การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1ห้อง 103 รายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย ฉัตรชัย เมืองทอง ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ
ปัญหาการวิจัย เมื่อให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม มักจะเลือกอยู่กลุ่มเดียวกับเพื่อนที่สนิทเท่านั้น ผู้เรียนขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่นๆ ในห้องเรียน ผลสัมฤธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ที่พึงพอใจ ( อ้างอิงจากการประเมินผลการเรียนและการสังเกตพฤติกรรม ของผู้เรียนรายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย ปีการศึกษา 2555)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 103 รายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย 2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 103 รายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย
ระเบียบวิธีวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปวช.1ห้อง 103 วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 40 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (SimpleRandom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสอน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา ที่ใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือ รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 2. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา และ แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา แบบ สัมภาษณ์ และแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มในการทำงานเป็นกลุ่ม
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักศึกษา ปวช. ชั้น ปีที่ 1 ห้อง 103
สมมติฐานของการวิจัย 1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิถีธรรมวิถีไทย เรื่อง วันสำคัญทางศาสนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่ในระดับ ดีมาก
สรุปผลการวิจัย N การประเมินผล t ก่อนเรียน 40 14.58 396 4,094 29.69** ตารางที่ 1 สรุปเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาหลังการใช้ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา ที่ใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือ การประเมินผล N t ก่อนเรียน 40 14.58 396 4,094 29.69** หลังเรียน 24.48 **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การยอมรับความคิดเห็น สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 2 ผลการประเมินตนเอง และความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม คะแนน การมีส่วนร่วม (5 คะแนน) ความรับผิดชอบ การแสดง ความคิดเห็น ( 5 คะแนน) การยอมรับความคิดเห็น รวมคะแนน (20 คะแนน) SD ก่อนเรียน 4.69 0.82 4.60 0.84 4.70 0.75 4.67 18.65 3.09 หลังเรียน 4.99 4.26 4.96 9.00 4.97 5.88 5.16 19.91 19.47
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ครูผู้สอนควรอธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการเรียนแบบร่วมมือให้ชัดเจน ก่อนให้นักศึกษาลงมือทำ เพื่อนักศึกษาจะได้วางแผนการทำงานในกลุ่ม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรควบคุมการจัดการเรียนการสอนให้อยู่ในเวลาที่กำหนด ผู้สอนควรกระตุ้นให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในห้องได้ง่ายขึ้น