เทคโนโลยีกับศาสตร์ จากความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์" และความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร จะผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยนำไฟฟ้ากระแสมาใช้ได้อย่างไร เหล่านี้ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงด้วยภาพดังต่อไปนี้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์+ ทรัพยากรธรรมชาติ-------------->เทคโนโลยี
ระบบเทคโนโลยี ประกอบด้วย ตัวป้อน คือ ความต้องการของมนุษย์ (Need,Want) หรือปัญหาที่ต้องการหา คำตอบเช่นความต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรค กระบวนการคือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ทรัพยากรให้เป็นผลผลิต
ผลลัพธ์ คือ สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการได้สิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ แก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น การค้นพบสิ่งใหม่ ความสะดวกสบายขึ้น เกิดความรู้ใหม่ ปัจจัยเอื้อเฟื้อ เป็นข้อจำกัดข้อพิจารณาหรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งจะทำให้ระบบทำงาน ได้มากน้อยต่างกัน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางเทคโนโลยี นั่นคือ ทรัพยากรจะเป็นทั้งตัวทรัพยากร และเป็นปัจจัยที่เอื้อ หรือขัดขวางต่อ เทคโนโลยีด้วย เช่น ทุนทรัพย์น้อย เวลาจำกัด ข้อจำกัดของความรู้ ความคิด สร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล นอกจากจะเป็นข้อจำกัดแล้ว ยังอาจรวมไปถึง ความเคารพนับถือ ความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจะมี ส่วนช่วยให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกันด้วย
การวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี ทำให้ทราบเกี่ยวกับปัจจัยในด้านต่างๆที่มีผลต่อ การแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการ การสร้างสิ่งของหรือเครื่องใช้ ตามกระบวนการเทคโนโลยีจะทำให้ผู้เขียนทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ง่าย
ข้อดีของเทคโนโลยี 1. ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร 2. เพิ่มความสบาย 3. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4. ได้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น 5. ผลผลิตได้มาตรฐาน 6. เพิ่มกำไร 7. ประหยัดเวลาและต้นทุน
นางสาว รัตนาภรณ์ แซมกระโทก นางสาว ฉัตรฑริกา นะนักวัฒน์ จัดทำโดย นางสาว รัตนาภรณ์ แซมกระโทก นางสาว ฉัตรฑริกา นะนักวัฒน์ นางสาว สุภาวดี แก้วสุวรรณ นางสาว มิริน อิ่นคำ