ตัวชี้วัดที่ ๖ ตัวชี้วัดที่ ๖ ร้อยละความสำเร็จของการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณ น้ำหนัก ร้อยละ ๕ มิติภายใน
กรณีที่ ๑ ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน วัด ๓ ตัวชี้วัด ๑. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน น้ำหนัก ร้อยละ ๒ ๒. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ภาพรวม ๖ เดือนแรก น้ำหนัก ร้อยละ ๑ ๓. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ภาพรวม ๑๒ เดือน น้ำหนัก ร้อยละ ๒ การประเมินผลการบริหาร งบประมาณ แบ่งเป็น ๒ กรณี
กรณีที่ ๒ ไม่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน วัด ๒ ตัวชี้วัด ๑. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ภาพรวม ๖ เดือนแรก น้ำหนัก ร้อยละ ๒ ๒. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ภาพรวม ๑๒ เดือน น้ำหนัก ร้อยละ ๓
ตัวชี้วัดที่ ๖. ๑ ตัวชี้วัดที่ ๖. ๑ ร้อยละความสำเร็จของการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน
การพิจารณาผลสำเร็จของการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณรายจ่ายลงทุน จะใช้อัตรา การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของหน่วยงาน เป็นตัวชี้วัดความสามารถ ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน โดยจะใช้ ข้อมูลการเบิกจ่ายดังกล่าวจาก ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) การให้คะแนนจะพิจารณาตามความสามารถในการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ลงทุนของหน่วยงานเทียบกับวงเงินงบประมาณรายจ่าย ลงทุนที่หน่วยงานได้รับ หากมีการ โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างปี ( รายจ่ายประจำไป รายจ่ายลงทุน หรือรายจ่ายลงทุน ไปรายจ่ายประจำ ) จะนำยอดงบประมาณหลังโอน เปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการ คำนวณ คำอธิบาย
เงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่หน่วยงาน เบิกจ่าย x ๑๐๐ วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่หน่วยงาน ได้รับ สูตรการคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ ๑ระดับ ๒ระดับ ๓ระดับ ๔ระดับ ๕ ๗๒๗๔๗๖๗๘๘๐
ตัวชี้วัดที่ ๖. ๒ ร้อยละความสำเร็จของ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ รายจ่ายภาพรวม ๖ เดือนแรก
การพิจารณาผลสำเร็จของการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณรายจ่ายภาพรวม ๖ เดือน แรก จะใช้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ของหน่วยงานเป็นตัวชี้วัด ความสามารถในการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงาน โดยจะใช้ ข้อมูลการเบิกจ่ายดังกล่าวจากระบบ การบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS) การให้คะแนนจะพิจารณาตามความสามารถในการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณ รายจ่ายภาพรวมของหน่วยงานเทียบกับวงเงินงบประมาณ รายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานได้รับ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ หากมีการ โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ระหว่างปี ( รายจ่ายประจำไปรายจ่ายลงทุน หรือรายจ่ายลงทุน ไปรายจ่ายประจำ ) จะนำยอด งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการ คำนวณ คำอธิบาย
เงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานเบิกจ่าย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ x ๑๐๐ วงเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานได้รับ สูตรการคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ ๑ระดับ ๒ระดับ ๓ระดับ ๔ระดับ ๕ ๔๔. ๐๒๔๖. ๔๖๔๘. ๙๑๕๑. ๓๖๕๓. ๘๐
ตัวชี้วัดที่ ๖. ๓ ร้อยละความสำเร็จของการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณ รายจ่ายภาพรวม ๑๒ เดือน
คำอธิบาย การพิจารณาผลสำเร็จของการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณรายจ่ายภาพรวม ๑๒ เดือน จะใช้อัตราการเบิก จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมของหน่วยงาน เป็นตัวชี้วัด วามสามารถในการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงาน โดยจะใช้ข้อมูล การเบิกจ่ายดังกล่าวจากระบบการบริหารการเงินการคลัง ภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) การให้คะแนนจะพิจารณาตามความสามารถในการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมของหน่วยงานเทียบ กับวงเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานได้รับ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๖ หากมีการโอน เปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างปี ( รายจ่ายประจำไปรายจ่าย ลงทุน หรือรายจ่ายลงทุนไปรายจ่ายประจำ ) จะนำยอด งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการ คำนวณ
สูตรการคำนวณ เงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานเบิกจ่าย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๖ x ๑๐๐ วงเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่หน่วยงานได้รับ
เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ ๑ระดับ ๒ระดับ ๓ระดับ ๔ระดับ ๕ ๙๒๙๓๙๔๙๕๙๖