กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป โดย นายมงคล วรรณพงษ์
กฎหมายการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. พ.ร.บ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.....
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ - ควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ - ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม รธน. ม. 84(3)
ให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อกำหนดกรอบวินัยการคลัง ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ - การวางแผนการเงินระยะปานกลาง - การจัดหารายได้ - การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน - การบริหารการเงินและทรัพย์สิน - การบัญชี - กองทุนสาธารณะ รธน. ม. 167 ว. 3
- การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินหรือภาระทางการเงินของรัฐ - หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น - การอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องใช้เป็นกรอบในการจัดหารายได้ กำกับการใช้จ่ายเงินตามหลักการรักษาเสถียรภาพ พัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม รธน. ม. 167 ว. 3
เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน - หน่วยงานของรัฐนั้นต้องทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี - และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป การใช้จ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังด้วย รธน. ม. 170
การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะ ที่ได้อนุญาตไว้ใน - กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย - กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ - กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือ - กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อน ก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ... รธน. ม. 169
บรรดาเงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ให้หัวหน้าส่วนราชการส่งเข้าบัญชีคงคลังบัญชีที่ 1 พ.ร.บ.เงินคงคลังฯ
บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ - ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย หรือ - ระเบียบข้อบังคับ หรือ - ได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือ - ได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ * ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้นนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่ มีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม. 24
ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน - พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี - พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม - ตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น - ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม.23
พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21 ให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดให้มีการประมวลบัญชีแผ่นดิน (2) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21
พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21 (ต่อ) (3) จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงิน และการก่อหนี้ ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง (4) กำหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับ การรับ จ่ายเงินและหนี้ (5) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยเงินทดรองราชการด้วยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21
การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (1) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (2) เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม.27
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ..... เป็นกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติอนุญาตให้ ฝ่ายบริหาร ( ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ) มีงบประมาณไว้ใช้จ่ายสำหรับปีนั้นๆ
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี - ปีไหน - ให้ใคร - เพื่อการใด - จำนวนเท่าใด พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