ผู้วิจัย การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ VDO ช่วยสอน งานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ VDO ช่วยสอน ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา ปวช.2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยี ผู้วิจัย นางสาวปิยะกาญจน์ วงศ์ซื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จ.เชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม (รหัสวิชา 2001-0008)ในระดับชั้นปวช. 2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบบรรยายและสาธิต โดยใช้เอกสารตำราเรียนซึ่งได้จัดหาให้ตรงตามความต้องการของอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้นๆ แต่เนื่องจากเอกสารตำราเรียนที่ใช้ในการสอนจะเน้นด้านทฤษฏีมากกว่าเน้นการปฏิบัติจริง จึงทำให้นักเรียน นักศึกษา เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนจากเอกสารตำราเรียน เพราะเอกสารตำราเรียนมีเพียงภาพประกอบและตัวอักษรเท่านั้น จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา ไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร อีกทั้งในภาคเรียนที่ 2/2556 นี้ยังมีวันหยุดนักขัตฤกษ์บ่อย จนทำให้นักศึกษาห้อง ชย-201,202 ซึ่งเรียนร่วมกันไม่ได้เรียน มีเวลาเรียนไม่เพียงพอ และยังส่งผลกระทบไปถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษาทำให้นักเรียนนักศึกษา มีผลการเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
จากสภาพการเรียนการสอนและปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้วิจัย สนใจที่จะพัฒนาวิธีการสอนขึ้นมาเสริม เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาและเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้วิจัยได้ทำการผลิต สื่อประเภทวิดีโอขึ้นมาใช้สนับสนุนในการเรียนการสอน และเพื่อศึกษาดูว่าสื่อการเรียนการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมานี้จะสามารถช่วยในเรื่องของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษา เพราะสื่อการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้ ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบ ซึ่งการใช้สื่อการสอนประเภทวิดีโอนี้เปรียบเสมือนการสอนจริง และนักเรียน นักศึกษาสามารถที่จะปฏิบัติได้จริง ตามเนื้อหาที่เรียน และจะช่วยสอนเสริมในส่วนของนักเรียน นักศึกษาที่ไม่เข้าเรียนในรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาสื่อวิดีโอการเรียนการสอนรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม เรื่อง พลังงานทดแทน สำหรับนักเรียนชั้น ปวช.2 แผนกช่างยนต์ ภาคเรียนที่ 2/2556 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษา รายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม เรื่อง พลังงานทดแทน สำหรับนักเรียนชั้น ปวช.2 แผนกช่างยนต์ ภาคเรียนที่ 2/2556 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อสื่อวิดีโอการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น รายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน ระดับชั้น ปวช.2 แผนกช่างยนต์ ภาคเรียนที่ 2/2556 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย การศึกษาสื่อการเรียนการสอนรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม เรื่องพลังงานทดแทน การเรียนรู้ ด้วยตนเอง (SDL) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมเรื่องพลังงานทดแทน ผลความพึงพอใจของนักศึกษา ต่อสื่อการเรียนการสอนรายวิชา พลังงานและ เรื่อง พลังงานทดแทน
ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูล N Mean S.D. ผลต่างของค่าเฉลี่ย t df Sig 1 tailed ชอ-201,202 30 6.90 0.84 -0.57 -2.230 58 0.015 ชย-201,202 7.47 1.11 จากตาราง พบว่า การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มของผู้เรียน ห้องชอ-201,202 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.90คะแนนห้องชย-201,202มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.47คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกันเท่ากับ -0.57คะแนนดังนั้นจากการทดสอบสถิติ t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนห้องชย201,202 กับห้อง ชอ-201,202 สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
หมายเหตุ: จากผู้ประเมินทั้งหมด 30 คน รายการ ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง N คน. สื่อมีความน่าสนใจ 22 110 6 24 - สื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น 28 140 8 สามารถช่วยในการเรียนการสอนได้ 25 125 20 สามารถนาสื่อไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ 21 105 9 36 ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน 26 130 16 คะแนนเต็มและคะแนนที่ได้จาการประเมิน 610 104 คะแนนเต็มทั้งหมด 2250 720/2250 = 0.32x15 =4.80 สรุปความพึงพอใจที่ได้คือ 4.80 คิดเป็นร้อยละ 96 หมายเหตุ: จากผู้ประเมินทั้งหมด 30 คน
สรุปผลการวิจัย 1. มีการพัฒนาสื่อวิดีโอการเรียนการสอนรายวิชา พลังงานและ เรื่อง พลังงานทดแทน เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ปวช.2 แผนกช่างยนต์ ภาคเรียนที่ 2/2556 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร 2. จากการเรียนการสอนแบบใช้สื่อการสอนวิดีโอรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม เรื่อง พลังงานทดแทนแล้วส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษา ดังนี้ นักเรียน นักศึกษา ชั้น ปวช.2 ห้องชย-201,202 ที่ไม่มีเรียนเพราะมีวันหยุดบ่อย มีค่าเท่ากับ 7.47 คะแนน กับ ห้อง ชอ-201,202 ที่เรียนในห้องเรียนปกติ มีค่าเท่ากับ 6.90คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกันเท่ากับ -0.57 คะแนน ดังนั้นค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนห้องชย-201,202 กับห้องชอ-201,202 สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น รายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม เรื่อง พลังงานทดแทน ระดับชั้น ปวช.2 ร้อยละ 96 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับ ดีมาก