สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting www.accounting.crru.ac.th
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting Accounting Theory AC 4103 Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak www.accounting.crru.ac.th
หัวข้อสำคัญ บทที่ 6 การบัญชีสำหรับรายได้และค่าใช้จ่าย แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ แนวคิดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย CRRU
วัตถุประสงค์บทเรียน บทที่ 6 การบัญชีสำหรับรายได้และค่าใช้จ่าย อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับรายได้ อธิบายการรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป อธิยายการรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ 1. คำนิยามของ Paton and Littleton รายได้ หมายถึง ผลผลิตของกิจการ ซึ่งสามารถวัดจากจำนวนสินทรัพย์ของกิจการที่เพิ่มขึ้น และ รายได้ประจำงวด หมายถึง มูลค่ารวมที่สามารถจัดสรรได้ตามงวด 2. คำนิยามของ AAA, 1957 รายได้ หมายถึง จำนวนที่อธิบายได้จากราคารวมของสินค้าหรือบริการซึ่งกิจการโอนไปให้ลูกค้าภายในงวดระยะเวลาหนึ่ง CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ 3. คำนิยามของ Sprouse and Moonitz ให้คำจำกัดความโดยพิจารณาในรูปกระแสเข้าของสินทรัพย์ว่า รายได้หมายถึง การเพิ่มของสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตสินค้าหรือขายสินค้าหรือให้บริการ 4. ศัพท์บัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ อันเนื่องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ หรือหมายถึงมูลค่าที่คิดเป็นเงินตราของสินค้าหรือบริการที่โอนจากธุรกิจไปให้ลูกค้า CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ 5. แม่บทการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้า หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ 6. มาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ รายได้ หมายถึง กระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ(ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ จากความหมายของรายได้ อาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ รายได้ที่พิจารณาในแง่กระแสเข้า ของสินทรัพย์สุทธิ รายได้พิจารณาในแง่กระแสออกของสินค้าหรือบริการ ความหมายของรายได้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นไปตามแม่บทการบัญชี ซึ่งพิจารณาในรูปของกระแสเข้า หรือกระแสรับ CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ความหมายของรายได้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นไปตามแม่บทการบัญชี ซึ่งพิจารณาในรูปของกระแสเข้า หรือกระแสรับ สามารถอธิบายได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรูปกระแสเข้า หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ เช่น ขายสินค้าราคาทุน 100 บาท ราคาขาย 150 บาท สินทรัพย์เพิ่มค่า เช่น ตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ ตัวอย่าง รายการที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรูปกระแสเข้า -จำนวนเงินสด ลูกหนี้ หรือผลตอบแทนที่ได้จากการประกอบกิจการตามปกติของกิจการ จากการขายสินค้า -จำนวนเงินสด ลูกหนี้ หรือผลตอบแทนที่ได้มาจากการให้บริการ เช่น รายได้จากการให้บริการ -จำนวนเงินสด ลูกหนี้ หรือผลตอบแทนที่ได้มาจากการให้บุคคลอื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการ CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ (2) การลดลงของหนี้สิน ส่งผลให้เกิดรายได้ เช่น -กิจการรับเงินมัดจำล่วงหน้าค่าสินค้า แต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า -เจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้กิจการ (3) รายได้ส่งผลกระทบต่อส่วนของเจ้าของ ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น รายได้โอนปิดสรุปหาผลกำไรขาดทุนและและปิดกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุน หรือกำไรสะสม CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ 6.1.2 รายการที่ควรถือเป็นรายได้ (1) AICPA รายได้รวมถึงรายการกำไรจากการขายและรายการกำไนจากการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์อื่น นอกเหนือจากสินค้า ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ และการเพิ่มขึ้นในส่วนของเจ้าของอื่น (ยกเว้น การเพิ่มทุนลดทุน การเปลี่ยนแปลงในทุน และผลได้สุทธิจากการลงทุน) CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ (2) AAA ,1948 รายได้รวมรายการกำไรจากการขาย รายการกำไรจากการแลกเปลี่ยน สินทรัพย์ นอกเหนือจากสินค้า และรายการกำไรจากการได้รับประโยชน์จากการยกหนี้ให้ (3) แม่บทการบัญชี รายได้ต้องเป็นไปตามคำนิยามของรายได้ในแม่บทการบัญชี ซึ่งรวมรายการกำไรและรายได้จากการดำเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ รายได้ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยรับ รายได้ค่าสิทธิ รายได้ปันผล รายได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ 6.1.3 การรับรู้รายได้ การรับรู้รายได้ หมายถึง การรวบรวมการยายได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการบันทึกบัญชีรายได้เข้างบกำไรขาดทุน จุดรับรู้รายได้ เป็นเรื่องสำคัญเพราะการรับรู้รายได้ผิดงวดบัญชี ทำให้การแสดงผลการดำเนินงานผิดพลาด CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ 6.1.4 การวัดมูลค่ารายได้ มูลค่าของรายได้ โดยปกติจะเป็นมูลค่าที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่กำหนดจากจำนวนที่ตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งอาจวัดได้จากเงินสดที่ได้รับในปัจจุบัน หรือจำนวนเงินที่จะได้รับในอนาคต CRRU
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับรายได้ 6.1.5 การรายงานรายได้ รายได้ จะรายงานแสดงเป็นรายการแต่ละบรรทัด พร้อมจำนวนเงินในงบกำไรขาดทุน รายได้ทุกรายการที่รับรู้ในระหว่างงวดต้องนำมาคำนวณเพื่อหากำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด CRRU
6.2.1 รายได้จากการขายสินค้า ประเด็นพิจารณา 6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป 6.2.1 รายได้จากการขายสินค้า ประเด็นพิจารณา (1) เงื่อนไขการรับรู้รายได้จากการขาย 1.1 กิจการได้โอนความเสี่ยง (Risk) และผลตอบแทน (Benefit) ที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของในสินค้านั้นให้กับผู้ซื้อแล้ว 1.2 กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำหรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม CRRU
6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป 6.2.1 รายได้จากการขายสินค้า ประเด็นพิจารณา (ต่อ) 1.3 กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ เช่นมูลค่าตามใบกำกับสินค้า มูลค่าตามสัญญา 1.4 มีความเป็นไปได้ค่อยข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น นั่นคือสามารถเก็บเงินได้ 1.5 กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ (จับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย) CRRU
6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป (2) ตัวอย่าง การรับรู้รายได้จากการขายสินค้า 2.1 การขายเป็นเงินเชื่อ รับรู้เมื่อมีการขายเชื่อ 2.2 การนำสินค้าไปฝากขาย รับรู้เมื่อผู้รับฝากขาย ขายสินค้าได้ 2.3 การขายสินค้าแต่ยังไม่ส่งมอบ เนื่องจากความประสงค์ของลูกค้า แต่ลูกค้าได้เป็นเจ้าของสินค้าแล้ว และยอมรับชำระหนี้ รับรู้เมื่อมีข้อตกลงครบถ้วน 2.4 การขายสินค้าอย่างมีเงื่อนไข เช่น ติดตั้งและตรวจสอบก่อน 2.5 การขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขที่ผู้ซื้อจะยอมรับสินค้าต่อเมื่อมีความ พอใจหรือ การขายสินค้าเผื่อชอบ รับรู้การขายเมื่อพ้นระยะเวลาให้คืนสินค้า CRRU
6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป 6.2.2 รายได้จากการให้บริการ รับรู้รายได้เมื่อครบตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังนี้ 1. กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ 2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการนั้น 3. กิจการสามารถวัดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชี ณ วันสิ้น รอบระยะเวลารายงานได้อย่างน่าเชื่อถือ 4. กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU
6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป ขั้นควาสำเร็จของรายการบัญชี อาจกำหนดได้โดยใช้วิธีการ ดังนี้ การสำรวจที่ได้ทำแล้ว อัตราส่วนของบริการที่ให้จนถึงปัจจุบันเทียบกับบริการทั้งสิ้นที่ต้องให้ สัดส่วนของต้นทุนที่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบันกับประมาณการต้นทุนทั้งสิ้น ตัวอย่าง การรับรู้รายได้จากการให้บริการ -รายได้จากการแสดงคอนเสริต เมื่อขายบัตรเข้าชมยังไม่ควรรับรู้เป็นรายได้ จนกว่าการแสดงคอนเสริตจะเสร็จสิ้นลง -รายได้จากการขายบัตรโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อลูกค้าใช้บริการแล้ว -รายได้ค่านายหน้าจากการขายที่ดิน เมื่อขายที่ดินได้ -รายได้จากการโฆษณา เมื่อโฆษณาได้ออกเผยแพร่แล้ว CRRU
6.2.3 รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล 6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป 6.2.3 รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล รับรู้เมื่อไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังนี้ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ ตัวอย่าง 1. ดอกเบี้ยรับ เกิดจากผู้อื่นใช้เงินสดของกิจการ กิจการต้องรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลา CRRU
