การพัฒนาทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นเรื่องการซื้อสินค้าและการสั่งอาหารโดยใช้บทบาทสมมติ
ชื่อผู้วิจัย :: นางสาวสุทธิดา โชติญาณพงษ์ ชื่อผู้วิจัย :: นางสาวสุทธิดา โชติญาณพงษ์ สถานศึกษาที่สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ
ปัญหาการวิจัย จากการสังเกตและการแสดงความคิดเห็นของนักเรียนในการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นโดยเฉพาะการเรียนเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ต่างๆที่ใช้ประโยคบทสนทนา ที่ผ่านๆมาในห้อง Sound Lab เห็นว่านักเรียนปวช. 1 ห้อง 12 เกิดความเบื่อหน่ายจากการฟังและการออกเสียงตามบทสนทนา เมื่อมีการทดสอบสนทนานักเรียนส่วนใหญ่ในห้องนี้ไม่สามารถพูดโต้ตอบได้ แบบทดสอบการเขียนบทสนทนาก็ทำคะแนนได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงอยากเปลี่ยนวิธีการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)ในการจัดกิจกรรม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการพูดบทสนทนาภาษาญี่ปุ่น เรื่อง การซื้อขายสินค้าและการสั่งอาหารของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 12 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ
ความสำคัญของการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรต้น การเรียนการสอน แบบบทบาทสมมติ ตัวแปรตาม การพูดบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นเรื่อง การซื้อขายสินค้าและการสั่ง อาหาร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แผนการสอน การพัฒนาทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เกณฑ์การให้คะแนน รูบิคสกอร์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบทดสอบ Pretest - post test
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า นำแบบทดสอบข้อสอบก่อนเรียนให้นักเรียนทำ 20 ข้อ ระหว่างเรียนจัดการเรียนการสอนแบบบทบาทสมมติโดยให้ผู้เรียนแสดงละครจากสถานการณ์ที่ได้รับมอบหมาย และได้เก็บคะแนน(post-test) อีกครั้ง หลังจากนั้นนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและ สถิตที่ใช้ในการวิจัย
สรุปผลการวิจัย หลังจากการเรียนด้วยกิจกรรมวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยค่าเฉลี่ย คะแนนทดสอบก่อนเรียนของทั้งห้องเป็น 4.92 คะแนน ค่าเฉลี่ย และคะแนนทดสอบหลังการเรียนทั้งห้องเป็น 8.75 คะแนน และเมื่อนำค่า t ที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับค่า t ที่เปิดจากตาราง พบว่า ค่า t ที่คำนวณได้ มากกว่า ค่าวิกฤติของ t ตาราง ที่ระดับนัยสำคัญ .01 แสดงว่า ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือก็คือกลุ่มตัวอย่างก่อนใช้นวัตกรรมและหลังจากใช้นวัตกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้จึงถือว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมติ สูงกว่าก่อนเรียน
ผลกระทบหรือประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเกิดความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ การแสดงบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนได้ใช้ทักษะทางภาษาเพราะสถานการณ์ที่กำหนดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการและแรงบันดาลใจที่จะนำทักษะทางภาษาที่ได้มาใช้ในการเรียนรู้และการสื่อสาร ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น
ありがとうございいます。