ระบบควบคุมการใช้งาน Internet ในองค์กร MSIT05G12 นางสาวกษวรรณ โพธิ์นาค 5414760016 นายดำรง อารยพงษ์วัฒนา 5414760019 นายกฤษดา พิเลิศ 5414760020 นางสาวศศิวิภา นาคะพันธุ์ 5414760053
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พบพฤติกรรมการใช้งาน Internet ในองค์กรที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้ และไม่สามารถควบคุมการใช้งานที่ไม่เหมาะสมนั้นได้ ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของผู้ใช้งานบนระบบ Internet ได้ มีข้อมูลทางเครือข่ายที่เยอะและกระจัดกระจาย ทำให้ผู้ดูแลเครือข่ายไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
แนวการแก้ไขปัญหา เพื่อเก็บข้อมูลให้ตรงตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 พัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการใช้งาน Internet เพิ่มรายชื่อ URL ที่อยู่ในประเภทห้ามใช้งาน บันทึกที่ Registry และเพิ่มลงในฐานข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาทำเป็นรายงาน เพื่อนำเสนอให้ผู้รับผิดชอบรับทราบ และเป็น Web Base เพื่อแสดงผลการใช้งาน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พลับพลึง สมเชย – ได้พัฒนาระบบการจัดเก็บ Log เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และหาแนวทางในการป้องกันแก้ไข ซึ่งสามารถแสดงข้อความแจ้งเตือนแก่ผู้ดูแลระบบเมื่อเกิดความผิดปกติได้ โดยใช้ My SQL, HTML, PHP และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสรุปผลการบุกรุกที่เกิดขึ้น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พันธ์รัตน์ ศิฬาณี -- ได้ออกแบบคลังข้อมูลสำหรับจัดเก็บ log file การใช้อินเตอร์เน็ตของข้าราชการกองทัพเรือ จาก Log File ที่อยู่ในลักษณะ Text-Based File ให้อยู่ในลักษณะข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และใช้เทคนิค Online - Analytic Processing (OLAP) ในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผ่านเว็บบราวเซอร์ภายในเครือข่ายอินทราเน็ต โดยใช้ PHP My SQL ในการพัฒนาระบบ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง S.Lekcharoen และ C C Fung – ได้นำเสนอการประยุกต์เทคนิควิธี ฟัซซีลอจิก เพื่อจุดประสงค์ในการปรับแต่งข้อมูลจราจรเครือข่าย (Traffic Shaping) สำหรับการบริหารจัดการหน่วยความจำบัฟเฟอร์ที่อยู่ภายในอุปกรณ์เครือข่าย ผลจากการจำลองแบบแสดงให้เห็นว่า ได้ผลลัพธ์ภาพดีกว่าระบบพื้นฐานทั่วไปมาก
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อเกียรติ และ กิตติพงศ์ – ได้พัฒนาระบบเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์เป็นรูปแบบเว็บแอพลิเคชั่น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูล และทราบถึงการโจมตีที่เกิดขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ดูแลระบบทราบ โดยออกแบบอัลกอริทึมเพื่อจัดกลุ่มข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลในทุกๆวินาที
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง Rahman และคณะ -- ได้เสนอแนะการนำเทคนิควิธีฟัซซีลอจิกเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์แบบจำลองข้อมูลจราจรที่เป็นจริงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบรอดแบนด์ความเร็วสูง แทนการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างจากสถิติของแพ็กเก็ตข้อมูลต่างๆ เช่นค่าระยะเวลาในการเดินทางมาถึงแพ็กเก็ตข้อมูล หรือค่าระยะเวลาไปกลับโยรวม (Round-trip time) เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาดำเนินการนานกว่ามาก จึงเหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายความเร็วต่ำถึงปานกลาง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สายัณ สุนทร และ สมชัย – ได้ใช้เทคนิคฟัซซีลอจิกในการวิเคราะห์ข้อมูลจราจรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินความเหมาะสมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุตรธิดาในบ้านพักอาศัย
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการพัฒนาระบบเพื่อการ วิเคราะห์ข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ทในองค์กรนั้น สามารถใช้การประมวลผลและ วิเคราะห์ข้อมูลได้โดยใช้เทคนิคฟัซซีลอจิก และนำเสนอผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยใช้ เครื่องมือโปรแกรม PHP และ My SQL ในการพัฒนาระบบ เนื่องจากการศึกษาพบว่าการใช้เทคนิคฟัซซี่ลอจิกในการวิเคราะห์แทนการวิเคราะห์โดยใช้ตัวแบบสถิตินั้นได้ผลที่ดีกว่า และมีผู้วิจัยรายอื่นได้ใช้เทคนิคฟัซซีลอจิกในการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่
จากการวิจัยนี้จึงสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคฟัซซี่ลอจิกในการพัฒนา ระบบควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในองค์กรได้และแก้ไขข้อจำกัดที่เกิดขึ้นโดย การสร้างฐานข้อมูลและทำการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ตลอดนำเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลผ่านทางอินทราเน็ทขององค์กร