บัญชีแยกประเภทและผังบัญชี บทที่ 5 บัญชีแยกประเภทและผังบัญชี
ความหมายของบัญชีแยกประเภท สมุดบัญชีแยกประเภทจัดเป็นสมุดบัญชีขั้นปลายที่จะใช้บันทึกรายการค้าต่าง ๆ โดยในสมุดบัญชีแยกประเภทนี้จะช่วยแยกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการสรุปผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการโดยทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภทจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) ใช้สำหรับการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือของบัญชีใดบัญชีหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ 1.1 บัญชีประเภทสินทรัพย์ (Assets) หมายถึง บัญชีที่แสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของแยกตามประเภทสินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงเหลือ บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีเครื่องใช้สำนักงาน บัญชีธนาคาร บัญชีที่ดิน เป็นต้น 1.2 บัญชีประเภทหนี้สิน (Liabilities) หมายถึง บัญชีที่แสดงมูลค่าของหนี้สินที่กิจการต้องชำระให้กับบุคคลภายนอก เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ธนาคาร บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ 1.3 บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) หมายถึง บัญชีที่แสดงส่วนของเจ้าของที่เพิ่มหรือลดลง ได้แก่ บัญชีทุน บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย บัญชีรายได้ เมื่อมีรายได้ ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น บัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อมีค่าใช้จ่าย ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง บัญชีถอนใช้ส่วนตัว เมื่อมีการถอนเงินสดและนำสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
2. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger 2.1 สมุดแยกประเภทลูกหนี้ เพื่อแยกลูกหนี้เป็นรายบุคล 2.2 สมุดแยกประเภทเจ้าหนี้ เพื่อแยกเจ้าหนี้เป็นรายบุคคล
รูปแบบของบัญชีแยกประเภท บัญชีแยกประเภท (Ledger Accounts) หมายถึง รูปแบบซึ่งรวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ ต่อจากสมุดรายวันทั่วไป รูปแบบบัญชีแยกประเภทที่นิยมใช้ มี 2 รูปแบบ 1. แบบตัว ที (T) ในภาษาอังกฤษ 2. แบบมีช่องยอดคงเหลือ
การจัดหมวดหมู่บัญชี การจัดหมวดบัญชี การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อ ประโยชน์ในการอ้างอิง และสะดวกในการค้นหา แบ่งได้ 5 หมวด หมวดที่ 1 บัญชีหมวดสินทรัพย์ หมวดที่ 2 บัญชีหมวดหนี้สิน หมวดที่ 3 บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ หมวดที่ 4 บัญชีหมวดรายได้ หมวดที่ 5 บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย
ผังบัญชี (Chart of Accounts) เลขหน้าแสดงหมวดบัญชี เลขหลังแสดงลำดับบัญชีแต่ละประเภทในแต่ละหมวด เช่น บัญชีเงินสด เลขที่ 101 เลข 1 ด้านหน้า = หมวดสินทรัพย์ เลข 01 หลัง = ลำดับบัญชี
ตัวอย่างแบบผังบัญชี หมวดบัญชีชื่อบัญชี เลขที่บัญชี 1. สินทรัพย์ 101 เงินสด 102 ธนาคาร 103 ลูกหนี้ 2 หนี้สิน 201 เจ้าหนี้การค้า 202 เงินกู้ธนาคาร 3. ส่วนของเจ้าของ 301 ทุน-นายยุรนันต์ 302 ถอนใช้ส่วนตัว 303 กำไรขาดทุน 4. รายได้ 401 รายได้ค่าโฆษณา 402 รายได้ค่าเช่า 403 รายได้ดอกเบี้ย 5. ค่าใช้จ่าย 501 เงินเดือน 502 ค่าพาหนะ 503 ค่าเช่า 504 ค่ารับรอง