ชื่อผู้วิจัย นายอภิเชษฐ เพ็ชรอินทร์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเพิ่มขึ้นในรายวิชา หลักการตลาด ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชื่อผู้วิจัย นายอภิเชษฐ เพ็ชรอินทร์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ปัญหาการวิจัย จากการสอนในรายวิชา หลักการตลาดของนักศึกษาระดับชั้นปวส.ปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โดยการทำชิ้นงานในชั่วโมงเรียน ผู้สอนสังเกตการปฏิบัติงานของนักศึกษาตามใบงานที่มอบหมาย ปรากฎว่า ชิ้นงานหรือผลงานออกมาไม่ค่อยดีนัก สาเหตุมาจากขาดความตั้งใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อคะแนนที่ได้ค่อนข้างต่ำมาก ผู้สอนจึงหาวิธีการช่วยเหลือนักศึกษา ให้มีความตั้งใจในการทำงานให้มากขึ้น เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยใช้กระบวนการกลุ่มเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา หลักการตลาดเพิ่มสูงขึ้น
ผังสรุปสำคัญ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ปวส. 1 สาขาการตลาด การบัญชี คอมพิวเตอร์ ภาษาต่าง ประเทศ ที่เรียนวิชา หลักการตลาด ภาคเรียนที่ 1/2554 จำนวน 16 คน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น การปฏิบัติงานโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา หลักการตลาด การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยตนเองจากชิ้นงานในใบงานที่ 1และ2 บันทึกผลคะแนนในแบบบันทึกการให้คะแนน เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทึกการให้คะแนนนการปฏิบัติตามใบงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
ผังสรุปสำคัญ (ต่อ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความต่างของคะแนน ในการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม โดยกำหนดเกณฑ์ค่าของคะแนน ออกเป็น 3 ช่วง ตามเกณฑ์วัดผล ดังนี้ 20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม 17-19 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ดี 14-16 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 10-13 คะแนน อยู่ในเกณฑ์อ่อน 0 - 9 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงแก้ไข
สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเพิ่มขึ้น พบว่าความต่างของค่าของคะแนนอยู่ในเกณฑ์บวกทั้งหมด ผลสัมฤทธิ์ของคะแนนดีขึ้น จำนวน 16 คน คิดเป็น100 % โดยการทำกิจกรรมใบงานที่ 1 เป็นรายบุคคล นักศึกษาส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์อ่อน จำนวน 11 คน อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง 4 คน และอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 1 คน การทำกิจกรรมใบงานที่ 2 โดยกระบวนการกลุ่ม นักศึกษาส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ดี จำนวน 9 คน และอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม จำนวน 7 คน
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา หลักการตลาดเพิ่มขึ้น และสามารถนำมาปรับใช้ในวิชาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกัน ซึ่งส่งผลดีต่อทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