จิตวิทยาสังคม คืออะไร ? จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าผู้คนคิดอย่างไรเกี่ยวกับผู้อื่น ผู้คนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร และผู้คนมีอิทธิพลต่อกันและกันอย่างไรบ้าง ส่วนของ ผู้คนคิดอย่างไรเกี่ยวกับผู้อื่น ศึกษาเรื่องความเชื่อ (Belief) เจตคติ (Attitude) ค่านิยม (Values) ความคิดเห็น (Opinion) ภาพลักษณ์ (Image) ภาพในความคิด (Stereotype) การอนุมานสาเหตุ (Attribution) ปัญญาทางสังคม (Social Cognition) ฯลฯ
ส่วนของ ผู้คนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร ศึกษาเรื่องความก้าวร้าว (Aggression) การช่วยเหลือผู้อื่น (Helping) ภาวะผู้นำ (Leadership) การเปลี่ยนเจตคติของคนอื่น (Attitude Change) การโน้มน้าวใจคนอื่น (Persuasion) การคล้อยตาม (Affiliation) การร่วมมือ (Cooperation) การแข่งขัน (Competition) การแสดงตน (Self-presentatio) การประจบประแจง (Ingratiation) อิทธิพลทางสังคม (Social Influence) ฯลฯ
ส่วนของ ผู้คนมีอิทธิพลต่อกันและกันอย่างไรบ้าง ศึกษาเรื่องความชอบพอ (Liking) ความดึงดูด (Attraction) ความใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation) อคติ (Prejudice) การโฆษณา (Advertising) การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) สงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) ฯลฯ
ศิษย์เก่าจิตวิทยาสังคมทำงานอะไรกันบ้าง - อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน - ประธานสำนักพิมพ์หนังสือกวดวิชาขนาดใหญ่ - ผู้อำนวยการกองฝึกอบรม ธนาคารของรัฐ - ผู้จัดการวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร ศูนย์ฝึกอบรม บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ - Senior HRD Specialist บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ - ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ - นักพัฒนาองค์การของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ทำงานพัฒนาองค์การให้กับบริษัทอื่น แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php