บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
ทำไมประเทศต่างๆต้องทำการค้า ด้านทรัพยากร ด้านทักษะความชำนาญ เทคโนโลยี
สาเหตุที่นักธุรกิจสนใจตลาดต่างประเทศ
ตัวอย่างประเทศที่ดำเนินนโยบายเปิดและปิดตลาดการค้า สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง จีน ประเทศเปิด กานา โซเวียต พม่า เกาหลีเหนือ ประเทศปิด
ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ 1. เป็นกลไกสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. มีการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมาก 3. ขนาดของตลาดภายในประเทศขยายตัว 4. เกิดการเรียนรู้ทักษะและถ่ายทอดทางด้านเทคโนโลยี 5. เกิดการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ
ขนาดของการค้าระหว่างประเทศ อัตราการเปิดประเทศ สัดส่วนมูลค่าการค้าระหว่างประเทศเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (X + M) / Y
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ 1. ระยะสั้น การผลิต : มีความชำนาญจึงได้ผลผลิตมากกว่าเดิม การบริโภค :ผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าในปริมาณเพิ่มขึ้น หลากหลาย ราคาถูก
2. ระยะยาว เกิดการเพิ่มพูนวิทยาการสมัยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต เกิดการลงทุนในต่างประเทศ เกิดการแข่งขัน
บทบาทหน้าที่ ภาครัฐ -สถาบันตรวจสอบสินค้า -การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ -สถาบันการเงินที่จะตรวจสอบผู้ซื้อและโอนเงินระหว่างประเทศ -หน่วยงานอำนวยความสะดวกด้านการค้า เช่นกรมศุลกากร กรมส่งเสริมการส่งออก -ผู้ประสานงานการค้า :ทูตพาณิชย์
บทบาทหน้าที่ ภาคเอกชน -ผู้ส่งออก -ผู้นำเข้า -ผู้ผลิตในประเทศที่ต้องการวัตถุดิบ -บริษัทการค้าหรือพ่อค้าส่งหรือดีลเลอร์ตัวแทนจำหน่ายหรือเอเย่นต์ เป็นตัวแทนการขาย -ผู้เข้าไปลงทุนผลิตในต่างประเทศ -ผู้เข้าไปลงทุนทำธุรกิจ(รายเดียว,พันธมิตร joint venture) -ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการขนส่งและธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการค้า ด้านอุปทาน 1.แรงงานเป็นทั้งผู้บริโภคและปัจจัยการผลิต 2.ทรัพยากรไม้ ดิน น้ำ น้ำมัน สินแร่ 3.ผู้นำเทคโนโลยี 4.อื่นๆเช่นสภาพเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง สังคมและ วัฒนธรรมสภาพการเปิดประเทศหรือปิดประเทศ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการค้า ด้านอุปสงค์ 1.จำนวนประชากร 2.อำนาจซื้อหรือรายได้ 3.ราคาสินค้าในประเทศ/ส่งออกนำเข้า 4.อื่นๆเช่นอัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ค่าขนส่ง รสนิยม