ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริศนา มัชฌิมา บทที่ 6 ฐานข้อมูลและการสืบค้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริศนา มัชฌิมา
เนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและการสืบค้น ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น เทคนิคการสืบค้น การสืบค้นสารสนเทศมัลติมีเดีย แนวโน้มการสืบค้นในอนาคต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและการสืบค้น 1. ความหมายของฐานข้อมูลและการสืบค้น “ฐานข้อมูล” คือ การรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการใช้งาน โดยอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล กำหนดสิทธิ์ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้
เช่น ในการเข้าใช้ฐานข้อมูลระบบทะเบียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต http://webregis.dusit.ac.th ผู้ใช้ต้องมีบัญชีผู้ใช้ (account) คือ ชื่อล็อกอิน (username) และรหัสผ่าน (password) เพื่อจะเข้าไปใช้บริการได้ตามสิทธิ์ที่ผู้ดูแลระบบได้กำหนดไว้
“การสืบค้น” คือ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ กลับคืนมา ด้วยวิธีการและเทคนิคอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยสามารถค้นจาก ข้อความหรือตัวอักษร รูปภาพ เสียงคน เสียงดนตรี เสียงเพลง และวิดีโอ
2. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล 2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) 2.2 ซอฟต์แวร์ (software) 2.3 ข้อมูล (data) 2.4 กระบวนการทำงาน (procedures) 2.5 บุคลากร (people)
2.5 บุคลากร (people) ผู้บริหารข้อมูล (data administrators) ผู้บริหารฐานข้อมูล (database administrators) นักวิเคราะห์ระบบ (systems analysts) นักออกแบบฐานข้อมูล (database designers) นักเขียนโปรแกรม (programmers) ผู้ใช้ (end-users)
3. กระบวนการสืบค้นสารสนเทศ
4. ประโยชน์ของฐานข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Thesis) หรือ งานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Research) ฐานข้อมูลกฤตภาค (clipping) ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศ
ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) http://arit.dusit.ac.th
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สำหรับเว็บไซต์ที่ให้บริการ e-Book อื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ Google books (books.google.co.th) หนังสือ บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์(http://www.siamebook.com) ศูนย์รวมตำราเรียน ม.รามคำแหง (http://e-book.ram.edu/e-book/indexstart.htm) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำนักหอสมุดแห่งชาติ(http://www.nlt.go.th/data/ebooks/ebooks.html)
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Thesis) หรืองานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Research)
ฐานข้อมูลกฤตภาค (clipping)
ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของ สถาบันบริการสารสนเทศ
เทคนิคการสืบค้น
การสืบค้นสารสนเทศมัลติมีเดีย มัลติมีเดีย (multimedia) คือ การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร (text) รูปภาพ (image) ภาพเคลื่อนไหว (animation) เสียง (sound) และวีดิทัศน์ (video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (interactive) ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
การสืบค้นรูปภาพในอินเทอร์เน็ต การสืบค้นเสียงในอินเทอร์เน็ต ในอินเทอร์เน็ตมีสื่อมัลติมีเดียจำนวนมากให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยสามารถสืบค้นได้ดังนี้ การสืบค้นรูปภาพในอินเทอร์เน็ต การสืบค้นเสียงในอินเทอร์เน็ต การสืบค้นวิดีโอในอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นรูปภาพในอินเทอร์เน็ต http://images.google.co.th
การสืบค้นเสียงในอินเทอร์เน็ต http://music.yahoo.com
การสืบค้นวิดีโอในอินเทอร์เน็ต http://www.youtube.com
แนวโน้มการสืบค้นในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้น ในยุคของ web 3.0 ที่ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในลักษณะของเครือข่ายเชิงความหมาย (semantic network) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ (intelligent agent) และการสืบค้นข้อมูลที่อิงตามความหมาย (semantic search) เป็นต้น