งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
School of Accounting

2 สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
School of Accounting Accounting Theory AC 4103 Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak

3 บทที่ 7 การบัญชีสินทรัพย์ หัวข้อสำคัญ
ความหมายของสินทรัพย์ ลักษณะของสินทรัพย์ วัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ประเภทของสินทรัพย์ CRRU

4 AICPA ให้ความหมาย 7.1 ความหมายของสินทรัพย์
สินทรัพย์ หมายถึง รายการที่แสดงไว้ทางเดบิต และรายการนี้อาจยกยอดต่อไปในงวดบัญชีหน้า และแสดงถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับในอนาคต CRRU

5 7.1 ความหมายของสินทรัพย์ AAA ให้ความหมาย ปี 1957
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจที่กิจการมีเพื่อประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินสินทรัพย์อาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ โดยปกติ ถ้ารายการใดมีคุณลักษณะของสินทรัพย์ จะเรียกว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ”(Economic Resource) กิจการสามารถใช้ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจนี้ในการให้บริการ (Potential Service) หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (Future Economic Benefit) CRRU

6 7.1 ความหมายของสินทรัพย์ ศัพท์บัญชี (สภาวิชาชีพบัญชีฯ) ให้ความหมาย
ศัพท์บัญชี (สภาวิชาชีพบัญชีฯ) ให้ความหมาย สินทรัพย์ หมายถึง สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งเกิดจากการประกอบการและสามารถแสดงค่าเป็นตัวเงินได้ และจะให้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งได้แก่ -สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์ และลูกหนี้ -สินทรัพย์ที่มีรูปร่าง เช่น สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือหมายถึง ต้นทุนที่คาดหมายว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้ในอนาคต เช่น สินค้าคงเหลือ ค่าสิทธิ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายจ่ายรอตัดบัญชี CRRU

7 7.1 ความหมายของสินทรัพย์ แม่บทการบัญชี ให้ความหมาย
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต CRRU

8 7.2 ลักษณะของสินทรัพย์ สินทรัพย์มีลักษณะ ดังนี้
1. สินทรัพย์อาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน 2. กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น หรือสินทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในความควบคุมของกิจการ CRRU

9 7.2 ลักษณะของสินทรัพย์ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (Future Economic Benefit) หมายถึง ศักยภาพของสินทรัพย์ในการก่อให้เกิดกระแสดเงินสดแก่กิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม ศักยภาพดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการผลิตหรืออาจอยู่ในรูปของความสามารถในการลดกระแสเงินสดจ่าย เช่น กระบวนการผลิตแบบใหม่ที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต CRRU

10 7.2 ลักษณะของสินทรัพย์ กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ในหลายลักษณะ เช่น กิจการอาจใช้สินทรัพย์ หรือ นำสินทรัพย์มาใช้ร่วมกับสินทรัพย์อื่น เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ หรือ นำสินทรัพย์ไปชำระหนี้ CRRU

11 7.3 วัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์
แนวคิดการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ มีดังนี้ 1. วัตถุประสงค์เพื่อต้องการวัดผลกำไร มี 2 แนวคิด 1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุน หมายถึง การวัดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ตามระยะเวลาที่ถือสินทรัพย์นั้น หรือวัดกำไรจากการถือสินทรัพย์ 1.2 แนวคิดในการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่าย กำหนดให้กิจการรับรู้รายได้พร้อมกับค่าใช้จ่ายจากรายการหรือเหตุการณ์เดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วผลต่างคือ กำไร CRRU

12 7.3 วัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์
แนวคิดการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ มีดังนี้ 2. วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุน มี 3 ลักษณะ ดังนี้ 2.1 แสดงฐานะการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน เพื่อผู้ลงทุนทราบข้อมูลฐานการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน 2.2 เพื่อคาดคะเนฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอนาคต ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการคาดคะเนกำไรและการจ่ายปันผล การเคลื่อนไหวราคาหลักทรัพย์ 2.3 เพื่อแสดงสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสามัญ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์แตกต่างกัน CRRU

