โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.) งานวิจัยการพัฒนาสื่อการสอน E-Learning วิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อมเรื่อง สภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์พลังงาน และพลังงานทดแทน โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.)
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการสอน E-Learning ในรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อมเรื่อง สภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบบรรยายประกอบการ ใช้สื่อการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับ การเรียนการสอน บรรยายเพียงอย่างเดียว เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้สื่อการสอน E- Learning ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รายงานสร้าง ขึ้น
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม วิธีการสอนประกอบการใช้สื่อการสอน E- Learning การเรียนการสอนโดยใช้หนังสือเพียงอย่างเดียว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาช่างอุตสาหกรรม ภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาค ตะวันออก (อี.เทค.) จำนวน 9 ห้อง เฉลี่ยห้องละ 45 คน นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขา ช่างอุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัย เทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.) 2 ห้อง คือ E2/4 และ E2/5 เป็นจำนวน 88 คน
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต e-learning ในรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพลังงานและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง สภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์พลังงาน และพลังงาน ทดแทน เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 15 คะแนน แบบประเมินความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC)
สรุปผลการวิจัย ผลการหาประสิทธิภาพสื่อ E-Learning ประสิทธิภาพใน กระบวนการเรียน (E1) มีค่าเท่ากับ 89.16 และมีค่าประสิทธิภาพ ของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 85.39 ผลการประเมินสื่อ E-Learning จากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความ ตรงเชิงสภาพ และความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC สูงกว่า 0.6 ในทุก ข้อ
สรุปผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมด้านการสอนของ นักเรียนที่เรียนแบบธรรมดาประกอบการใช้ E-Learning สูงกว่า นักเรียนที่เรียนแบบธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อสื่อการสอน E-Learning โดยภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58
ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเรียนการสอนประกอบการใช้สื่อ E-Learning ครูผู้สอน ต้องติดตามการใช้สื่อการสอน E-Learning ตลอด เพื่อให้ นักศึกษาใช้สื่อการสอนได้ด้วยตนเอง และเป็นการกระตุ้นให้ นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้
ข้อเสนอแนะและประโยชน์ของการวิจัย การนำบทเรียนสื่อการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต E- Learning มาพัฒนาใช้สอนบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต E- Learning เพื่อให้ได้บทเรียนที่มี ประสิทธิภาพ ต้องได้รับการพัฒนาพร้อมกันไปหลายๆ ด้าน การวิเคราะห์หลักสูตร การวางแผนและออกแบบบทเรียน การจัดการและการดำเนินการสร้างบทเรียน การประเมินผลบทเรียนที่สร้าง การปรับปรุงโปรแกรมและบทเรียน
ข้อเสนอแนะและประโยชน์ของการวิจัย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต E- Learning ควรมีความ เหมาะสมกับระดับสติปัญญา ความสามารถ ความต้องการ ของผู้เรียน และต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้ เกิดความอยากเรียนรู้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียน