การนำเสนอผลงานวิจัย ประเภท : วิจัยการเรียนการสอน (ชั้นเรียน) การนำเสนอผลงานวิจัย ประเภท : วิจัยการเรียนการสอน (ชั้นเรียน)
ชื่อผู้วิจัย นายปิยราษฏร์ บุญวิเศษ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ชื่อผู้วิจัย นายปิยราษฏร์ บุญวิเศษ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก
ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การดำเนินชีวิตส่วนบุคคลแบบเศรษฐกิจพอเพียงรายวิชา การเงินส่วนบุคคล ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3/1 สาขางาน ยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติ
ความสำคัญของปัญหา การดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีการเปลี่ยนแปลงของโลก ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการปรับตัวไม่ทันกันทางวัฒนธรรม และนำไปซึ่งปัญหาต่างๆของสังคม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียน เรื่อง การดำเนินชีวิตส่วนบุคคลแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนก่อนและหลังการศึกษาโดยวิธีการลงมือปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ต่อ) 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการลงมือปฏิบัติ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียน ด้านจิตพิสัยหลังการจัดการเรียนการสอน โดยวิธีการลงมือปฏิบัติ
ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3/1 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก
ขอบเขตตัวแปร 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติ 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน
เวลาในการทำการทำวิจัยช่วงเดือน ขอบเขตด้านเวลา เวลาในการทำการทำวิจัยช่วงเดือน มิถุนายน – ตุลาคม 2556
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3/1 สาขางาน ยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก จำนวน 35 คน
ผลการวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะความรู้ความเข้าใจ เรื่องการดำเนินชีวิตส่วนบุคคลแบบเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังการใช้โดยวิธีการลงมือปฎิบัติโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.5 คะแนน
และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.33 ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าของความเข้าใจในบทเรียน เท่ากับ 48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 25) และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกคนคน คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่3/1 สาขางานยานยนต์ ที่มีต่อการสอนแบบลงมือปฏิบัติ พบว่า ความหลากหลายของกิจกรรมในการเรียนการสอนของครู ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเนื้อหาวิชามากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63
ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3/1 สาขางานยานยนต์ หลังการสอนแบบลงมือปฏิบัติ ด้านจิตพิสัย พบว่า ค่าคะแนนการประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนมีการพัฒนาขึ้น
ปฏิบัติตนตามลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้นจากเดิมเป็นลำดับ โดยเฉพาะด้านความมีเหตุผล นักเรียนส่วนใหญ่ดำรงตนภายใต้กรอบความมีเหตุผล มีการคิดพิจารณาและไตร่ตรองในการเรียนและการปฏิบัติงานมากขึ้น และความประหยัด
ซึ่งนักเรียนสามารถใช้ทรัพยากรที่มีภายในวิทยาลัยฯ และครอบครัว สังคมอย่างรู้คุณค่า และมีความรับผิดชอบและเพียรพยายาม มีความรอบคอบในการเรียน การใช้ชีวิต และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อเพื่อน และต่อครูผู้สอน
ข้อเสนอแนะ หลังจากได้ทำการวิจัย ทำให้ทราบแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีในรายวิชาที่เน้นภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติเป็นหลัก เช่น ในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น
ผู้วิจัย จึงขอเสนอแนะต่อครู และผู้สอน คือ ควรจะเน้นการฝึกทักษะของนักเรียนเป็นรายบุคคล และมีการบันทึกพฤติกรรมการเรียน ทั้ง 3 ด้าน ทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
และมีการนำผลไปพัฒนา ส่งเสริม และปรับปรุงคุณภาพนักเรียนให้ตรงตามสมรรถนะการเรียนรู้ และพยายามสอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนจากสถานการณ์จริง