13 7.3 วัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์
3. วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ ก่อนศตวรรษที่ 20 วัตถุประสงค์ของงบแสดงฐานะการเงิน คือการแสดงข้อมูลทางการเงินต่อเจ้าหนี้ เนื่องจากเจ้าหนี้ต้องการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ กิจการจึงแสดงมูลค่าสินทรัพย์ในราคาถูกบังคับขาย เพราะยึดหลักความระมัดระวัง ปัจจุบันกิจการมีข้อสมมติการดำเนินงานต่อเนื่อง ดังนั้นไม่มีเจตนาที่จะขายกิจการ จึงควรแสดงสินทรัพย์ด้วยราคาทุนปัจจุบันในการจำหน่าย เนื่องจากเป็นราคาที่กิจการอาจขายสินทรัพย์ได้ตามปกติ และกิจการควรนำเงินทุนหมุนเวียนจากการดำเนินธุรกิจไปชำระหนี้ ไม่ใช่เงินที่ขายสินทรัพย์เพื่อนำไปชำระหนี้ CRRU

14 7.3 วัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์
4. วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของผู้บริหาร ผู้บริหารจะให้ความสนใจข้อมูลที่จะช่วยคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่น ต้นทุนค่าเสียโอกาส ต้นทุนส่วนเพิ่ม และกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น CRRU

15 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
การรับรู้สินทรัพย์ หมายถึง การรวมรายการหรือบันทึกรายการสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งต้องเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการตามที่กำหนดในแม่บทการบัญชี การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หมายถึง การระบุจำนวนเงินที่ใช้ในการรับรู้สินทรัพย์นั้น CRRU

16 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
7.4.1 การรับรู้สินทรัพย์ แม่บทการบัญชี ระบุว่า สินทรัพย์ควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการ และสินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าหากรายการนั้นไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการต้องรับรู้รายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน CRRU

17 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
7.4.1 การรับรู้สินทรัพย์ เกณฑ์การรับรู้ตามแม่บทการบัญชี ที่ได้นำไปใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับต่าง ๆ เช่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน#38 กิจการจะต้องรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังนี้ ก. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ที่จะเกิดจากสินทรัพย์นั้น ข. ต้นทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU

18 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
7.4.1 การรับรู้สินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ต่อ) กิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือหลังจากที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์ เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อ ต่อไปนี้ ก. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายจ่ายนั้นจะทำให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตสูงกว่ามาตรฐานที่ประเมินไว้แต่เดิม ข. รายจ่ายนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU

19 7.4.2 การวัดมูลค่าสินทรัพย์
7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์ 7.4.2 การวัดมูลค่าสินทรัพย์ มีหลายแนวคิด ทำให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ วัดด้วยมูลค่าที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดรับในอนาคต ที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้น หรือ หาข้อมูลเพื่อใช้ซื้อสินทรัพย์ชนิดเดียวกันในอนาคต CRRU

20 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
7.4.2 การวัดมูลค่าสินทรัพย์ แนวคิดเกี่ยวกับการวัดมูลค่าของสินทรัพย์อาจแบ่งตามความต้องการใช้ข้อมูลเป็น 7 มูลค่า ดังนี้ 1. ราคาทุนหรือราคาทุนเดิม (Historical Cost) 2. ต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์ (Current Input Cost) 3. มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) 4. การคิดลดกระแสดเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต (Discounted Future Expected Cash Receipt) 5. มูลค่าในปัจจุบันของการจำหน่าย (Current Output Value) 6. มูลค่าการชำระบัญชี (Liquidation Value) 7. มูลค่าอื่น ๆ (Other Value) CRRU

21 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
การวัดมูลค่าสินทรัพย์ ใช้กรณีต่าง ๆ ดังนี้ ราคาทุนหรือราคาทุนเดิม (Historical Cost) ใช้เมื่อเกิดรายการขึ้น เช่น จัดหาสินทรัพย์ ขายสินค้า/รายได้ค่าบริการ ต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์ (Current Input Cost) ใช้แสดงมูลค่าสินทรัพย์ในวันสิ้นงวด มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ใช้แสดงมูลค่าในวันสิ้นงวด 4. การคิดลดกระแสดเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต (Discounted Future Expected Cash Receipt) ใช้ในการพิจารณาการด้อยค่า CRRU

22 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
การวัดมูลค่าสินทรัพย์ ใช้กรณีต่าง ๆ ดังนี้ มูลค่าในปัจจุบันของการจำหน่าย (Current Output Value) ใช้แสดงมูลค่าในวันสิ้นงวด เช่น สินค้าคงเหลือ 6. มูลค่าการชำระบัญชี (Liquidation Value) ใช้เมื่อกิจการจะต้องเลิกในระยะอันใกล้ 7. มูลค่าอื่น ๆ (Other Value) เช่น LCM ใช้แสดงมูลค่าในวันสิ้นงวด CRRU

