นางสาวชญานิศ บัววิชัย เรื่อง การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 รายวิชาการสร้างภาพกราฟิก สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก วิจัยโดย นางสาวชญานิศ บัววิชัย สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปัญหาในการวิจัย ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่เรียนช้าไม่สามารถเรียนรู้ได้ทันเพื่อนและมีเวลาเรียนจำกัด ครูขาดสื่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นักเรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 รายวิชาการสร้างภาพกราฟิก ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชางานคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จำนวนนักเรียน 4 ห้องรวมทั้งสิ้น 180 คน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาบทเรียนการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอน ของนักเรียน 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและนำไปปรับปรุงแก้ไขในการใช้บทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 4. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสร้างภาพกราฟิกสำหรับนักเรียนสาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้นประกาศนียบัตวิชาชีพชั้นปีที่ 1
ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หัวข้อหลักที่ประเมิน ตารางประเมินคุณภาพของการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการสร้างภาพกราฟิกกลุ่มตัวอย่าง (180 คน) หัวข้อหลักที่ประเมิน ความคิดเห็นเฉลี่ย ( ) S.D ความหมาย 1. เนื้อหาวิชา 3.82 0.43 ดี 2. การนำเสนอเนื้อหา 4.07 0.45 ดีมาก 3. การจัดการบทเรียน 3.97 0.46 4. สิ่งอำนวยความสะดวก 4 0.95 เฉลี่ย 4.0 0.11
สรุปผลการวิจัย จากการดำเนินการสร้างสื่อการสอนสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสร้างภาพกราฟิกของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยการใช้สื่อ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และสอดคล้องกับงานวิจัยของ คุณนพศักดิ์ (2544) ที่พบว่าได้ให้กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นนักศึกษาจำนวน 180 คน หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างเรียนจบแล้ว ทำการทดสอบด้วยแบบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันทีจากนั้นนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาทำการวิเราะห์ตามหลักสถิติ และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลความคงทนทางการเรียนจากกลุ่มตัวอย่างภายหลังจบบทเรียนไปแล้ว 1 สัปดาห์และ 1 เดือน ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสื่อการสอนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้ตามสมมติฐาน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย ได้สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการสร้างภาพกราฟิกสำหรับนักเรียนสาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1และส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการวาดภาพโดยใช้โปรแกรม Illustrator ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ดีขึ้น เป็นแนวทางใรการพัฒนาปรับปรุงสื่อการสอนในรายวิชาอื่นของสาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก
ตัวอย่างสื่อการสอน หน้าเว็บไซต์
หน้าเพจใบงาน
หน้าแบบทดสอบ
ผลงานนักศึกษา