ของฝากจากอาจารย์ อ้อ ชุดที่ 36
อาจารย์อ้อ ภูมิใจเสนอ
ทุนธรรมชาติ บ้านทาป่าเป่า.... เรื่องเล่า จากการถอดบทเรียน ทำให้ทราบ ความเป็นมาของบ้าน ทาป่าเปา ซึ่งเป็น หนึ่งใน สิบสามหมู่บ้านของตำบล ทาปลา ดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน บรรพบุรุษ คนไทยเชื้อสายหลวย ( ชาวไตลื้อ ที่อพยพ มาจากเมืองหลวย ประเทศพม่า ) โดยเข้า มาอยู่ลุ่มน้ำแม่ออน และตั้งชื่อบ้านว่า.... ออนหลวย อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
เรื่องเล่า ( ต่อ ) หลังจากนั้นบางส่วนได้อพยพต่อเข้ามา ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้าน ทาปลาดุก ต่อมาได้ มี พ่อเฒ่าน้อยธิ พ่อเฒ่าน้อยขัด พ่อเฒ่าปุ พ่อเฒ่าหนานไปฮิ พ่อเฒ่าหนานเฮือน ได้ ชักชวนกันมาจากบ้านทาปลาดุก มาปลูก สร้างบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำทาสบเส้ากับห้วย ทราย ฟากตะวันออก ซึ่งมีต้นเปามากมาย ประกอบกับมีแม่น้ำไหลผ่าน จึงเรียกว่า.... บ้านทาป่าเปา
เรื่องเล่า ( ต่อ ) สำหรับลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม หมู่บ้านทาป่าเปา เป็นสังคมแบบเครือ ญาติ และความเป็นสังคมแบบเครือญาติทำ ให้ความขัดแย้งทั้งในเรื่องส่วนตัวและการ ทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้านมีน้อย ทำให้ การดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือเป็น อย่างดี หมู่บ้านพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อ เทียบกับหมู่บ้านอื่น
เรื่องเล่า ( ต่อ ) หมู่บ้านจึงประสบความสำเร็จอย่าง มากมาย และไดรับรางวัลต่างๆ เช่น หมู่บ้าน พัฒนาดีเด่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ดีเด่น กองทุนหมู่บ้านดีเด่น หมู่บ้านปลอด ยาเสพติด หมู่บ้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่า ดีเด่น รางวัลโลกสีเขียว หมู่บ้านน่าอยู่ และ ได้รับพระราชทานรางวัล ในการประกวดป่า ชุมชนดีเด่นระดับประเทศ ซึ่งแสดงถึงความ ร่วมมือร่วมใจของชุมชนเป็นอย่างดี
เรื่องเล่า ( ต่อ ) หมู่บ้านทาป่าเป่าอุดมไปด้วยทุนชุมชน มากมาย ที่สำคัญทุนทางสังคม ได้แก่ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ และความเป็น เครือญาติสูงและที่สำคัญ มีทุนธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ และวิถี ชีวิต ความเป็นอยู่ที่มีความผูกพันกับป่า ซึ่ง ล้วนเป็นทุนในการพัฒนา ที่สามารถ นำมาสร้างให้เกิดคุณค่า และสามารถนำทุน เหล่านี้มาสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าทุนมนุษย์มีศักยภาพ สามารถบริหารจัดการทุนชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ......
บทสรุป การพัฒนาทุนชุมชนให้ประสบความสำเร็จ นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามีใจ ไม่ว่าจะทำ อะไรก็ตาม หากมีความพยายามและความ มุ่งมั่นตั้งใจ มาช่วยกันสร้างงานพัฒนาทุน ชุมชนให้ก้าวไกล อันนำไปสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืนของชุมชนในโอกาสต่อไป.....
ขุมความรู้ ความเป็นเครือญาติและการยึดถือ วัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน ( sociAL MoBILIZATiON ) ทำให้กิจกรรมประสบความสำเร็จ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความเข้มแข็ง ของ ชุมชน วิถีชีวิต / ความเป็นอยู่ที่มีความผูกพันกับป่า นับเป็นทุนในการพัฒนา ที่สามารถนำมา สร้างให้เกิดคุณค่า การบริหารจัดการทุนชุมชน ที่มี ประสิทธิภาพ
แก่นความรู้ ชุมชนมองเห็นเป็นจุดขาย ที่จะดึงดูด ผู้สนใจเข้ามาศึกษา / เรียนรู้ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ความผูกพันกับป่า เป็น การอนุรักษ์ทุนธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เป็นการแสดงให้สังคมภายนอกรับรู้ และถือ เป็นแบบอย่างในการพัฒนาทุนชุมชน
ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้เป็นแหล่งศึกษา ดูงาน ควรจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ ป่า / ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ซึ่ง เป็นทุนธรรมชาติ
14 ได้รับการขอบคุณจาก อาจารย์อ้อ สุธาสินี สีขำ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.