23 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
1. ราคาทุนหรือราคาทุนเดิม (Historical Cost) วิธีนี้กิจการจะบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์นั้นมา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น ข้อดี นิยมใช้แพร่หลายเนื่องจาก ราคาทุนเดิมเป็นราคาที่มีหลักฐานอันเที่ยงธรรม ซึ่งสามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้อย่าง แน่นอน และเป็นราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ข้อจำกัด สินทรัพย์ยังแสดงด้วยราคาเดิม ๆ ทั้ง ๆ ที่มูลค่าปัจจุบันของสินทรัพย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก CRRU

24 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
2. ต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์ (Current Input Cost) ราคาทุนเดิมและต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์มีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งถือเป็น “มูลค่าแลกเปลี่ยนในการจัดหาสินทรัพย์”(Exchange Input Value) แต่ต่างกันตรงที่จุดเวลาที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินทรัพย์นั้น มูลค่าทั้งสองจะเท่ากัน ณ วันที่จัดหาสินทรัพย์นั้น ข้อดีของการวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยต้นทุนปัจจุบัน มีดังนี้ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ หมายถึง ต้นทุนที่กิจการจ่ายไปในวันนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือบริการ ดังนั้น มูลค่านี้ส่งผลให้การเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องและสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการคาดคะเนฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างสมเหตุสมผล CRRU

25 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
(ต่อ) 2. การเปรียบเทียบต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์กับรายได้ทำให้เกิดกำไรขาดทุนที่แท้จริง ซึ่งกำไรขาดทุนจากการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์รวม 3. ต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์แสดงให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ในปัจจุบัน ในกรณีที่มีกิจการต้องจัดหาสินทรัพย์เพิ่มเติมอยู่เสมอ 4. สินทรัพย์ที่แสดงด้วยราคาทุนปัจจุบันในการจัดหา ย่อมให้ความหมายในการตัดสินใจได้ชัดเจนกว่าราคาทุนเดิม CRRU

26 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
(ต่อ) ข้อเสีย ต้นทุนปัจจุบันมีข้อจำกัดตรงที่ขาดหลักฐานอ้างอิง และมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินทรัพย์ที่มีได้มีการจัดหาในงวดปัจจุบัน การวัดมูลค่าสินทรัพย์ตามวิธีนี้จึงเหมาะสมเมื่อต้นทุนปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์สามารถกำหนดและพิสูจน์ได้ CRRU

27 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
3. มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระ ในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน การวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรม เป็นการแก้ไขข้อจำกัดของราคาเดิม มูลค่ายุติธรรมสะท้อนความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ของผู้ใช้ข้อมูล เนื่องจากเป็นมูลค่าซึ่งสะท้อนสถานปัจจุบัน CRRU

28 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
4. การคิดลดกระแสดเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต (Discounted Future Expected Cash Receipt) การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ของเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์นั้น (Value in Use) ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ได้แก่ -จำนวนเงินที่ได้รับ หมายถึง มูลค่าเงินสด หรือบริการที่จะได้รับในอนาคต -อัตราคิดลด หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดลดเงินสดหรือบริการที่จะได้รับในอนาคตของสินทรัพย์ -ระยะเวลาที่สินทรัพย์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ CRRU

29 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
5. มูลค่าในปัจจุบันของการจำหน่าย (Current Output Value) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่กิจการจำออกจำหน่าย (Selling Price) ควรเท่ากับราคาตลาดในขณะนั้น การวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้จึงเหมาะสมกับสินค้าหรือบริการที่จะนำออกจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ หรือสินทรัพย์ที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเก็บไว้ใช้งาน แต่กิจการต้องการที่จะขายสินทรัพย์นั้น ถ้าหากกิจการสามารถประมาณต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการขาย กิจการต้องนำมูลค่าในปัจจุบันจากการจำหน่ายหักออกด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย ซึ่งเรียกว่า “มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ” (Net Realizable Value) หรือราคาขายสุทธิ (Net Selling Price) CRRU

30 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
5. มูลค่าในปัจจุบันของการจำหน่าย (Current Output Value) การวัดมูลค่าตามวิธีนี้ ใช้เฉพาะ สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อขาย เช่น สินค้า ผลิตผลหลัก ผลิตผลพลอยได้ และสินทรัพย์ที่กิจการมิได้มีวัตถุประสงค์จะเก็บไว้เพื่อใช้ CRRU

