วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนเรื่องวงกลม โดยใช้ โปรแกรม The Geometer’ s Sketchpad (GSP) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ผู้วิจัย นางสาวอังสนา อุตมูล
ความเป็นมาและ ความสำคัญของปัญหา การวิจัยครั้งนี้เกิดจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ผู้วิจัยต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ คณิตศาสตร์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม การเรียนการสอนเรื่องวงกลม ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรขาคณิต ในการยกตัวอย่างต้องวาดรูป บนกระดานหรือใช้สื่อแสดงหน้าชั้นเรียน ถ้าครูวาดรูปวงกลมจากวงเวียนใหญ่ ก็จะทำให้เสียเวลาอีกทั้งจะต้องสอนเนื้อหาเดิมในคาบเรียนถัดไปก็จะต้อง วาดรูปเดิมซ้ำอีกทำให้น่าเบื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา โปรแกรม GSP สร้างสื่อการสอนเรื่องวงกลม เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะและ มองเห็นภาพได้ชัดเจน ภาพวงกลมที่สร้างโดยโปรแกรม GSP สามารถ เคลื่อนที่ได้ในการพิสูจน์ทฤษฎีบท และถ้าสงสัยเนื้อหาใด ก็สามารถ ย้อนกลับมาดูใหม่ได้เพื่อทบทวนบทเรียน ซึ่งโปรแกรม GSP เป็นสื่อ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง และเป็นการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นสื่อที่ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ ทักษะของกระบวนการ แก้ปัญหา นอกจากนี้การใช้โปรแกรม GSP ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เป็นการบูรณาการสาระที่เกี่ยวข้องกับความรู้คณิตศาสตร์ และทักษะด้าน เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน การที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้เรียนเกิด ความกระตือรือร้น และสนุกสนานในการทำกิจกรรม มีเจตคติที่ดีต่อวิชา คณิตศาสตร์ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนให้มีโอกาสพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ และนำความรู้ที่ได้ไป เชื่อมโยง การเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นสูงต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาสื่อการสอนเรื่องวงกลม โดยใช้ โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วงกลม โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s sketchpad (GSP) รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง ก่อนการใช้และหลังการใช้ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการ เรียนเรื่องวงกลม โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
วิธีดำเนินกา ร ประชากร / กลุ่มเป้าหมาย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของ โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 64 คน (3 ห้องเรียน ) 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จำนวน 23 คน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มา โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ชุดการสอนเรื่องรูปวงกลม โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์เรื่อง รูป วงกลม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบทดสอบก่อนเรียน 2. แบบทดสอบหลังเรียน 3. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP)
แผนการดำเนินการวิจัย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนด แผนการดำเนินการวิจัย ไว้ดังนี้ เดือน ปีกิจกรรม ธันวาคม 2559 เลือกนักเรียนแบบกลุ่ม 1 ห้อง ซึ่งได้มาจาก การสุ่มแบบเจาะจง ธันวาคม 2559 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ธันวาคม 2559 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน ธันวาคม 2559 แนะนำและสอนการใช้โปรแกรม GSP ใน การสร้างรูปเรขาคณิตเบื้องต้น 5 ครั้ง ๆละ 20 นาทีตอนพักกลางวัน ธันวาคม 2559 – มกราคม 256. ดำเนินการสอน เรื่อง รูปวงวงกลม โดยใช้ สื่อการสอนโปรแกรม GSP ใช้เวลา 13 ครั้ง ๆ ละ 20 นาที ตอนพักกลางวัน กุมภาพันธ์ 2560 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน เพื่อวัด ความสามารถเรื่อง รูปวงกลม โดยใช้ โปรแกรม GSP กุมภาพันธ์ 2560 วิเคราะห์และประเมินผล กุมภาพันธ์ 2560 สรุปผลการการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง รูป วงกลมโดยใช้โปรแกรม GSP
สรุป ผลการวิจั ย - สื่อการสอนเรื่องวงกลมโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เกี่ยวกับ ความตรงตาม หลักวิชา ความเหมาะสมในการจัดลำดับประสบการณ์ ความ สอดคล้องของสื่อการสอนโดยใช้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) กับเนื้อหา ความต่อเนื่อง ของเนื้อหาในบทเรียน ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ความเหมาะสมของขนาดและความชัดเจนของตัวอักษร อยู่ ในระดับมากที่สุด สำหรับเทคนิคการนำเสนอมีความ เหมาะสมและเร้าความสนใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก และโดยภาพรวมของระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะ อยู่ในระดับ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเรื่องวงกลม มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยมีค่า 87.33/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการ เรียนโดยใช้สื่อการสอนเรื่องวงกลมมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้สื่อการสอนเรื่องวงกลม สูงกว่าก่อนใช้สื่อ - ผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการ เรียนโดยใช้สื่อการสอนเรื่องวงกลมพบว่านักเรียนมีความ คิดเห็นที่ดีเกี่ยวกับการเรียนโดยใช้สื่อการสอนเรื่องวงกลม โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP)