แนวทางการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีอุทกภัย พิมพร สมบูรณ์ยศเดช กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่1 กรมอนามัย
โครงสร้างการจัดการกรณีสาธารณภัยด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ด้านบริหาร สป. ด้านการเงิน สป. , สปสช ด้านสนับสนุน อย. , กรมวิทย์ฯ , สบส. ด้านรักษาพยาบาล สป. , กรมการแพทย์ ด้านสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ด้านควบคุมป้องกันโรค กรมควบคุมโรค ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย 05/04/60 3 3 3
จุดมุ่งหมายการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในกรณีสาธารณภัย .เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ .เพื่อให้บริการพื้นฐานที่จำเป็นได้คุณภาพ
ภารกิจด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย . การควบคุมและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคและอุปโภค . การสุขาภิบาลอาหาร /ตลาด . การจัดการมูลฝอย . การจัดการสิ่งปฏิกูลและน้ำเน่าเสีย
หลักการและเหตุผล สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เกิดความเสียหายต่อชีวิตบ้านเรือน ทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขาดแคลนน้ำสะอาดและอาหาร ที่พักอาศัย ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ภายหลังน้ำลดจะนำมาซึ่งปัญหาน้ำเน่าเสีย และแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่างๆ อันเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินงานร่วมกันอย่างสอดคล้องเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยได้รับบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามสภาวการณ์ปกติได้เร็วที่สุดและไม่มีผลกระทบด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ . เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ . เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะวิกฤตจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ
แผนดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณีอุทกภัย 1.การเตรียม 1.1 การเตรียมการและจัดทำแผนรองรับ - การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ - การเฝ้าระวัง (เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด) 1.2 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เพื่อวางแผนดำเนินงาน - พื้นที่เสี่ยงภัย - พื้นที่ประสบภัย 1.3 จัดทำแผนการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 1.4 เผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาเหตุ อันตรายและผลเสีย 1.5 การเตรียมสิ่งสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
แผนดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณีอุทกภัย(ต่อ) 2. ระยะเกิดเหตุ ขณะเกิด/วิกฤต . การควบคุมและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคและอุปโภค . การสุขาภิบาลอาหาร . การจัดการขยะมูลฝอย ขยะติดเชื้อ . การจัดการสิ่งปฏิกูล ส้วมและน้ำเน่าเสีย 3. ระยะฟื้นฟู
สภาพปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจัดการแหล่งขยะที่ถูกน้ำท่วม ปัญหาน้ำขังเน่าเสีย ปัญหาการสุขาภิบาลอาหาร ปัญหาคุณภาพน้ำอุปโภค-บริโภค ปัญหาการจัดการสิ่งปฏิกูล ส้วม ปัญหาสุขาภิบาลที่พักอาศัย
หลักการและแนวคิด 1. การดำเนินการฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลในภาวะฉุกเฉินที่เป็นไปตามหลักวิชาการ 2. การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 3. การมีส่วนร่วมของประชาชน 4. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ประหยัดและสามารถจัดการได้ง่าย
แผนการจัดการฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัย ระยะสั้น 1. เร่งดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และฟื้นฟู ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมระยะเร่งด่วนในระดับชุมชน 2. ปรับสภาพจุดอพยพให้อยู่ในสภาพปกติ 3. เร่งรัดปรับปรุง และฟื้นฟูสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย บ้านเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วม
แผนการจัดการฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัย ระยะกลาง 1. การปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยให้ถูกสุขลักษณะ 2. การพัฒนาระบบการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีอุทกภัย
ขอบคุณ สวัสดีคะ