หน่วยที่ 13 ธุรกิจการเกษตร
ความหมายของธุรกิจการเกษตร หมายถึง กระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาขาเกษตรและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตพืช การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำ รวมทั้งการผลิตปัจจัยการผลิตธุรกิจการรวบรวมสินค้าจากเกษตรกร การแปรรูป การขายปลีก การขายส่ง การเก็บรักษา การขนส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภค และผู้ใช้ภายในประเทศและต่างประเทศ และรวมถึงสินเชื่อ อีกด้วย
ความสำคัญของธุรกิจการเกษตร 1. เป็นแหล่งการค้าปัจจัยการผลิตการเกษตร 2. เป็นแหล่งวัตถุดิบ 3. เป็นแหล่งรายได้ของประเทศ 4. เป็นแหล่งแรงงานของประเทศ 5. เป็นมูลค่าที่สำคัญขององค์ประกอบ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
ความสำคัญของธุรกิจการเกษตรที่มีต่อภาคเกษตร 1. ก่อให้เกิดการมีงานทำในการเกษตร 2. ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น 3. ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 4. ก่อให้เกิดการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) 5. ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในภาคเกษตร
ลักษณะโครงสร้างของระบบย่อย ธุรกิจการเกษตรแบ่งเป็น 7 ระบบย่อย คือ 1. ระบบย่อยปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร 2. การผลิตสินค้าเกษตร 3. การจัดหาสินค้าเกษตร 4. การแปรรูปผลิตผลเกษตร 5. การจำหน่ายสินค้าเกษตร 6. การส่งออกสินค้าเกษตร 7. สินเชื่อการเกษตร
ในแนวดิ่ง ความสัมพันธ์ของระบบย่อยในธุรกิจการเกษตร ความสัมพันธ์ของระบบย่อยในธุรกิจการเกษตร ในแนวดิ่ง 1. ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร 2. ตัวกลางค้านธุรกิจ เช่น พ่อค้าคนกลาง 3. ลูกค้า ความสัมพันธ์ของระบบย่อยในแนวราบ เป็นการรวมกิจกรรมของระบบย่อยที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน เช่นการดำเนินธุรกิจร้านขายอาหารที่เหมือนกัน และมีการกระจายออกไปเป็นหลาย ๆ สาขาด้วยกัน
การจัดการธุรกิจการเกษตร การจัดการธุรกิจการเกษตรมี 5 สาขา คือ 1. การวางแผน 2. การจัดองค์กร 3. การสั่งการ 4. การประสานงาน 5. การควบคุม
ความแตกต่างของการดำเนินธุรกิจ การเกษตรระหว่างประเทศ 2.1 ความไม่เท่าเทียมกันของปัจจัยการผลิต 2.2 ความแตกต่างทางด้านถูมิศาสตร์ 2.3 รสนิยมผู้บริโภค 2.4 ความต้องการบริโภคอาหารภายใน ประเทศมีปริมาณสูง
โครงสร้างการตลาดสินค้าเกษตรของไทย 1. ตลาดท้องที่ 2. ตลาดรวบรวมท้องถิ่น 3. ตลาดกลางปลายทาง 4. ตลาดขายปลีก
คนกลางในแต่ละระดับตลาด 1. คนกลางในตลาดท้องที่ 2. คนกลางในตลาดท้องถิ่น 3. คนกลางในตลาดกลางปลายทาง 4. คนกลางในตลาดขายปลีก