การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร, DMS.
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในระดับบริษัท การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การจะต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม (Industry Environment) เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน และความสามารถในการแข่งขัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SWOT Analysis 29/07/2001 Excellence Training Institution
Excellence Training Institution ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หมายถึง สิ่งแวดล้อมขององค์การซึ่งองค์การไม่สามารถควบคุมได้ และอาจเป็นประโยชน์ หรือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อองค์การในอนาคต หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นประโยชน์ หรือเป็นปัจจัยด้านบวกต่อการดำเนินงานขององค์กร เราเรียกว่า โอกาส (Opportunities) หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นภัยคุกคาม หรือปัจจัยด้านลบต่อความสำเร็จขององค์การในอนาคต เราเรียกว่า อุปสรรค (Threats) 29/07/2001 Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณา สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Environment) สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (Cultural Environment) สิ่งแวดล้อมประชากรศาสตร์ (Demographical Environment) สิ่งแวดล้อมทางการเมือง (Political Environment) สิ่งแวดล้อมด้านกฏหมาย (Legal Environment) สิ่งแวดล้อมภาครัฐ (Governmental Environment) สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment) แนวโน้มทางการแข่งขัน (Competitive Trends) 29/07/2001 Excellence Training Institution
The Five Forces Model of Competition การแข่งขันระหว่างธุรกิจ (การแข่งขันด้านราคา, นวกรรมด้านผลิตภัณฑ์, ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์) (Rivalry among Existing Firms: Price Competition, Product Innovation, Product Differentiation) คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrants) ผลิตภัณฑ์ที่ทดแทน (Substitutes) อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers) 29/07/2001 Excellence Training Institution
External Factor Evaluation (EFE) Matrix ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ (Critical External Factors) ทั้งโอกาส และอุปสรรค น้ำหนัก (Weight) เป็นการกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.0 – 1.0 กล่าวคือ 0.0 หมายถึงไม่มีความสำคัญเลย ส่วน 1.0 แสดงว่ามีความสำคัญมากที่สุด คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยมีค่าเท่ากับ 1.0 การประเมิน (Rating) ใช้เกณฑ์ 1 – 4 โดย 1 – แสดงถึงมีโอกาสน้อยหรืออุปสรรคมาก, 2 – โอกาสเท่ากับค่าเฉลี่ย, 3 – แสดงถึงโอกาสดีกว่าค่าเฉลี่ย, 4 – แสดงถึงโอกาสดี คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร ค่ารวมของคะแนน เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร 29/07/2001 Excellence Training Institution
Excellence Training Institution ปัจจัยแวดล้อมภายใน หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์การ ซึ่งองค์การสามารถควบคุมได้ และมีผลทำให้การดำเนินงานภายในองค์การประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลวได้ จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ลักษณะเด่นของการดำเนินงานหน้าที่ต่างๆ ภายในองค์การ ลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จขององค์การ จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง การดำเนินงานองค์การไม่สามารถกระทำได้ดี อันเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์การ องค์การจะต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น 29/07/2001 Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายในที่ควรพิจารณา ปัจจัยด้านการบริหาร และผู้บริหาร (Administrative Factor) ปัจจัยด้านการผลิต หรือการปฏิบัติการ (Production & Operation Factor) ปัจจัยด้านการเงิน (Financial Factor) ปัจจัยด้านการตลาด (Marketing Factor) ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Factor) ปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development Factor) ปัจจัยด้านการจัดซื้อ (Purchasing Factor) ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง และสถานที่ (Location Factor) ปัจจัยด้านชื่อเสียง (Reputation Factor) ปัจจัยด้านสารสนเทศ (Information Factor) 29/07/2001 Excellence Training Institution
Internal Factor Evaluation (IFE) Matrix ปัจจัยภายในที่สำคัญ (Critical Success Factor-CSF)ที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน น้ำหนัก (Weight) เป็นการกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.0 – 1.0 กล่าวคือ 0.0 หมายถึงไม่มีความสำคัญเลย ส่วน 1.0 แสดงว่ามีความสำคัญมากที่สุด คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยมีค่าเท่ากับ 1.0 การประเมิน (Rating) ใช้เกณฑ์ 1 – 4 โดย 1 – จุดอ่อนหลัก, 2 – จุดอ่อนรอง, 3 – จุดแข็งรอง, 4 – จุดแข็งหลัก คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร ค่ารวมของคะแนน เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร 29/07/2001 Excellence Training Institution
The Competitive Profile Matrix-CPM แสดงถึงคู่แข่งขันหลักของบริษัท โดยเฉพาะจุดแข็ง และจุดอ่อน และความสัมพันธ์ของตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของบริษัท 29/07/2001 Excellence Training Institution