31 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
6. มูลค่าการชำระบัญชี (Liquidation Value) มูลค่าชำระบัญชี หมายถึง ราคาขายเงินสด หรือ ราคาตามที่ ตกลงกันจากการจำหน่ายสินทรัพย์ในกรณีที่จะเลิกกิจการ ตามแนวคิดนี้ กิจการจะวัดมูลค่าสินทรัพย์ทุกชนิดด้วยวิธีเดียวกันหมด เพื่อแสดงถึงสภาพธุรกิจในขณะนั้น ซึ่งกิจการอาจจะวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยราคาตลาดของสินทรัพย์ดังกล่าวได้ยาก ในทางปฏิบัติ มูลค่าชำระบัญชีจะใช้กับสถานการณ์ ดังนี้ เมื่อสินทรัพย์ให้ประโยชน์ตามปกติ เช่น สินทรัพย์ล้าสมัย เสื่อมสภาพ เมื่อกิจการมีวัตถุประสงค์จะเลิกกิจการในอนาคตอันใกล้ CRRU

32 7.4 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์
7. มูลค่าอื่น ๆ (Other Value) ได้แก่ ราคาทุนหรือตลาดที่ต่ำกว่า(Lower of Cost or Market) แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า การวัดมูลค่าสินทรัพย์ดังกล่าวด้วยราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ทำให้กิจการรับรู้ผลขาดทุนตามหลักความระมัดระวัง ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (Lower of Cost or Net Realizable Value) มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง ราคาขายสุทธิหรือมูลค่าจากการใช้แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า CRRU

33 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)
ประเภทของสินทรัพย์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ สินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) Saders, Hartfield and Moore, (1938) หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือมีวัตถุประสงค์ที่จะแลกเป็นเงินสด CRRU

34 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ AICPA สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ซึ่งคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้ให้หมดไป ในระหว่างงวดการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ CRRU

35 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ ศัพท์บัญชี สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีเหตุผล หรือคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ CRRU

36 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี #1 เรื่องการนำเสนองบการเงิน สินทรัพย์หมุนเวียน ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1. สินทรัพย์นั้นเป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชำระหนี้สินภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 2. กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ในระยะสั้น หรือคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายใน 12 เดือน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 3. กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ หรือกิจการมีสินทรัพย์ไว้เพื่อขาย หรือเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานตามปกติ CRRU

37 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี #1 เรื่องการนำเสนองบการเงิน สินทรัพย์หมุนเวียน ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ดังนั้น สินทรัพย์หมุนเวียน ต้องมีลักษณะดังนี้ 1. กิจการมีวัตถุประสงค์ที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ระยะสั้น 2. กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายใน 1 ปี หรือรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ CRRU

38 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ 1. เงินสด
2. รายการเทียบเท่าเงินสด 3. เงินลงทุนชั่วคราว ได้แก่ หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย 4. ตั๋วเงินรับ 5. ลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น 6. สินค้าคงเหลือ 7. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 8. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เช่น รายได้ค้างรับ CRRU

39 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ เงินสด (Cash)
หมายถึง เงินสดในมือ ซึ่งรวมเงินเหรียญ ธนบัตร เงินฝากธนาคาร เช็คที่ยังถึงกำหนดแต่ยังไม่นำฝาก ดร๊าฟต์ธนาคาร เช็คเดินทาง และธนาณัติ เงินสดในมือมี 2 ประเภท คือ เงินสดย่อย และ เงินฝากธนาคาร กรณี เงินฝากธนาคารแสดงยอดเป็นเงินเบิกเกินบัญชี ให้แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน CRRU

40 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 2. รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash Equivalent)
หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับมูลค่าเดิม ซึ่งความแตกต่างหรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าดังกล่าวน้อย หรือไม่มีสาระสำคัญ เช่น ตั๋วเงินคลัง CRRU

41 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 3. เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary Investment)
หมายถึง เงินฝากธนาคารประเภท ประจำ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้ด้วยวัตถุประสงค์จะหาดอกผลจากการลงทุนนั้น หลักทรัพย์ที่ซื้อนั้นอยู่ในความต้องการของตลาดและผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะขายเมื่อต้องการใช้เงินสด มาตรฐานการบัญชี หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกินหนึ่งปี ได้แก่ หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และ ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดในหนึ่งปี แสดงด้วยมูลค่าสุทธิหลักจากหักค่าเผื่อการด้อยค่า CRRU

