อินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานในปี ค.ศ.1969 ภายใต้ชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อการศึกษาวิจัย
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ใด ๆ ในอินเทอร์เน็ต ต้องใช้งานโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำตัวเครื่อง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ้างอิงถึงกันได้ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตเรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) เช่น 192.10.1.101
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เทลเน็ต (Telnet) ขนถ่ายไฟล์ (Ftp) เว็บบอร์ด (Webboard) การพูดคุยออนไลน์ (Talk)
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการค้นหาข้อมูล Archie WAIS (Wide Area Information Service) Gopher Search Engine
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่อยู่ของการส่งอีเมลล์ (E-mail Address) test@hotmail.com หมายถึงผู้ใช้ชื่อ test ซึ่งมีที่อยู่ที่เครื่อง hotmail ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการรับ-ส่งอีเมล์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล เทลเน็ต (Telnet) ช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง แล้วเข้าไปใช้เครื่องอื่นที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายได้ การใช้โปรแกรมเทลเน็ตจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถขอเข้าใช้บริการของห้องสมุด ฐานข้อมูล และบริการสาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่บนเครื่องโฮสต์
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล ขนถ่ายไฟล์ (Ftp) ทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ซึ่งเรียกว่า อัพโหลด (Upload) และสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากเครือข่ายซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) ซึ่งการอัพโหลดนั้นต้องใช้งานโปรแกรม WS_FTP, Winscp, Cute_FTP เป็นต้น
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล ขนถ่ายไฟล์ (Ftp)
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล เว็บบอร์ด (Webboard) กลุ่มที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยให้บริการข่าวสารในรูปของกระดานข่าว (Bulletin Board) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกสมัครเป็นสมาชิกในกระดานข่าวต่าง ๆ เพื่ออ่านข่าวสาร และส่งข่าวสารเข้าไปในเครือข่าย ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านและแลกเปลี่ยนความเห็นหรือความรู้ตามที่ต้องการได้
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล เว็บบอร์ด (Webboard)
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล การพูดคุยออนไลน์ (Talk) ทำให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่ต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพ์ข้อความผ่านทางแป้นพิมพ์เสมือนกับการคุยกันตามปกติ
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล การพูดคุยออนไลน์ (Talk)
Search Engine โปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูล โดยเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ซึ่งเป็นรายชื่อเว็บแอดเดรส โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บและทำดัชนี (Index) เว็บแอดเดรสเหล่านี้ได้แก่ Webcrawler, Spiders, Robots ข้อมูลที่ต้องการสืบค้น อาจจะเป็น ซอฟต์แวร์ บุคคล อีเมล์แอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ หน่วยงาน ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย ข่าว (ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร) บันเทิง พักผ่อน เกม กีฬา การพนัน การให้บริการทางธุรกิจ การศึกษา การวิจัย การทดลอง เป็นต้น
Search Engine โปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูล
Search Engine ตัวอย่าง Search Engine ของคนไทย www.thaiseek.com www.thai2net.com www.thaitop.com www.yumyai.com www.sanook.com www.hunsa.com
WWW (World Wide Web) บริการค้นหาและแสดงข้อมูล ใช้หลักการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ทำงานด้วยโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) ผู้ใช้สามารถค้นข้อมูลจากเครื่องให้บริการซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) หรือ เว็บไซต์ (Web Site) โดยใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)
WWW (World Wide Web) ไฮเปอร์เท็กซ์คือ ข้อความที่สามารถเลือกหรือคลิกเพื่อเชื่อมโยงไปยังจุดต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจุดที่เชื่อมโยงไปอาจเป็นจุดที่อยู่ในเว็บไซต์เดียวกันหรืออาจเป็นเว็บไซต์อื่น ๆ ด้วยโครงสร้างของ WWW ที่มีการลิงค์ไปมาแบบนี้ ทำให้ WWW ถูกขนานนามว่าเป็น “โครงข่ายใยแมงมุม”
WWW (World Wide Web) ข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมบราวเซอร์จะมีลักษณะคล้ายกับหน้าเอกสาร ซึ่งเรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) เว็บเพจหน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยังเว็บไซต์ใด ๆ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) การสร้างเว็บเพจทำได้โดยการเขียนข้อความบรรยายลักษณะของหน้าเว็บด้วยภาษาเฉพาะในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) โปรแกรมสร้างเว็บ เข่น Macromedia Dreamweaver หรือ Microsoft Frontpage
WWW (World Wide Web) เจ้าของหรือผู้ดูแลรักษา ปรับปรุงข้อมูลของเว็บไซต์ เรียกว่า เว็บมาสเตอร์ (WebMaster) เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้ดูเอกสารของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือ Microsoft Internet Explorer หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IE และโปรแกรม Netscape Navigator เป็นต้น URL :การแสดงที่อยู่หรือระบุแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
WWW (World Wide Web) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์: Microsoft Internet Explorer URL
WWW (World Wide Web) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์: Netscape Navigator URL
การติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต การเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP: Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) สำหรับสถาบันการศึกษาการวิจัยและหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ เครือข่ายไทยสาร (ThaiSarn) เครือข่ายคนไทย (Khonthai) เครือข่ายพับเน็ต (PubNet) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet) สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (GITS) เป็นต้น
การติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (ISP) ได้แก่ Asia InfoNet Pacific Internet Asia Access True Internet CS LoxInfo Internet Far East Internet Internet Thailand Internet KSC Samart Cybernet E-Z Net CAT TA เป็นต้น
การติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต การติดต่อเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access) ผู้ใช้จะต้องมีเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ใช้บริการต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา นิยมใช้งานในมหาวิทยาลัยและในบริษัทต่าง ๆ
การติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต การติดต่อเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์ (Dialup Access) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโมเด็ม (Modem) และติดต่อผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อติดต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็ต้องโทร (Dial Up) เพื่อเชื่อมต่อ หากต้องการเลิกใช้งาน ก็สามารถทำการยกเลิกการติดต่อได้ (Disconnect) ค่าบริการก็มีให้เลือกแบบเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามเงื่อนไข, ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตรายชั่วโมง, ใช้บริการ Click TA ซึ่งคิดค่าบริการตามเวลาที่ใช้จริง
การติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต การติดต่อเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์ (Dialup Access) สมัครสมาชิกกับ ISP เพื่อรับ Internet Account ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่าน, หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อเครื่องบริการของ ISP และ IP Address, ที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ และชุดโปรแกรมสำหรับติดตั้ง พร้อมคู่มือขั้นตอนการติดตั้ง ติดตั้งโปรแกรมที่ได้รับจาก ISP เข้าสู่อินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) ต้องใช้งานโปรโตคอล WAP (Wireless Application Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต และใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่ใช้งานใน WWW ความเร็วในการรับส่งข้อมูลยังไม่เร็วมากนัก การใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น มีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาที และราคาก็ค่อนข้างแพง
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) GPRS (General Packet Radio Service) โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth Technology)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องพีดีเอ (PDA) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก หรือ พีดีเอ ในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่แปลงสายโทรศัพท์ที่ใช้งานในปัจจุบันให้สามารถรับส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่าเดิม ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ระหว่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ยังสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ในขณะเดียวกัน
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ISDN (Integrated Service Digital Network) เทคโนโลยีการสื่อสารแบบดิจิตอลที่ใช้งานกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิตอลทั้งหมด สามารถใช้โทรศัพท์ได้ ในขณะที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN และชุมสายในพื้นที่นั้นต้องมีบริการนี้ด้วย