6.2 รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป 2. ค่าสิทธิ เกิดจากผู้อื่นใช้สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และสูตรการผลิต กิจการจะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง เช่น -ค่าสิทธิทางการค้า (Franchise Fee) รับรู้ในวันที่ได้ตกลงหรือลงนามในสัญญา -ค่าธรรมเนียม (Royalty Fee) เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง อาจรับรู้เป็นรายเดือนหรือรายปีตามสัญญาที่ตกลง -ค่าตอบแทนการบริการ (Franchise Package) เช่น ค่าฝึกอบรม ค่าโฆษณา เจ้าของสิทธิได้ให้บริการแล้ว 3. เงินปันผล รับรู้เมื่อผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.1 รายได้จากการให้เช่าซื้อ การให้เช่าซื้อ (Hire Purchase) ผู้ให้เช่าซื้อได้ผลกำไรจากดอกผลการเช่าซื้อ ส่วนผู้เช่าซื้อ จ่ายชำระค่างวดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจ่ายเงินครบตามสัญญา มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์สมบูรณ์ การรับรู้รายได้จากการให้เช่าซื้อ พิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ เช่น บริษัทเงินทุนผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อ แต่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินทรัพย์นั้น การเช่าซื้อแบบนี้เรียกว่า “การให้เช่าชนิดกู้ยืมโดยตรง” (Direct Financing Lease) ผู้ให้เช่าซื้อจะได้ประโยชน์จากการให้เช่าซื้อในรูปของดอกผลเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะรับรู้ดอกผลเช่าซื้อด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) หรือ วิธีเงินรายปี (Annuity Method) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.1 รายได้จากการให้เช่าซื้อ (ต่อ) ในอดีตก่อนปี 2551 ผู้ให้เช่าซื้อสามารถรับรู้รายได้ดอกเบี้ยได้อีกวิธีหนึ่งคือ วิธีผลรวมจำนวนงวด (Sum of the Digits Method) เมื่อปรับมาใช้มาตรฐานฉบับที่ 17 เรื่อง Leases วิธีผลรวมจำนวนงวดถูกยกเลิกไป เนื่องจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สะท้อนวิธีการรับรู้รายได้ที่เหมาะสมกว่า 2. กรณีผู้ให้เช่าซื้อเป็นเจ้าของสินทรัพย์ เช่น ผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินทรัพย์นั้น ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อด้วยการให้เช่าซื้อแบบนี้เรียกว่า “การให้เช่าชนิดขาย” (Sales Type Leases) ผู้ให้เช่าซื้อจะรับรู้กำไรที่เกิดจากการขาย และดอกผลเช่าซื้อ ด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง CRRU
6.3.1 รายได้จากการให้เช่าซื้อ (ต่อ) 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.1 รายได้จากการให้เช่าซื้อ (ต่อ) ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่างวด ผู้ให้เช่ายังรับรู้ดอกผลเช่าซื้อตามเกณฑ์คงค้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของสัญญาเช่าซื้อ เช่น กิจการผู้ให้เช่าซื้อจะไปยึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนกลับมาภายใน 3 งวด นับจากวันผิดสัญญา ในกรณีเช่นนี้ ดอกผลเช่าซื้อจะรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง 3 งวด หลังจากนั้น กิจการจะไม่รับรู้ดอกผลเช่าซื้อ เนื่องจากกิจการจะได้ยึดสินทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนจากลูกหนี้ โดยบันทึกไว้ในบัญชี “ทรัพย์สินรอการขาย” ด้วยผลต่างของบัญชีลูกหนี้เช่าซื้อกับดอกผลเช่าซื้อรอตัดบัญชีคงเหลือ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่า (Leases) เป็นเครื่องมือในการจัดหาสินทรัพย์ประเภททุน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตหรือการประกอบธุรกิจต่าง ๆ แทนการซื้อ ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามความต้องการโดยไม่ได้ลงทุนซื้อหรือเจ้าของ ผู้ให้เช่าจะเป็นตัวกลางในการจัดหาทรัพย์สิน หรือเจ้าของสินทรัพย์ และผู้เช่าจะจ่ายผลตอบแทนตามระยะเวลาที่ตกลงกัน และเมื่อสิ้นสุดสัญญา กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์อาจเปลี่ยนเป็นของผู้เช่าหรือไม่ก็ได้ ผลตอบแทนที่ผู้เช่าได้รับอาจเป็นค่าเช่ารับ (กรณีเช่าดำเนินงาน) หรือดอกเบี้ยรับ (กรณีเช่าการเงิน) CRRU
6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ สัญญาเช่า (Leases) สัญญาเช่าแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สัญญาเช่าการเงิน (หรือเช่าชนิดลงทุน) (Financial Lease) หรือ สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Leases) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) หรือเช่าซ้อเป็นสัญญาที่ความเสี่ยง และผลประโยชน์ในการเป็นเจ้าของโอนจากผู้ให้เช่าไปยังผู้เช่า ซึ่งทำให้ผู้เช่ามีฐานะเสมือเจ้าของสินทรัพย์ที่เช่านั้น หลักเกณฑ์ที่ถือว่าเป็นสัญญาเช่าการเงิน ซึ่งต้องเข้าเกณฑ์หนึ่งข้อหรือมากกว่า ต่อไปนี้ถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) (ต่อ) 2. สัญญาเช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าที่จะซื้อสินทรัพย์ที่เช่าในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิการเลือกซื้อมีผลใช้บังคับ (Bargain Purchase Option) โดยราคาที่ต่ำนั้นมีจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้แน่ใจว่า ณ วันทำสัญญาเช่า ผู้เช่าจะใช้สิทธิซื้อสินทรัพย์นั้นแน่นอน CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า (ต่อ) 3. อายุของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ที่เช่า ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าในที่สุดแล้วจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กันหรือไม่ (มาตรฐานการบัญชีกำหนดต้องประมาณร้อยละ 80 ของอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ประเทศอเมริกาใช้เกณฑ์ร้อยละ 75) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า 4. มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ณ วันเริ่มต้นทำสัญญาเช่าของค่าเช่าขั้นต่ำ (Minimum Lease Payments) มากกว่าหรือเท่ากับส่วนใหญ่ของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า ณ วันนั้น ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงว่าในที่สุดจะมีการโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ (มาตรฐานการบัญชีใช้ค่าเช่าขั้นต่ำดังกล่าจะมีจำนวนประมาณอย่างน้อยร้อยละ 90 ของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่ทำสัญญาเช่า) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า 5. สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้น โดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาทำการดัดแปลงที่สำคัญ ผู้เช่าจะรับรู้รายได้ทางการเงินสำหรับงวด คือ รายได้ดอกเบี้ยที่ตั้งพัก และทยอยรับรู้เป็นรายได้ในแต่ละงวดตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ผู้ให้เช่า จะรับรู้รายได้ทางการเงินสำหรับงวด คือ รายได้ดอกเบี้ยที่ตั้งพัก และทยอยรับรู้เป็นรายได้ในแต่ละงวดตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ผู้เช่า จะบันทึกสินทรัพย์ที่เช่า และคิดค่าเสื่อมราคา และตั้งหนี้สินตามสัญญาเช่า การเช่าการเงินเสมือนเป็นการซื้อสินทรัพย์ และการกู้ยืมเงิน CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.2 รายได้ตามสัญญาเช่า 2. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นสัญญาที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ตามที่ระบุในสัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่านี้เป็นสัญญาที่ให้สิทธิผู้เช่าใช้ประโยชน็จากสินทรัพย์นั้น โดยไม่หวังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้สินทรัพย์นั้นอีก หรือเมื่อสินทรัพย์หมดประโยชน์ ผู้ให้เช่าจะรับรู้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นรายได้ในแต่ละงวดตามเกณฑ์เส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่า เว้นแต่มีเกณฑ์ที่เป็นระบบอย่างอื่นที่ดีกว่า CRRU
6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง สัญญาก่อสร้างที่มีลักษณะเฉพาะตรงที่การก่อสร้างใช้ระยะเวลาดำเนินการมากกว่าหนึ่งรอบบัญชี วันเริ่มต้นก่อสร้างกับวันสิ้นสุดการก่อสร้างมักอยู่ต่างงวดบัญชีกัน การบันทึกรายได้และต้นทุนให้กับงวดบัญชีที่มีการก่อสร้าง จึงเป็นประเด็นหลักทางการบัญชีในเรื่องการรับรู้รายได้จากสัญญาก่อสร้าง CRRU
6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชือถือ กิจการจะต้องรับรู้รายได้และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง เรียกว่า “วิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ” (Percentage of Completion Method) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง วิธีการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย ตามขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง การกำหนดขั้นความสำเร็จทำได้ดังนี้ อัตราส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่ทำเสร็จจนถึงปัจจุบัน กับประมาณการต้นทุนการก่อสร้างทั้งสิ้น (Cost to Cost Method) การสำรวจงานที่ทำเสร็จ (Survey of Work Performed Method) สัดส่วนของงานก่อสร้างที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา (Completion of a Physical Proportion of the Contract Work Method) CRRU
6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง (ต่อ) 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.3 รายได้จากสัญญาก่อสร้าง (ต่อ) กิจการจะต้องรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Losses) เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ต้นทุนก่อสร้างทั้งสิ้นจะสูญกว่ารายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น (ตามหลักความระมัดระวัง) CRRU
6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีลักษณะเฉพาะตรงที่โครงการอสังหาริมทรัพย์จะใช้ระยะเวลานานหลายรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้นทุนโครงการจะสะสมมากขึ้นในระหว่างการพัฒนา แต่กิจการทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าแล้ว ในขณะที่มีการพัฒนาโครงการ ส่วนการจ่ายชำระอาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น ผ่อนชำระหรือจ่ายตามผลสำเร็จของงาน ซึ่งมีระยะเวลาการจ่ายชำระเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี CRRU
