นางปัจณี บุญส่งสวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ เรื่อง เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ รูปแบบการเรียน การสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับ นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนแบบปกติใน วิชาบัญชีอุตสาหกรรมสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 นางปัจณี บุญส่งสวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ จังหวัดชลบุรี
พัฒนาผู้เรียน ความสำคัญ บัญชีอุตสาหกรรม จุดมุ่งหมายการจัดการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียน ความสำคัญ พัฒนา คุณภาพชีวิต สังคม ประเทศชาติ ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ เข้าใจบัญชี ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ปัญหา คุณภาพของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ บันทึกบัญชีไม่เป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ บันทึกบัญชีไม่เป็น บัญชีอุตสาหกรรม เจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรมไม่ดี การแก้ปัญหา วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรมสูงขึ้น งานวิจัย วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรมสูงขึ้น รายการปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวดบัญชี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ 2. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ
ประชากร. ประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช ประชากร ประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 3 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
จากตาราง พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรม ของ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรม หลังการทดลอง ของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ขนาดของ กลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน t p (n) (X) (SD) (1- Tailed) กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 50 25.69 19.16 4.21 3.99 7.553* .00 * p < .05 จากตาราง พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรม ของ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ในกลุ่มทดลองที่สอนโดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTADมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่สอน สอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรม หลังการทดลอง ของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ขนาดของ กลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน t p (n) (X) (SD) (1-Tailed) กลุ่มทดลองกลุ่มควบคุม 50 92.53 84.38 7.68 11.15 4.041* .00 * p < .05 จากตาราง พบว่าคะแนนเฉลี่ยของเจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรม ของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ในกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ ร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
สรุปผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ของกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบปกติ 2. เจตคติต่อวิชาบัญชีอุตสาหกรรม ของนักเรียนกลุ่มที่รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบการเรียนแบบปกติ