งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
Dr.Pokkrong Manirojana

2 การบริหาร vs. การจัดการ Public Sector vs. Private Sector

3 ภาครัฐ vs. ภาคเอกชน Public Sector vs. Private Sector

4 รายละเอียดบทเรียน บทที่ ๘ การเป็นเจ้าของกิจการ
บทที่ ๑ แนวคิดและความหมายของ การบริหาร และการจัดการ บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการ และการบริหารภาครัฐแบบต่างๆ ใน บริบทที่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็น ประชาธิปไตย บทที่ ๓ การจัดการภาคธุรกิจทั้งใน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับ นานาชาติ บทที่ ๔ การศึกษาเปรียบเทียบความ แตกต่างของการจัดการภาครัฐและ ภาคเอกชนในปัจจุบัน บทที่ ๕ การจัดการ และการบริการ ภาครัฐแนวใหม่ บทที่ ๖ การบริหารบุคลากร ด้าน การเงิน และทรัพยากรในภาครัฐ และ ภาคเอกชน บทที่ ๗ การจัดการด้านการตลาดยุค 4.0 บทที่ ๘ การเป็นเจ้าของกิจการ บทที่ ๙ การบริหารรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การที่ไม่ แสวงหาผลกำไร บทที่ ๑๐ การบริหารด้าน เศรษฐกิจสังคมและการเมืองของ รัฐบาลไทย บทที่ ๑๑ การบริหารด้าน การศึกษาและสาธารณสุข บทที่ ๑๒ การบริหารด้านความ มั่นคง และพัฒนาชุมชน คาบที่ ๑๓-๑๕ นำเสนอผลงาน นักศึกษา

5 ความแตกต่างของ การจัดการภาครัฐและเอกชน
ประเด็นที่มีความแตกต่าง การบริหารองค์การภาครัฐ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ขององค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการทำงาน เทคนิคการบริหาร การกำกับดูแล และการ ตรวจสอบ เพื่อให้บริการประชาชน ขนาดใหญ่ ยึดถือกฎ ระเบียบ ตาม นโยบายรัฐ ทำงานตามขั้นตอนที่ กำหนดไว้ชัดเจน โดยหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอก

6 ความแตกต่างของ การจัดการภาครัฐและเอกชน
ประเด็นที่มีความแตกต่าง การจัดการในองค์การ ภาคเอกชน วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ขององค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการทำงาน เทคนิคการบริหาร การกำกับดูแล และการ ตรวจสอบ เพื่อผลประโยชน์ของ องค์การ (เจ้าของ) มีเท่าที่จะเป็นในการ ดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล สูงสุด เน้นการแข่งขัน และการ เติบโต ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของ แต่ละองค์การ

7 Dunlop (1979) ได้เปรียบเทียบการจัดการภาครัฐและธุรกิจเอกชนไว้ 10 ประการคือ
1. แนวคิดเรื่องเวลา ผู้บริหารภาครัฐมักจะวางแผนในระยะสั้น เนื่องจากเวลาถูกจำกัดโดยนักการเมืองที่มีระยะเวลาสั้นในการดำรง ตำแหน่ง ในขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนจะมีแนวความคิดในการ วางแผนระยะยาวกว่าในเรื่องการพัฒนาตลาดนวัตกรรมใหม่ทางด้าน เทคโนโลยี การลงทุน และการสร้างองค์การ 2. ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของ ผู้บริหารภาครัฐที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการเมืองมักจะสั้น ซึ่ง สอดคล้องกับการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง ในขณะที่ผู้บริหาร ภาคเอกชนจะมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่นานกว่า ภาคเอกชน จะมีการฝึกอบรมผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่ง แต่ภาครัฐจะไม่มีการ ดำเนินการดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นเรื่องอันตราย 3. การวัดผลการปฏิบัติงาน ภาครัฐจะไม่ค่อยมีมาตรฐานในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร แต่ภาคเอกชนจะมีการประเมิน ในด้านต่าง ๆ เช่น ผลตอบแทนทางการเงิน ส่วนแบ่งตลาด โดยที่ ภาคเอกชนจะใช้ผลการประเมินในการพิจารณาค่าตอบแทนของ ผู้บริหาร

8 Dunlop (1979) ได้เปรียบเทียบการจัดการภาครัฐและธุรกิจเอกชนไว้ 10 ประการคือ
4. ข้อจำกัดในเรื่องบุคลากร ภาครัฐจะมีความอิสระในเรื่องกำหนด นโยบายและบริหารบุคลากรน้อยกว่าภาคเอกชน เนื่องจากภาครัฐ จะได้การกำกับของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง แต่ภาคเอกชน สามารถกำกับดูแลได้ตามสายบังคับบัญชา 5. ความเป็นธรรมและประสิทธิภาพ ภาครัฐจะเน้นความเป็นธรรม กับประชาชนทุกเขตเลือกตั้ง แต่ภาคเอกชนจะเน้นประสิทธิภาพ และการแข่งขัน 6. กระบวนการทำงานของภาครัฐและเอกชน ภาครัฐจะคำนึงถึง ผลกระทบต่อสาธารณะและความโปร่งใส แต่ภาคเอกชนจะถือว่า เป็นเรื่องภายในและไม่เปิดเผยกับสาธารณะ 7. บทบาทของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน ภาครัฐจะต้องแถลงข่าว กับสื่อมวลชนเป็นประจำ หรือการตัดสินใจในเรื่องใดสื่อจะมีส่วน ได้รู้เห็น แต่การตัดสินใจของภาคเอกชนมักจะไม่ต้องคอยแจ้งสื่อ ดังนั้น สื่อจึงมีผลกระทบกับสาระและเวลาในการตัดสินใจน้อยกว่า ภาครัฐ

9 Dunlop (1979) ได้เปรียบเทียบการจัดการภาครัฐและธุรกิจเอกชนไว้ 10 ประการคือ
7. บทบาทของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน ภาครัฐจะต้องแถลงข่าวกับ สื่อมวลชนเป็นประจำ หรือการตัดสินใจในเรื่องใดสื่อจะมีส่วนได้รู้เห็น แต่การตัดสินใจของภาคเอกชนมักจะไม่ต้องคอยแจ้งสื่อ ดังนั้น สื่อจึงมี ผลกระทบกับสาระและเวลาในการตัดสินใจน้อยกว่าภาครัฐ 8. ทิศทางผู้บริหารของภาครัฐจะตัดสินใจโดยใช้วิธีประนีประนอม เพื่อ ตอบสนองกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อความอยู่รอดในทางตรงข้ามผู้บริหารภาคเอกชนจะตอบสนองเจ้านาย เพียงคนเดียว 9. ผลกระทบจากกฎหมายและระเบียบ ภาครัฐจะถูกกำกับโดยกฎหมาย และระเบียบหลายฉบับ ทำให้ผู้บริหารภาครัฐไม่มีอิสระในการบริหาร จัดการเท่าที่ควร ซึ่งต่างจากภาคเอกชนที่มีความอิสระในการบริหาร มากกว่า เพราะมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามน้อยกว่า 10. เป้าหมายผู้บริหารภาครัฐจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ แต่ผู้บริหารภาคเอกชนมีเป้าหมายในการทำกำไร ความสามารถในเรื่อง ส่วนแบ่งตลาดและการอยู่รอด


ดาวน์โหลด ppt การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google