6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อและผู้ขาย อาจมีความเสี่ยงเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ผู้ซื้อไม่ชำระค่างวดตามกำหนด ผู้ขายก่อสร้างล่าช้าหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะต้องพิจารณารับรู้รายได้เมื่อใด CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1. ประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1.1 การขายที่ดิน หมายถึง การขายที่ดินเป็นแปลง โดยแบ่งย่อยจากที่ดินแปลงใหญ่เพื่อขายให้แก่ผู้ซื้อทั่วไป โดยผู้ขายต้องพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ตามสัญญา เช่น สร้างถนน งานสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ 1.2 การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง การขายที่พร้อมบ้าน เช่น หมู่บ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ และโฮมออฟฟิศ ราคาขายตามสัญญาเป็นราคาซึ่งรวมสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน 1.3 การขายอาคารชุด หมายถึง การขายห้องชุด อาคารชุดหรือกลุ่มอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจหรืออาคารสำนักงานเพื่อขาย CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 6.3.4 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 2. การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี NPAEs กำหนดให้ธุรกิจรับรู้รายได้ 3 วิธี 2.1 การรับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวน (Full Accrual Method) กิจการสามารถรับรู้รายได้ทั้งจำนวนเมื่อกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มี นัยสำคัญในสินทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว 2.2 การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion Method) หรือ 2.3 การรับรู้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ (Installment Method) CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 2.1 การรับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวน (Full Accrual Method) กิจการสามารถรับรู้รายได้ทั้งจำนวนเมื่อกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในสินทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว การโอนความเสี่ยงและผลประโยชน์อาจเป็นหลายลักษณะ เช่น -ผู้ซื้อเข้าใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์แล้ว -ผู้ซื้อลงชื่อรับโอนบ้านและที่ดิน -กิจการยังมีภาระผูกพันต่อผลงานที่อาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ ซึ่งกิจการ ยังคงต้องรับผิดต่อภาระผูกพันนั้น -การขายโดยมีการทำสัญญารับซื้อคืน เพื่อเป็นการดึงดูดใจผู้ซื้อ -เมื่อผู้ซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกซื้อตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขาย กิจการไม่ สามารถประมาณความน่าจะเป็นที่ผู้ซื้อจะคืนสินค้านั้นได้ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 2.2 การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion Method) หรือ 2.3 รับรู้ตามค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ (Installment Method) เมื่อการขายนั้นเข้าเงื่อนไขทุกข้อ 9 ข้อ ดังนี้ (1) การขายเกิดขึ้นแล้ว (2) ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน (3) ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเป็นอิสระต่อกัน หรือเป็น การดำเนินธุรกิจตามปกติ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ (4) เงินวางเริ่มแรกและเงินค่างวดที่ผู้ซื้อที่ชำระแล้วต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาตามสัญญา (5) ผู้ขายมีความสามารถเก็บเงินได้ตามสัญญา (6) งานพัฒนาและงานก่อสร้างได้ผ่านขั้นตอนเบื้องต้นแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของงานก่อสร้างตามโครงการที่เสนอขาย เช่น -งานวิศวกรรมและงานออกแบบ -การเซ็นสัญญาจ้างเหมางาน ปรับปรุงและเตรียมพื้นที่หรือจ้างเหมาก่อสร้าง -การปรับปรุงสภาพพื้นที่และการจ้างเตรียมพื้นที่ -การสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ ประปาและไฟฟ้า -การวางผัง การสร้างฐานรากของบ้านหรืออาคาร CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 2.2.7 ผู้ขายมีความสามารถทางการเงินดี CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ (7) ผู้ขายมีความสามารถทางการเงินดี (8) งานก่อสร้างก้าวหน้าไปด้วยดี เกณฑ์การพิจารณา เช่น -เงินทุนที่ได้จ่ายไปในการพัฒนาตามแผนงาน -งานพัฒนาที่ดินได้เริ่มแล้ว -การมีแผนงานวิศวกรรมและความผูกพันกับงานที่เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่ขาย (9) ผู้ขายสามารถประมาณเงินรับจากการขายรวม และต้นทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ในการก่อสร้างได้อย่างมีหลักเกณฑ์ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ เมื่อเข้าเงื่อนไข 1- 9 ข้อ กิจการสามารถเลือกรับรู้รายได้จาก 2 วิธี ดังนี้ 1. การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ มีเกณฑ์ดังนี้ 1.1 สามารถกำหนดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จได้ดังนี้ -คำนวณตามอัตราส่วนต้นทุนของงานที่เกิดขึ้นแล้ว กับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ในการก่อสร้างตามสัญญา ทั้งนี้ไม่รวมต้นทุนที่ดิน -สำรวจและประเมินผลงานที่ทำเสร็จโดยวิศวกรหรือสถาปนิก ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใดของงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา - ใช้ทั้ง 2 วิธีข้างต้นประกอบกัน CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ เมื่อเข้าเงื่อนไข 1- 9 ข้อ กิจการสามารถเลือกรับรู้รายได้จาก 2 วิธี ดังนี้ 1.2 กิจการต้องหยุดรับรู้รายได้ทันที หากผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินเกินกว่า 3 งวด และอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จสูงกว่าเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 2. การรับรู้รายได้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 4 ข้อ 2.1 กิจการสามารถรับรู้รายได้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ โดยใช้วิธีการรับรู้ตามอัตรากำไรขั้นต้น 2.2 กิจการต้องรับรู้รายได้ไม่เกินอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ หากอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จต่ำกว่าสัดส่วนของเงินที่ได้รับผ่อนชำระตามกำหนดต่อราคาขายผ่อนชำระ ส่วนเงินค่างวดที่ได้รับผ่อนชำระเกินกว่าอัตราส่วนของงานที่เสร็จให้ถือเป็นเงินรับล่วงหน้าจากผู้ซื้อ 2.3 กิจการต้องหยุดรับรู้รายได้ทันทีเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินเกินกว่า 3 งวดติดต่อกัน CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 2.4 หากผู้ซื้อสามารถชำระเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดได้ก่อนกำหนด หรือสามารถหาแหล่งเงินกู้อื่นได้ รวมทั้งก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์และผู้ขายได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในรูปสินทรัพย์แก่ ผู้ซื้อแล้ว กิจการต้องรับรู้จำนวนเงินดังกล่าวเป็นรายได้ทั้งจำนวนในงวดนั้น CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 3. การบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับเป็นเงินมัดจำ ในกรณีที่การขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เข้าเงื่อนไขการรับรู้ภายใต้ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ กิจการต้องบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับเป็นเงินมัดจำ หรือเงินรับล่วงหน้าจากผู้ซื้อ จนกว่าการขายดังกล่าวจะเข้าเงื่อนไขที่กำหนด CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ 4. มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฉบับที่ 102 เรื่องการรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ใช้สำหรับ PAEs) และให้ใช้การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่องสัญญาสำหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตีความการรับรู้รายได้อสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า อาจเป็นการขายสินค้า หรือสัญญาก่อสร้าง นั่นคือ ถ้าเป็นการขายสินค้า กิจการจะรับรู้รายได้คราวเดียวเมื่องานเสร็จ แต่ถ้า เป็นสัญญาก่อสร้าง กิจการสามารถทยอยรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จได้ CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้างตามประเด็นตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีดังนี้ 3 ข้อ ผู้ซื้อหรือลูกค้าเป็นผู้กำหนดโครงสร้างและการออกแบบบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นตามที่ตนต้องการก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้น หรือสามารถกำหนดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักได้ในระหว่างการก่อสร้างไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ตาม CRRU
