ระบบบัญชีเดี่ยวและสินค้า บทที่ 9 การบันทึกบัญชีสินค้า
บทที่ 9 การบันทึกบัญชีสินค้า บทที่ 9 การบันทึกบัญชีสินค้า แนวคิด การบันทึกบัญชีของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีบัญชีภาษีขายเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกรณีที่กิจการ ซื้อสินค้าเชื่อและมีนโยบายที่จะชำระหนี้ภายในกำหนด ที่จะได้รับส่วนลด จะบันทึกบัญชีวิธีหักส่วนลด (Net Method)ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่งไป คือวิธีไม่หักส่วนลด (Gross Method)
การบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้ามี 2 ระบบคือ บันทึกแบบสิ้นงวด(Periodic Inventory System) และ บันทึกแบบต่อเนื่อง(Periodic Inventory System) ซึ่งแบบต่อเนื่องจะบันทึกสินค้าทุกครั้งที่ซื้อและบันทึก ต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขายจึงทราบยอดต้นทุนขาย และยอดสินค้าจากบัญชีแยกประเภทส่วนการปิดบัญชี ในสมุดรายวันทั่วไปแบบ Periodic จะปิด 6 ขัน แต่แบบ Perpetual จะปิดเพียง 4 ขั้น
การบันทึกบัญชีของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทำบัญชียังคง ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีบัญชีภาษีซื้อภาษีขาย เพิ่มเข้ามา ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะ บุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี)รายเดือน ทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปในอัตราภาษี 7% ของยอดรายรับ ซึ่งการบันทึกบัญชีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม จะบันทึกดังนี้
1. บันทึกบันรายการเกี่ยวกับภาษีซื้อ 1.1 ซื้อสินค้าทั้งเงินสดและเงินเชื่อ บันทึกการซื้อ และจัดทำรายงานภาษีซื้อ เดบิต ซื้อสินค้า xx เดบิต ภาษีซื้อ xx เครดิต เจ้าหนี้หรือเงินสด xx 1.2 จ่ายชำระหนี้ เดบิต เจ้าหนี้ xx เครดิต เงินสดหรือธนาคาร xx
1.3 ส่งคืนสินค้าและได้รับใบลดหนี้แล้ว บันทึกการ คืนสินค้า และจัดทำรายงานภาษีซื้อ เดบิต เจ้าหนี้ xx เครดิต ส่งคืน xx เครดิต ภาษีซื้อ xx 1.4 เมื่อได้รับส่วนลดเงินสดจากการชำระหนี้ เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx เครดิต เงินสดหรือธนาคาร xx เครดิต ส่วนลดรับ xx
การบันทึกบัญชีซื้อสินค้ากรณีมีส่วนลดรับ กิจการซื้อสินค้ามาแล้วขายสินค้าไป หรือกิจการ ที่ซื้อวัตถุดิบมาผลิตและได้รับส่วนลดรับส่วนลดจะหัก จากราคาทุนของสินค้า ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อ ต้นทุนของสินค้าและสินค้าคงเหลือซึ่งส่วนลด (Discounts) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. ส่วนลดการค้า(Trade Discounts) 2. ส่วนลดเงินสด(Cash Discounts)
2.1 บันทึกบัญชีวิธีหักส่วนลด (Net Method) ตัวอย่างที่9-1 เมื่อวันที่ 15ธันวาคม 2546กิจการซื้อ สินค้า 10,500 บาท ส่วนลดการค้า 500บาท เงื่อนไข 3/10,n/30ภาษีมูลค่าเพิ่ม7% จะ บันทึกบัญชี ดังนี้
พ.ศ. 2546 เดือน วันที่ รายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต ธ.ค. 15 ซื้อสินค้า(10,500-500-300) ภาษี(10,000x7%) เจ้าหนี้ ซื้อสินค้าได้รับส่วนลดบันทึกวิธีหักส่วน 9,700 700 -- 10,400 25 เงินสด จ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่ได้ส่วนลด -
2.2 บันทึกบัญชีวิธีไม่หักส่วนลด(Gross Method) ตัวอย่างที่ 9-2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2546บริษัทซื้อ สินค้า 10,000บาท เงื่อนไข3/10,n/30 ภาษีมูลค่าเพิ่ม7% พ.ศ. 2546 เดือน วันที่ รายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต ธ.ค. 15 ซื้อสินค้า ภาษี เจ้าหนี้ ซื้อสินค้า10,000บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,000 700 -- 10,700 -
พ.ศ. 2546 เดือน วันที่ รายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต ธ.ค. 15 เจ้าหนี้ เงินสด ส่วนลด จ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา ที่ได้ส่วนลด 10,700 - 10,400 300
การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป การปิดบัญชีในวันสิ้นงวดบัญชีตามแบบ Periodic นั้นจะปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป 6 ขั้น แต่การ บันทึกบัญชีแบบ Perpetual จะปิดบัญชีในสมุด รายวันทั่วไปเพียง 4 ขั้นเพราะไม่ต้องปิดบัญชีเข้าต้นทุน ขาย เนื่องจากทราบยอดต้นขายจากบัญชีแยกประเภท แล้วจึงนำมาปิดบัญชีได้เลย จะลดขั้นตอนการปิดบัญชี ไป 2 ขั้น จะแสดงดังนี้
ไม่ได้ปิดบัญชีขั้นนี้ การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป รายการปิดบัญชี แบบ Periodic แบบ Perpetual ขั้นที่ 1 ปิดบัญชีเกี่ยวกับ ต้นทุนขายที่มียอด เดบิต ต้นทุนขาย 36,000.- สินค้าต้นงวด 8,000.- ซื้อสินค้า 27,000.- ค่าขนส่งเข้า 1,000.- ไม่ได้ปิดบัญชีขั้นนี้ ขั้นที่ 2 บันทึกสินค้าปลายงวดและปิดบัญชีที่เกี่ยวกับต้นทุกขายที่มียอด เครดิต สินค้าปลายงวด13,410.- ส่งคืน 800.- ส่วนลดรับ 1,090.- ต้นทุนขาย 15,300.- ขั้นที่ 3 ปิดบัญชีขายและรายได้ต่างๆ ขายสินค้า 36,000.- รายได้เบ็ดเตล็ด 2,800.- กำไรขาดทุน 28,800.- ขายสินค้า 36,000.- รายได้เบ็ดเตล็ด 2,800.- กำไรขาดทุน 38,800.-
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,600.- ดอกเบี้ยจ่าย 500.- ขั้นที่ 4 ปิดบัญชีต้นทุนขายรับคืน ส่วนลดจ่ายและค่าใช้จ่ายต่างๆเข้ากำไรขาดทุน กำไรขาดทุน 25,085.- ต้นทุนขาย 20,700.- รับคืน 1,000.- ส่วนลดจ่าย 285.- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,600.- ดอกเบี้ยจ่าย 500.- กำไรขาดทุน 25,085.- ต้นทุนขาย 20,700.- รับคืน 1,000.- ส่วนลดจ่าย 285.- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,600.- ดอกเบี้ยจ่าย 500.- ขั้นที่ 5 โอนกำไรสุทธิเข้าบัญชีทุน กำไรขาดทุน 13,715.- ทุน-จริงใจ 13,715.- ทุน-จริงใจ 13,715.- ขั้นที่ 6 ปิดบัญชีเงินถอนเข้าบัญชีทุน ทุน-จริงใจ 5,000.- ถอนใช้ส่วนตัว 5,000.- ถอนใช้ส่วนตัว 5,000.-