งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส
การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาการตลาด ห้อง สกต.111 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ผู้วิจัย นางสาวกรองจิตร เหมาะมาศ ตำแหน่ง ครู วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สถานศึกษาที่สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

2 ปัญหาการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาการตลาด ห้อง สกต.111 พบว่า ส่วนที่ 1 ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่สำคัญมากที่สุด คือการบ้านมากเกินไป และให้เวลาน้อยเกินไป และสาเหตุที่น้อยที่สุด คือช่วยเหลืองานผู้ปกครอง ส่วนที่ 2 ได้ทราบถึงแนวทางปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวจากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการมากที่สุดคือ ใช้วิธีการกระบวนการกลุ่มในการทำงานหรือการบ้าน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่ต้องการน้อยที่สุดคือกำหนดให้งานหรือการบ้านเป็นกิจกรรมที่มีผลคะแนนก่อนสอบ

3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุของการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาการตลาด ห้อง สกต.111 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต 2. เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษา

4 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในวิชาการบัญชี 2 ของนักศึกษาระดับ ปวส. 1 ห้อง สกต. 111 (รอบค่ำ) ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษา เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาของนักศึกษาในเรื่องการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม สาเหตุของพฤติกรรมกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านตามกำหนดของนักศึกษา พฤติกรรมการส่งงานหรือการบ้าน

5 ระเบียบวิธีวิจัย 1. ประชากร
นักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาการตลาด ห้อง สกต.111 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต จำนวน 12 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบัญชี 2 2. กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้ประชากรทั้งหมด จำนวน 12 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง

6 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ความคิดเห็นต่อสาเหตุของพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อแนวทางในการปรับปรุงของพฤติกรรมไม่ส่งงานหรือการบ้าน

7 การรวบรวมข้อมูล ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดภาคการศึกษาที่ 1/2555 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 1. การสังเกตพฤติกรรม ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่คาบเรียนที่ แต่มิได้บันทึกข้อมูล 2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม เรื่องสาเหตุและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายใน 13-16

8 ตารางที่ 1 สรุปผลแบบสอบถาม ส่วนที่ 1 ระดับความคิดเห็น (ร้อยละ)
สาเหตุของพฤติกรรมไม่ส่งงานหรือการบ้าน ระดับความคิดเห็น (ร้อยละ) ค่าเฉลี่ย SD 5 4 3 2 1 ไม่ตอบ 1. การบ้านมากเกินไป 66.7 33.3 - 4.67 0.49 2. แบบฝึกหัดยากทำไม่ได้ 16.7 25.0 8.3 3.45 1.21 3. ไม่น่าสนใจ 50.0 2.42 1.16 4. ให้เวลาน้อยเกินไป 5. ครูอธิบายเร็วจนเกินไป 3.83 0.58 6. ไม่เข้าใจคำสั่ง 2.56 1.13 7. สมุด หนังสือหาย 41.7 2.45 1.63 8. เบื่อหน่ายไม่อยากทำ 4.08 0.79 9. ช่วยเหลืองานผู้ปกครอง 2.27 1.35 10. ลืมทำ 58.3 0.67 11.เตรียมตัวสอบเก็บคะแนนวิชาอื่น 4.09 0.70 12. ทำกิจกรรมของโรงเรียน 3.08 1.24

9 สรุปผลการวิจัย พบว่าแบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาการตลาด ห้อง สกต.111 ส่วนที่ 1 ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่สำคัญมากที่สุด คือการบ้านมากเกินไป และให้เวลาน้อยเกินไป และสาเหตุที่น้อยที่สุด คือช่วยเหลืองานผู้ปกครอง ส่วนที่ 2 ได้ทราบถึงแนวทางปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวจากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการมากที่สุดคือ ใช้วิธีการกระบวนการกลุ่มในการทำงานหรือการบ้าน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่ต้องการน้อยที่สุดคือกำหนดให้งานหรือการบ้านเป็นกิจกรรมที่มีผลคะแนนก่อนสอบ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะการบ้านมากเกินไป และให้เวลาน้อยเกินไป จึงทำให้การส่งงานหรือการบ้านไม่ทันตามกำหนด ซึ่งสอดคล้อง ศมากรณ์ วิเทศสนธิ (2554) ทำวิจัยเรื่องการไม่ส่งงาน/การบ้าน พบว่าสาเหตุของการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ลำดับที่ 1 คือการบ้านมากเกินไป และแบบฝึกหัดยากทำไม่ได้

10 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
เมื่อทราบสาเหตุและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายแล้ว ควรดำเนินการปรับปรุงพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้านตามแนวทางที่ได้ต่อไป ข้อเสนอแนะเพื่อการทำการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากกว่านี้ 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันคือกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมการส่งงานหรือการบ้านตามเวลาที่กำหนด และกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งงานหรือการบ้าน ของนักศึกษาระดับ ปวส

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google