ชื่อผลงานวิจัย ความพึงพอใจของครูผู้สอน ต่อการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นางกุสุมา หาญกล้า
ปัญหาการวิจัย การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงแนวทางในการจัดการศึกษาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในด้านหลักการ แนวคิด นโยบาย และแนวทางในการจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การศึกษาในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการศึกษาภาคบังคับหรือการศึกษาโดยอิสระมีความเหมาะสม กับสภาพผู้เรียนและสังคมไทยอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี โดยเน้นการบริหารการศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือ1.ด้านการบริหารวิชาการ 2. ด้านการบริหารงบประมาณ 3. ด้านการบริหารบุคคล4. ด้านการบริหารทั่วไปเพื่อจะได้ทราบถึงความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาของครูในด้านต่าง ๆ และเพื่อให้ การนำนโยบายด้านการจัดการศึกษาของวอทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายและเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน ต่อการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี
สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบ กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ความพึงพอใจในการบริหารสถานศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จำนวน 107 คน (ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดในการวิจัย) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี
สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 57.00 เป็นเพศชาย 46 คนคิดเป็นร้อยละ 43.00 จำแนกตามอายุ อายุ 19-25 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 25.20 อายุ 26-33 ปี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 40.20 อายุ 34- 40 ปี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 19.06 และอายุมากกว่า40 ปีขึ้นไป จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 15.00 จำแนกตามปริญญาตรี จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 59.80 สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 15.90
สรุปผลการวิจัย ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี พบว่า 1. ด้านการบริหารงานวิชาการ 2. การบริหารงบประมาณ 3. การบริหารงานบุคคล 4. ด้านการบริหารงานทั่วไปโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( โดยมีด้านการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่นๆ )