Succsess story กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพหญิง ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด(ลาดหลุมแก้ว) จังหวัดปทุมธานี
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดปทุมธานี ได้ส่งตัวนางสาวส้ม เปรี้ยวจี๊ด(นามสมมติ)ตามคำวินิจฉัยคณะอนุกรรมการฯให้เข้ารับการบำบัด แบบควบคุมตัวเข้มงวด เป็น เวลา 4 เดือน โปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ 2 เดือน
ผฟฟ.อายุ 17 ปี เป็นบุตรคนเดียว บิดาอายุ 84 ปี เป็นแพทย์ เกษียณราชการแล้ว มารดา อายุประมาณ 54 ปี รับราชการครู รูปแบบการเลี้ยงดูของบิดามารดาขัดแย้งกัน บิดาปกป้อง ตามใจ ส่วนมารดา เข้มงวด จัดการ ความสัมพันธ์ของบิดามารดาไม่ลงรอยกัน เลิกกัน แต่ยังคงพักอาศัยด้วยกัน ส่งผลต่อต่อการอยู่ร่วมกันอึดอัด ไม่มีความอบอุ่น ไม่คุยกัน ผฟฟ. เคยหนีออกจากบ้าน
นิสัยและความประพฤติ เป็นคนอารมณ์ร้อน ดื้อรั้น เอาแต่ใจตนเองสูงเอาตัวรอด เจ้าเล่ห์ ติดเพื่อน เกเร เรียนไม่จบมัธยมต้น มีลูกตอนอายุ 14 ปี ติดสบาย ไม่ทำงาน ขาดเป้าหมาย พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เสพยาบ้า ยาไอซ์ เมื่ออายุ 15 ปี สาเหตุมาจากคล้อยตามแฟน อยากสวย อยากผอม
การประชุมสหวิชาชีพ นักจิตวิทยา : วิเคราะห์พบว่า ระดับสติปัญญาทึบ วุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่สมวัย ยึดความคิด เอาแต่ใจ พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เคารพกติกา ใช้กลไกป้องกันตนเองแบบถดถอย นักสังคมสงเคราะห์ : วิเคราะห์พบรูปแบบการเลี้ยงดูขัดแย้ง ใช้สารเสพติดและมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร พยาบาล : วิเคราะห์พบมีอาการเจ็บป่วยบ่อย พี่เลี้ยงผู้ติดยาเสพติด : วิเคราะห์พบว่ามีพฤติกรรมคิดหลบหนี
Treatment plan ด้านครอบครัว : ลดความขัดแย้งมีการเชิญครอบครัวให้ความรู้ ความเข้าใจ การดูแลต่อเนื่อง ( พ่อแม่รังแกฉัน) ด้านอารมณ์ : มีภาวะซึมเศร้า พยายามทำร้ายตนเองหลายครั้ง มีการประชุมทีมเพื่อเฝ้าระวังเรื่องการทำร้ายตนเอง ช่วยเหลือตามสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งต่อจิตแพทย์ ตรวจ ฉีดและกินยา (จิตเวช ) ด้านพฤติกรรม : ส่งเสริมด้านความรับผิดชอบโดยการฝึกทำหน้าที่ตามโครงสร้าง การใช้เครื่องมือบ้าน
ปัจจุบัน ผฟฟ. มีพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม การจัดการด้านอารมณ์ดีขึ้น ไม่มีการทำร้ายตนเอง มีความรับผิดชอบสามารถกำกับตนเองให้รับประทานยาตามนัด สามารถทำงานที่รับมอบหมายได้ ครอบครัวให้ความร่วมมือในการวางแผนดูแลต่อเนื่อง ผฟฟ.มีกำหนดปล่อยตัวกลับสู่สังคม ในวันที่ 20 กันยายน 2557 โดยมารดาจะมารับตัวที่ศูนย์ฯ มีการประสานงานพยาบาล เพื่อส่งต่อเรื่องการรักษาต่อเนื่อง
สรุปการดำเนินการ กระบวนการ เทคนิคที่ใช้ ระยะแรกรับ ระหว่างนี้มีพฤติกรรมคิดหลบหนี เน้นการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation counseling) จัดพี่เลี้ยง / กลุ่มพี่ช่วยน้อง ครอบครัวมีส่วนร่วมระยะแรกรับ
สรุปการดำเนินการ กระบวนการ เทคนิคที่ใช้ ระยะฟื้นฟู มีพฤติกรรมเรียกร้อง ไม่ยอมรับโปรแกรม ภาวะซึมเศร้า พยายามทำร้ายตนเองหลายครั้ง ประชุมทีม เครื่องมือบ้าน เน้นเสริมแรงทางบวก ให้คำปรึกษารายบุคคล /แบบกลุ่ม ให้คำปรึกษาระยะฟื้นฟู ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ให้ความรู้ครอบครัวก่อนปล่อย เน้นสร้างความสัมพันธ์ มีเป้าหมายเรื่องการศึกษาต่อ