42 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 4. ตั๋วเงินรับ (Note Receivable)
หมายถึง คำมั่นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งรับชำระเงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง ภายในเวลาที่กำหนด ตั๋วเงินรับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตั๋วเงินรับการค้า และตั๋วเงินรับอื่น ตั๋วเงินรับการค้า เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการ ตั๋วเงินรับอื่น เกิดจากการให้ลูกหนี้ยืมเงิน หรือกรณีอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ CRRU

43 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 5. ลูกหนี้ (Accounts Receivable)
หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินสด สินค้าหรือบริการ ลูกหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า และลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้า หมายถึง เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการได้ขายไปตามปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงเงินค้างรับของกิจการกรณีอื่น ลูกหนี้อื่น หมายถึง ลูกหนี้ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ เช่น ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง บริษัทในเครือและบริษัทร่วม แสดงด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะเรียกเก็บได้ (Net Realizable Value) CRRU

44 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินค้าคงเหลือ (Inventories)
หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อขาย อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต ใช้ในการผลิตสินค้า สินค้าคงเหลือ ประกอบด้วย สินค้าที่ซื้อและถือไว้เพื่อขาย สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างทำ วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิต ต้นทุนงานให้บริการ ซึ่งประกอบด้วยค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายในเกี่ยวกับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการ รวมทั้งบุคลากรที่ควบคุมดูแล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ การแสดงสินค้าคงเหลือให้แสดงด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (Lower of Cost or Net Realizable Value: NRV) CRRU

45 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 7. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปก่อนสำหรับสินทรัพย์หรือบริการที่จะได้รับประโยชน์ในอนาคต และจะใช้หมดไปในระยะเวลาสั้น เช่น ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า เป็นต้น การแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน แสดงไว้ในสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น CRRU

46 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 8. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other Current Assets) หมายถึง ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นใดที่ไม่แยกแสดงเป็นรายการหนึ่งต่างหากในงบแสดงฐานะการเงิน CRRU

47 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Noncurrent Assets)
หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดของสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงาน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น CRRU

48 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ได้แก่
1. เงินลงทุนระยะยาว 2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 3. สิทธิการเช่า 4. ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการ 5. รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 7. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เช่น สินทรัพย์ถือไว้รอการขาย 8. สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น CRRU

49 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปี รวมถึง ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป ตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด เงินลงทุนในบริษัทร่วม (Investment in Associates) หมายถึง กิจการที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญ (Significant Influence) ของผู้ลงทุนและไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า อิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญ หมายถึง อำนาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินและการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุม CRRU

50 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment)
บริษัทย่อย (Subsidiary Company) หมายถึงกิจการซึ่งอยู่ภายในการควบคุมของกิจการอื่นซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ (Parent Company) การควบคุม หมายถึง อำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการคำเนินงานของกิจการเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจรรมต่าง ๆ ของกิจการนั้น วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) หมายถึง วิธีการบัญชี ซึ่งบันทึกเงินลงทุนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน และปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการลงทุนตามสัดส่วนที่ผู้ลงทุนมีสิทธิในสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ไปลงทุน CRRU

51 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment)
บริษัทใหญ่ (Parent Company) หมายถึง กิจการซึ่งมีบริษัทย่อยอย่างน้อยหนึ่งแห่ง บริษัทย่อย (Subsidiary Company) หมายถึงกิจการซึ่งอยู่ภายในการควบคุมของกิจการอื่นซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ (Parent Company) กลุ่มกิจการ (Group Company) หมายถึง บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยทุกบริษัทที่เป็นของบริษัทใหญ่นั้น งบการเงินรวม (Consolidated Financial Statements) CRRU

52 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment)
งบการเงินรวม (Consolidated Financial Statements) หมายถึง งบการเงินที่กลุ่มกิจการนำเสนอเสมือนว่าเป็นกิจการเดียวกัน งบการเงินรวมให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกลุ่มกิจการโดยรวม ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (Non-Controlling Interest: NCI) หมายถึง ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย ผลการดำเนินงานสุทธิและสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อย เฉพาะส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทใหญ่โดยทางตรงหรือทางอ้อม CRRU

