้าได้ค่อนข้างจำกัด 5. อายุกิจการไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคนที่เป็น เจ้าของกิจการ

5 กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership)
การดำเนินธุรกิจโดยการร่วมกันของกลุ่มบุคคลตั้งแต่ คนขึ้นไป ตกลงที่จะดำเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงาน

6 ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วน
มีสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สัญญาจะทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ สัญญามักจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการตกลงร่วมทุน คู่สัญญาจะต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงทุน ได้แก่ เงินสดหรือทรัพย์สิน เช่น เครื่องจักร ที่ดิน ฯลฯ ตลอดจนแรงงาน การกระทำกิจกรรมร่วมกัน มีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรจากการร่วมทำธุรกิจ

7 ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด

8 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผลกำไรขาดทุนแบ่งกันตามข้อสัญญา
บุคคล 2 คนทำสัญญาลงทุนร่วมกัน เพื่อแบ่งกำไรร่วมกัน (ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) หุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจบริหารกิจการ เว้นแต่ หุ้นส่วนคนอื่นทักท้วง มีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผลกำไรขาดทุนแบ่งกันตามข้อสัญญา หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวน

9 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจดทะเบียน (มีฐานะเป็นนิติบุคคล) หุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจบริหารกิจการ เว้นแต่ หุ้นส่วนคนอื่นทักท้วง มีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผลกำไรขาดทุนแบ่งกันตามข้อสัญญา หุ้นส่วนรับผิดชอบในการกระทำของหุ้นส่วนที่อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของห้าง โดยไม่จำกัดจำนวน แต่เจ้าหนี้ของห้างฯ ต้องเรียกจากห้างฯ ก่อน

10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจำกัด ไม่มีอำนาจบริหารกิจการ
คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีการจดทะเบียน และมีหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภท 1. หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด 2. หุ้นส่วนพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัด ไม่มีอำนาจบริหารกิจการ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด มีอำนาจจัดการห้างได้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด รับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนรับจะลงทุนในห้างฯ เว้นแต่ ได้เข้าจัดการงานของห้างฯ และยอมเอาชื่อตนเป็นชื่อของห้างฯ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน

11 บริษัทจำกัด(Limited Company)
การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ทุนแบ่งเป็นหุ้นๆ ละไม่ต่ำกว่า 5 บาท ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือรับผิดชอบตามส่วนที่ร่วมทุน

12 บริษัทจำกัด กรรมการ เป็นผู้แทนบริษัท มีอำนาจบริหารกิจการภายในกรอบอำนาจและวัตถุประสงค์ของบริษัท ผู้ถือหุ้น มีอำนาจควบคุม และสามารถตรวจสอบบริษัทได้ โดย มีสิทธิ์แต่งตั้งถอดถอนกรรมการ มีสิทธิ์ตรวจสอบเอกสารหลักฐานของบริษัท มีสิทธิ์เลือกผู้สอบบัญชี ผู้ถือหุ้นจะมีความรับผิดจำกัดแค่ค่าหุ้นที่ได้จ่ายไป หรือที่ยังจ่ายไม่ครบเท่านั้น กรรมการ ไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ เว้นแต่ - ได้กระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท หรือนอกอำนาจของกรรมการ

13 ชนิดของหุ้น หุ้นทุน หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่ได้รับเงินปันผลและมีสิทธิในการออกเสียงบริหารบริษัท หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียง หุ้นทุนที่มีสิทธิรองลงมา เป็นหุ้นที่จะได้รับเงินผลหลังจากปันผลให้หุ้นอื่นๆแล้ว หุ้นให้เปล่าเป็นหุ้นที่บริษัทจ่ายแทนเงินปันผลกรณีที่บริษัทมีเงินสดไม่เพียงพอ หุ้นทุนร่วมเป็นเจ้าของ เป็นหุ้นที่ให้แก่คนในบริษัท หุ้นชนิดนี้ไม่มีสิทธิออกเสียงแต่มีสิทธิได้รับเงินปันผล หุ้นกู้ เป็นหุ้นที่ขายให้ประชาชนทั่วไปโดยจ่ายดอกเบี้ยให้ ถือเป็นเจ้าหนี้บริษัท

14 บริษัทมหาชนจำกัด(Public Company)
การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนโดยคนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปเพื่อทำกิจการร่วมกัน จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือ รับผิดชอบตามส่วนที่ร่วมทุน

15 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

16 จบบทที่ 3 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google