วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word เรื่องการสร้างตารางและการตกแต่งเอกสาร ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต โดยใช้สื่อ CAI ผู้วิจัย นางสาว จุไรพร ปาลาหา สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การพัฒนาการศึกษาในยุคที่สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้วิจัยให้ความสนใจ เพราะผลกระทบดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของบุคคล การเปลี่ยนแปลงระดับสถาบัน เช่น ครอบครัว การจัดการศึกษาเพื่อให้สามารถสนองตอบความต้องการ และความคาดหวังของสังคมนั้น จำเป็นต้องมีการนำเอานวัตกรรมของการศึกษาต่างๆเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้จัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือกระบวนการในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้จัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือกระบวนการในการแก้ปัญหา นับว่าเป็นเรื่องยากพอสมควรสำหรับผู้สอน ผู้เรียนส่วนใหญ่จะพัฒนาได้ดีในทักษะการคิดคำนวณ แต่เมื่อพบโจทย์ปัญหามักจะมีปัญหาในเรื่องของทักษะการอ่านทำความเข้าใจโจทย์ การวิเคราะห์โจทย์ รวมถึงการหารูปแบบแนวคิดในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนที่มีการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า การนำสื่อเข้ามาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 ซึ่งเป็นวัยที่ต้องเรียนรู้ น่าจะช่วยให้นักเรียนสนใจกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถกระตุ้นให้นักเรียนอยากจะเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word เรื่องการสร้างตารางและการตกแต่งเอกสาร ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต โดยใช้สื่อ CAI
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word เรื่องการสร้างตารางและการตกแต่งเอกสาร ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word เรื่องการสร้างตารางและการตกแต่งเอกสาร ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอเสนอผลการวิจัย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารที่ตรงกัน จึงได้กำหนดสัญลักษณ์และอักษรย่อในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล N แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง X แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง S.D. แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t แทน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณาใน t - Distribution Sig แทน ความน่าจะเป็นสำหรับบอกค่านัยสำคัญทางสถิติ * แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ** แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างของการการใช้โปรแกรม Microsoft Wordมาใช้ในการสร้างตารางและตกแต่งเอกสาร โดยใช้สื่อ CAI ของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต การทดสอบ N X S.D t แบบทดสอบก่อนเรียน 10 10.50 1.78 24.71** แบบทดสอบหลังเรียน 18.90 1.45 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตารางที่ 1 พบว่าผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของการใช้โปรแกรม Microsoft Word มาใช้ในการสร้างตารางและตกแต่งเอกสารโดยใช้สื่อ CAI ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.201 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการการใช้โปรแกรม Microsoft Word มาใช้ในการสร้างตารางและตกแต่งเอกสารหลังใช้สื่อ CAI ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.201 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนใช้สื่อ CAI
สรุปผลการวิจัย จากผลในการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word เรื่องการสร้างตารางและการตกแต่งเอกสาร ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต โดยใช้สื่อ CAI พบว่าผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของการใช้โปรแกรม Microsoft Word มาใช้ในการสร้างตารางและตกแต่งเอกสารโดยใช้สื่อ CAI ของนักเรียนประกาศนียบัตรระดับชั้น ปวช.201 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้โปรแกรม Microsoft Word มาใช้ในการสร้างตารางและตกแต่งเอกสารหลังใช้สื่อ CAI ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.201 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนใช้สื่อ CAI