53 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 3. สิทธิการเช่า (Leasehold)
หมายถึง สิทธิที่กิจการได้รับเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เช่าจากเจ้าเข้าสินทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งปกติจะมีระยะเวลานาน เช่น สิทธิการเช่าอาคาร ปี บันทึกเป็นสินทรัพย์ และตัดจำหน่ายตามอายุการเช่า CRRU

54 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 4. ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการ (Organization Cost) หมายถึง รายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่กิจการเริ่มก่อตั้ง เช่น ค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน ค่าใช้จ่ายด้านเลขานุการ ซึ่งเกี่ยวข้องกันการจัดตั้งกิจการให้เป็นนิติบุคคล กิจการจะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น CRRU

55 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 5. รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Cost) การวิจัย หมายถึง การคิดค้น การสำรวจตรวจสอบที่มุ่งหวังเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์หรือทางด้านเทคนิค การพัฒนา หมายถึง การนำผลของการวิจัยหรือความรู้อื่นมาใช้ในแผนงาน หรือการออกแบบเพื่อผลิตสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมก่อนที่จะเริ่มผลิตขายหรือใช้ในเชิงพาณิชย์ รายจ่ายในการวิจัย จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ ดังนั้น จึงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย CRRU

56 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้ และไม่มีลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ของการบริหารงาน ดังนั้นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ต้องมีคุณสมบัติครบ 3 ประการ ดังนี้ 1. ต้องสามารถระบุได้ 2. ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ 3. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต CRRU

57 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิทางกฎหมายในวรรณกรรม หรือศิลปกรรม รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์ ภาพเขียน แผนที่ บันทึกบัญชีด้วยราคาทุน CRRU

58 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
ได้แก่ สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง นิมิตสิทธิ หรือ สิทธิตามกฎหมายในการผลิต จำหน่าย หรือรับประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือ กรรมวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง CRRU

59 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
สัมปทาน (Franchise) หมายถึง สิทธิพิเศษในการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง หรือสิทธิในการขายผลิตภัณฑ์หรือให้บริการ เช่น สัมปทานในการขุดน้ำมัน สัมปทานในการเดินรถ สัมปทานในการผลิตกระแสไฟฟ้า สัมปทานในการผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ สัมปทานในการทำป่าไม้ CRRU

60 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
เครื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง เครื่องหมาย ชื่อ หรือตราที่กิจการใช้กำกับผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป -ได้มาใช้ Historical Cost CRRU

61 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
ค่าความนิยม (Goodwill) หมายถึง ส่วนที่กิจการสามารถหากำไรได้สูงกว่าระดับปกติ สำหรับกิจการประเภทเดียวกัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ชื่อเสียงของกิจการ ทำเลที่ตั้งของกิจการ ประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหาร หรือการผูกขาดในสินค้า กิจการได้ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจในวิธีซื้อกิจการ (Purchase Method) นั่นคือมูลค่าที่ซื้อสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกซื้อ CRRU

62 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 7. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (Other No-Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ใน1-6 ข้างต้น เช่น สินทรัพย์ถือไว้รอการขาย CRRU

63 7.5 ประเภทของสินทรัพย์ 8. สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Assets)
หมายถึง สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีตซึ่งจะรู้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีอยู่จริง ก็ต่อเมื่อได้รับการยืนยันจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคตอย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ในอนาคตต้องเป็นเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน และกิจการไม่สามารควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กิจการฟ้องร้องเรียกชดเชยค่าเสียหายจากคู่กรณีสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นมิใช่สินทรัพย์ เนื่องจากสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นยังไม่เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ที่ระบุไว้ในแม่บทการบัญชี ดังนั้น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว จนกว่าจะมีการเกิดขึ้นแน่จึงจะบันทึกรับรู้เป็นสินทรัพย์ CRRU

64 จบบทที่ 7

65 ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 7 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5

66 คำตอบ ก. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
แบบฝึกหัด 1. ลักษณะที่สำคัญของสินทรัพย์ที่กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชีคือข้อใด ก. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ข. สินทรัพย์มีตัวตน ค. สินทรัพย็ที่ได้มาใช้ราคาทุน ง. สิทธิเรียกร้องผลประโยชน์สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย คำตอบ ก. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต CRRU