6.3 รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ ข. การก่อสร้างอาจมีขึ้นบนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ผู้ซื้อเอง หรือที่ดินได้มาจากการเช่นก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้น ค. ผู้ขายได้โอนการควบคุม (Control) ความเสี่ยง (Risk) และผลตอบแทน (Benefits) ที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของงานในงานระหว่างทำ ไปยังผู้ซื้อ กล่าวคือ ในกรณีที่สัญญาต้องมีอันยกเลิกไป ผู้ซื้อมีสิทธิในงานระหว่างทำนั้น CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 6.4.1 ความหมายของค่าใช้จ่าย 1. ความเห็นของ AAA (1948) ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและรายการขาดทุน ความเห็นของ AAA (1957) ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนที่หมดสิ้นไปเนื่องจากการดำเนินงานประจำงวด ส่วนรายการขาดทุนหมายถึง ต้นทุนที่หมดสิ้นไปโดยไม่ได้ให้ประโยชน์ในการก่อให้เกิดผลผลิตแก่กิจการ CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 2. คำนิยามของ Spouse and Moonitz ค่าใช้จ่าย คือ การลดลงของสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้บริการทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับของภาษีอากร CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 3. คำนิยามตามศัพท์บัญชี ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลาดำเนินงานหนึ่ง 4. คำนิยามตามแม่บทการบัญชี ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ค่าใช้จ่ายตามนิยามให้รวมถึง รายการขาดทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติ เช่น ต้นทุนขาย ค่าเสื่อมราคา เงินเดือนและค่าแรงงาน และการด้อยค่าสินทรัพย์ ขายทุนจากการขายสินทรัพย์ CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย คำนิยามค่าใช้จ่าย ยังรวมถึงรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (Unrealized Loss)เช่น รายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนบางรายการ ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายแม้จะมียอดทางด้าน เดบิต เช่น ส่วนลดจ่าย รับคืนและส่วนที่ยอมลดให้ ถือว่าเป็นรายการปรับปรุงยอดขายหรือเป็นบัญชีปรับมูลค่า เพื่อแสดงยอดขายที่ถูกต้องตามความเป็นจริง CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายสามารถอธิบายได้ในรูปของแนวคิดเกี่ยวกับกระแสออก การลดลงของสินทรัพย์ เช่น ค่าเสื่อมราคา การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน เช่น มีภาระดอกเบี้ยจ่ายจากการกู้ยืมคือ ดอกเบี้ยจ่าย ส่วนของเจ้าของลดลง ไม่รวมถึงส่วนทุนที่ให้กับผู้มีส่วนร่วในส่วนของเจ้าของ เช่น การจ่ายปันผล CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 6.4.2 การรับรู้ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายจะรับรู้ในงบกำหนดขาดทุนก็ต่อเมื่อรายการนั้น เป็นไปตามคำนิยมข้างต้น หรือตามแม่บทการบัญชี ดังนี้ ค่าใช้จ่ายจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ เช่น การคิดค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ จะทำให้สินทรัพย์ลดลง การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน เมื่อกิจการสามารถวัดมูลค่าของค่าใช้จ่ายได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU
1. ราคาทุนเดิม (Historical Cost) 6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 6.4.3 การวัดมูลค่าของค่าใช้จ่าย 1. ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เนื่องจากเป็นมูลค่าที่มีหลักฐานสนับสนุนมากที่สุด เป็นราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ณ วันเกิดรายการ CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 2. ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) กิจการสามารถวัดมูลค่าของค่าใช้จ่ายด้วยราคาทุนปัจจุบัน ซึ่งเป็นราคาที่กิจการต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันหรือเท่าเทียมกัน สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วนคือ รายการกำไรที่เกิดจากผลต่างของรายได้และค่าใช้จ่าย รายการกำไรหรือรายการขาดทุนจากการมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า การกำหนดราคาทุนปัจจุบันได้แก่ ราคาปัจจุบันในการจำหน่าย เช่น ราคาชำระบัญชี ราคาเทียบเท่าเงินสด ราคาปัจจุบันในการจัดหา เช่น ราคาเปลี่ยนแทน CRRU
6.4.4 การรายงานค่าใช้จ่าย 6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย จากคำจำกัดความ ค่าใช้จ่าย จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการได้ใช้สินค้าหรือบริการในกระบวนการที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเกิดการลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออก หรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ดูตัวอย่างตามงบ กำไรขาดทุน CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย การรายงานค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ (Nature) ของค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) ค่าใช้จ่ายที่จำไปหักจากรายได้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปหรืองานระหว่างทำ ต้นทุนการให้บริการ วัตถุดิบหรือวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายอื่น (2) ค่าใช้จ่ายทางการเงิน (3) ส่วนแบ่ง(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า บริษัทร่วม (4) ภาษีเงินได้ CRRU
6.4 แนวคิดเกี่ยวค่าใช้จ่าย 2. จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ (Function) แสดงได้ 2 แบบ คือ แบบขั้นเดียวหรือแบบหลายขั้น แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ (1) ค่าใช้จ่ายที่นำไปหักจากรายได้ กรณีแสดงแบบขั้นเดียว ได้แก่ -ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ -ค่าใช้จ่ายในการขาย -ค่าใช้จ่ายในการบริหาร -ค่าตอบแทนผู้บริหาร -ค่าใช้จ่ายอื่น (2) ค่าใช้จ่ายทางการเงิน (3) ส่วนแบ่ง (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม การร่วมค้า (4) ภาษีเงินได้ CRRU
จบบทที่ 6
คำตอบ ข. กระแสเงินสดออก แบบฝึกหัด 1. ข้อใดไม่รวมอยู่ในคำนิยามของรายได้ ก. การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ข. กระแสเงินสดออก ค. การเพิ่มค่าของสินทรัพย์ ง. การลดลงของหนี้สิน คำตอบ ข. กระแสเงินสดออก CRRU
คำตอบ ค. เมื่อส่งสินค้า/บริการ แบบฝึกหัด 2. โดยทั่วไปรายได้จากการขายรับรู้เมื่อใด ก. เมื่อผลิตเสร็จ ข. เมื่อรับคำสั่งซื้อ/จ้าง ค. เมื่อส่งสินค้า/บริการ ง. เมื่อได้รับชำระเงิน คำตอบ ค. เมื่อส่งสินค้า/บริการ CRRU
คำตอบ ข. เมื่อผู้รับฝากขายสินค้านั้นได้ แบบฝึกหัด 3. รายได้จากการนำสินค้าไปฝากขายควรรับรู้เมื่อใด ก. เมื่อผู้ฝากขายนำสินค้าไปส่งให้ผู้รับฝากขาย ข. เมื่อผู้รับฝากขายสินค้านั้นได้ ค. เมื่อผู้รับฝากขายเก็บเงินค่าสินค้านั้นได้ ง. เมื่อผู้รับฝากขายปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาฝากขาย คำตอบ ข. เมื่อผู้รับฝากขายสินค้านั้นได้ CRRU
แบบฝึกหัด คำตอบ ง. ส่วนลดจ่าย 4. ข้อใดไม่ใช่ “ค่าใช้จ่าย” 4. ข้อใดไม่ใช่ “ค่าใช้จ่าย” ก. รายการขาดทุนจากภัยธรรมชาติ ข. รายการขาดทุนจากการด้อยค่า ค. ค่าเสื่อมสิ้น ง. ส่วนลดจ่าย คำตอบ ง. ส่วนลดจ่าย CRRU
แบบฝึกหัด คำตอบ ข. วิธีเงินรายปี 5. รายได้จากสัญญาเช่าซื้อควรรับรู้ด้วยวิธีใด ก. วิธีเส้นตรง ข. วิธีเงินรายปี ค. วิธีผลรวมจำนวนงวด ง. ถูกทุกข้อ คำตอบ ข. วิธีเงินรายปี CRRU
คำตอบ ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน แบบฝึกหัด 6. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์กำหนดขั้นความสำเร็จตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ เพื่อรับรู้รายได้สัญญาก่อสร้าง ก. อัตราส่วนต้นทุนที่ทำเสร็จกับประมาณการต้นทุน ข. การสำรวจงานที่ทำเสร็จโดยสถาปนิก ค. เกณฑ์สัดส่วนของงานที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมด ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน คำตอบ ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน CRRU
คำตอบ ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน แบบฝึกหัด 7. ข้อใดไม่ใช่การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ก. การรับรู้รายได้ตามค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ ข. การรับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวน ค. การรับรู้เป็นรายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน คำตอบ ง. การรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน CRRU
แบบฝึกหัด 8. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขการรับรู้รายได้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จหรือตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ก. เงินวางเริ่มแรกและเงินค่างวดของผู้ซื้อที่ชำระแล้วต้องมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายตามสัญญา ข. ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน ค. งานพัฒนาและงานก่อสร้างได้ผ่านขั้นตอนเบื้องต้นแล้ว ไม่น้อยกว่า 20% ของงานก่อสร้างโครงการ ง. ผู้ขายมีความสามารถทางการเงินดี คำตอบ ค. CRRU
คำตอบ ข. ราคาทุนที่ยึดคืนมาและตั้งการด้อยค่า แบบฝึกหัด 9. สินทรัพย์รอการขายแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่าใด ก. มูลค่ายุติธรรม ข. ราคาทุนที่ยึดคืนมาและตั้งการด้อยค่า ค. ราคาตามบัญชี ง. มูลค่าปัจจุบัน คำตอบ ข. ราคาทุนที่ยึดคืนมาและตั้งการด้อยค่า CRRU
คำตอบ ก. สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน จะอยู่ในสมุดของผู้เช่า แบบฝึกหัด 10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า ก. สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน จะอยู่ในสมุดบัญชีของผู้เช่า ข. รายได้ของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ ค. รายได้ของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าการเงิน ได้แก่ ค่าเช่ารับ ง. ผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าการเงิน เป็นผู้คิดค่าเสื่อมราคา คำตอบ ก. สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน จะอยู่ในสมุดของผู้เช่า CRRU
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 6 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 6 ข้อ 2
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 6 ข้อ 3
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 6 ข้อ 4
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 6 ข้อ 5