วิชา เครื่องวัดไฟฟ้า รหัส 2104-2104 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ในการเรียนการสอน วิชา เครื่องวัดไฟฟ้า รหัส 2104-2104 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง ชฟ.101 โดย นายอนุชา สุนันต๊ะ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี LCCT
ความเป็นมาของปัญหา การเรียนการสอนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า เป็นวิชาพื้นฐานเทคโนโลยี ซึ่งวิธีการสอนแบบประลองโดยการต่อวงจรทดลองนั้นจะทำให้การศึกษาคุณสมบัติของวงจรและการวัดการทำงานของมัลติมิเตอร์ทางด้านต่างๆตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของเนื้อหาในแต่ละบททำให้เสียเวลาเนื่องจากการประลองต้องนำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาประกอบก่อนการประลอง ตลอดจนขาดชุดประลองและใบประลองที่มีคุณภาพ
ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดประลองที่มีคุณภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดเวลาทั้งในด้านการเรียนการสอนซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษางานวิจัยการสร้างและทดลองหาประสิทธิภาพของชุดประลอง พบว่ากลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดประลองที่สร้างขึ้นใช้เวลาในการเรียนการสอนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมและจากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหาและงบประมาณอันจำกัด ผู้วิจัยสอนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า จึงค้นคว้าหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาโดยการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จึงได้สร้างชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีหลักการสร้างที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมใบประลองที่สอดคล้องกับหลักสูตร
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2545 ปรับปรุง 2546 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง สมมติฐานของการวิจัย 1. นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดประลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์กำหนด 80 / 80 2. นักเรียนที่เรียนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้าโดยใช้ชุดประลองที่สร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2556 2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลังโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีที่ลงทะเบียนเรียน วิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองสอนโดยใช้ชุดประลองที่สร้างขึ้น และ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม สอนโดยวิธีปกติ
3. การหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ P = สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1. การหาคุณภาพของแบบทดสอบ IOC = 3. การหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ P = 4. ค่าความแปรปรวนของคะแนน 2. การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ D =
1. ชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ สรุปผลการวิจัย 1. ชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ ภาพที่ 1 กล่องชุดประลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์ ภาพที่ 2 แผงทดลองการขยายย่านวัดแอมมิเตอร์
ภาพที่ 3 ชุดทดลองอยู่บนแผงทดลองเดียวกัน ภาพที่ 4 ชุดทดลองการขยายย่านวัดมัลติมิเตอร์
จำนวน คะแนนเฉลี่ย ความแปรปรวน 2.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน คะแนนเฉลี่ย ความแปรปรวน t กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 10 16.4 13.1 4.49 3.66 3.655* *มีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ขอขอบคุณทุกท่าน Thank You