67 คำตอบ ก. มูลค่าชำระบัญชี
แบบฝึกหัด 2. สินทรัพย์ควรวัดด้วยมูลค่าใด ในกรณีที่จะเลิกกิจการในอนาคตอันใกล้ ก. มูลค่าชำระบัญชี ข. ราคาทุน ค. ราคาทุนเปลี่ยนแทน ง. มูลค่าปัจจุบัน คำตอบ ก. มูลค่าชำระบัญชี CRRU

68 คำตอบ ง. มูลค่าชำระบัญชี
แบบฝึกหัด 3. การวัดมูลค่าสินทรัพย์มูลค่าใดมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด ก. ราคาทุนเดิม ข. มูลค่ายุติธรรม ค. มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ง. มูลค่าชำระบัญชี คำตอบ ง. มูลค่าชำระบัญชี CRRU

69 คำตอบ ง. ผลการเปลี่ยนแปลงของราคาทุนกับมูลค่ายุติธรรมของ
แบบฝึกหัด 4. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. หลักทรัพย์เพื่อค้าแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ข. หลักทรัพยเผื่อขายแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ค. ตราสารหนี้ที่จะถือกำหนดแสดงด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย ง. ผลการเปลี่ยนแปลงของราคาทุนกับมูลค่ายุติธรรมของ หลักทรัพย์เพื่อค้าให้บันทึกเข้าส่วนของเจ้าของ คำตอบ ง. ผลการเปลี่ยนแปลงของราคาทุนกับมูลค่ายุติธรรมของ หลักทรัพย์เพื่อค้าให้บันทึกเข้าส่วนของเจ้าของ CRRU

70 คำตอบ ข. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
แบบฝึกหัด 5. ข้อใดถือเป็นสินทรัพย์ในทางการบัญชี แต่ไม่ถือเป็นทรัพย์สินในทางกฎหมาย ก. เงินสด ข. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค. สินค้าคงเหลือ ง. หลักทรัพย์ คำตอบ ข. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า CRRU

71 คำตอบ ค. ค่าความนิยมตัดจำหน่ายตามอายุการให้ประโยชน์
แบบฝึกหัด 6. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจ ก. การรวมธุรกิจที่เกิดความนิยมเป็นการรวมธุรกิจด้วยวิธีซื้อ ข. ห้ามตั้งพักค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการซื้อธุรกิจ แต่ให้บันทึกเข้างบกำไรขาดทุนทั้งจำนวน ค. ค่าความนิยมตัดจำหน่ายตามอายุการให้ประโยชน์ ง. ห้ามตัดจำหน่ายค่าความนิยมตามอายุการให้ประโยขน์ แต่ให้คิดการด้อยค่า คำตอบ ค. ค่าความนิยมตัดจำหน่ายตามอายุการให้ประโยชน์ CRRU

72 แบบฝึกหัด คำตอบ ค. สินค้าคงเหลือ 7. ข้อใดคือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน
7. ข้อใดคือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ก. ตั๋วเงินรับ ข. ลูกหนี้ ค. สินค้าคงเหลือ ง. เงินสด คำตอบ ค. สินค้าคงเหลือ CRRU

73 แบบฝึกหัด คำตอบ ง. ราคาประเมิน
8. ในการพิจารณาให้สินเชื่อของกิจการที่ไม่มั่นคง เจ้าหนี้ควรวัดสินทรัพย์ของลูกหนี้สินเชื่อด้วยมูลค่าใด ก. ราคาทุนเดิม ข. ราคาที่ถูกบังคับขาย ค. มูลค่าปัจจุบันในการจัดหาสินทรัพย์ ง. ราคาประเมิน คำตอบ ง. ราคาประเมิน CRRU

74 คำตอบ ก. มูลค่าเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ
แบบฝึกหัด 9. การวัดมูลค่าสินทรัพย์วิธีใดที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินงาน ก. มูลค่าเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ ข. ราคาตลาด ค. ราคาประเมิน ง. มูลค่าปัจจุบันในการจำหน่าย คำตอบ ก. มูลค่าเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ CRRU

75 คำตอบ ค. ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า
แบบฝึกหัด 10. สินค้าคงเหลือควรแสดงในงบแสดงฐานการเงินด้วยมูลค่าใด ก. ราคาทุนเดิม ข. ราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ค. ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า ง. มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ คำตอบ ค. ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า CRRU

76 ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 7 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5


ดาวน์โหลด ppt สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google