งานวิจัย เรื่อง การฝึกทักษะ 5 ประการที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประยุกต์ 1 เรื่องระบบจำนวนเต็ม เศษส่วน และทศนิยม ของนักเรียนชั้น ปวช. ปีที่ 1 ผู้วิจัย นางอัญชลีพร ธรรมสุข สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน
ปัญหาในการวิจัย 1. ผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำไม่ดีเท่าที่ควร 1. ผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำไม่ดีเท่าที่ควร 2. นักเรียนขาดทักษะในด้านการฝึกฝน เข้าใจยาก ขาดความคิดรวบยอด
จุดประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการฝึกทักษะ 5 ประการ คือ ทักษะด้านการสังเกต การมองเห็นความสัมพันธ์ ความจำ การมีขั้นตอน และการมีเหตุผลกับนักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกทักษะ
ขั้นดำเนินการ เครื่องมือ สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากร กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุม
ขั้นดำเนินการ เครื่องมือ การดำเนินการฝึกในชั่วโมงซ่อมเสริม แบบทดสอบ ได้รับการฝึกทักษะทั้ง 5 ประการ ฝึกทักษะครบชั่วโมง แบบทดสอบ กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม มาเปรียบเทียบกัน สรุปผล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3 ฉบับ ของกลุ่มทดลอง จากตาราง แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนรวมที่ได้จาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3 ฉบับ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง จำนวนนักเรียน จำนวนหัวข้อ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S) กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 12 70.653 64.159 9.656 9.949 90 จากตารางนี้ พบว่าแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์รวม 3 ฉบับ จำนวน 90 ข้อ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 70.653 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.656 ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 64.159 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.949 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอยู่ 6.494 แต่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าใกล้เคียงกัน
สรุปผลวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการฝึกทักษะ 5 ประการ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 70.653 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.656 ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย64.159 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.949 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอยู่ 6.494 แต่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าใกล้เคียงกัน
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม