โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านดอนยม หมู่ที่ 7 ตำบลท่าขอนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติบ้านดอนยม บ้านดอนยม จัดตั้งขั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2467 โดยการนำของนายคูณ และนายกองได้พาลูกหลานมาจากบ้านดอนวียงจันทร์ ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม มาตั้งบ้านเรือนทางตะวันออกของป่าดอนยม นอกจากนี้ นางจันทร์ นายนำ นายแสง นางคำ นายเนียม นายวัน ได้พากันถือเอาบริเวณสวนเก่าซึ่งมีความรกร้างมาปลูกบ้านเรือนติดต่อกัน ซึ่งการตั้งหมู่บ้านครั้งแรกมีบ้านเรือนทั้งหมด 18 หลัง และเนื่องจากมีต้องมะยมมากจึงได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านดอนยม”
ข้อมูลทั่วไป บ้านดอนยมมีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 1,180 ไร่ ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 92 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากร 360 คน เป็นชาย 189 หญิง 171 ซึ่งมีการประกอบอาชีพต่างๆ ดังนี้ ทำนา 56 ครัวเรือน ค้าขาย 10ครัวเรือน รับราชการ 24 ครัวเรือน ช่าง 11 ครัวเรือน
การปกครอง บ้านดอนยมมีผู้ใหญ่บ้านปกครองจากอดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 7 คน คือ 1. ผู้ใหญ่ทำ เหล่าสมบัติ 2. ผู้ใหญ่เคน 3. ผู้ใหญ่สิม วรรณภักดี 4. ผู้ใหญ่ดำ จันทร์หาญ 5. ผู้ใหญ่จันทร์ สุทธิ 6. ผู้ใหญ่สามารถ ศรียศ 7. ผู้ใหญ่สถิตย์ แพงจันทร์ (คนปัจจุบัน)
คุ้มจันทร์หอม 32 ครัวเรือน คุ้มตูมหวาน 18 ครัวเรือน บ้านดอนยมมีคณะกรรมการหมู่บ้าน 13 คน ซึ่งจะแบ่งการปกครองออกเป็น 4 คุ้ม คือ คุ้มจันทร์หอม 32 ครัวเรือน คุ้มตูมหวาน 18 ครัวเรือน คุ้มไผ่ล้อม 18 ครัวเรือน คุ้มดอนยม 24 ครัวเรือน
สภาพเศรษฐกิจ ชาวบ้านดอนยมมีรายได้เฉลี่ย 34,534 บาท/คน/ปี โดยในครัวเรือนมีการออมทรัพย์ร้อยละ 100 ของครัวเรือนทั้งหมด มีผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและภายนอกชุมชน ได้แก่ ข้าวเปลือก ผ้าฝ้าย เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปลากดุก กบ ไก่ และมีหอพักที่ดำเนินการโดยคนในชุมชน 2 หลัง และบ้านเช่าอีก 1 หลัง
กลุ่มกิจการหมู่บ้าน มีจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้ มีจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้ 1.ร้านค้าชุมชน จำนวนสมาชิก 107 คน โดยมีนายโรมรัน เหล่าสมบัติ เป็นประธาน
2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิกทั้งหมด 143 คน โดยมีนายสถิต แพงจันทร์ เป็นประธาน 3. กลุ่มอาชีพเลี้ยงปลา มีสมาชิกจำนวน 56 คน โดยมีนายสมร นครเรียบ เป็นประธาน 4. กลุ่มอาชีพเลี้ยงกบ มีสมาชิกจำนวน 56 คน โดยมีนายทองสุข ชาภูคำ เป็นประธาน 5. กลุ่มอาชีพเลี้ยงไก่ มีสมาชิกจำนวน 30 คน โดยมีนายบุญศรี เนื่องวงษา เป็นประธาน 6. กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านดอนยม ทอผ้า มีจำนวนสมาชิกจำนวน 48 คน โดยมีนางบุญรอด ละอองคำ เป็นประธาน
กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 143 คน สัจจะรายเดือน 10,220 บาท เงินสัจจะสะสมทั้งสิ้น 329,503 บาท กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีสมาชิกจำนวน 105 คน ร้านค้าชุมชนมีสมาชิก 107 คน มีการปันผลทุก 6 เดือน
ศาสนาและประเพณี ชาวบ้านดอนยมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง คือ วัดบ้านดอนยม ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีพระสงฆ์จำนวน 4 องค์ โดยมีอธิการม้อง จันทะโร เป็นเจ้าอาวาสวัด ในด้านประเพณีชาบ้านดอนยมปฏิบัติตามฮีต 12 ครอง 14
ดอนปู่ตา ดอนปู่ตาของหมู่บ้านดอนยม ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2488 ซึ่งตั้งหลังจากก่อตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านมีความเชื่อว่าดอนปู่ตานั้นจะรักษาบ้าน และจะมีการเลี้ยงปู่ตาในเดือนสามของทุกปีก่อนที่จะทำนา
6. พ่อใหญ่วิเชียร ชาภูคำ คนปัจจุบัน ปู่จั้มของหมู่บ้านดอนยมจากอดีตถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 6 คน 1. พ่อใหญ่เจ้ย 2. พ่อใหญ่จารย์ยา 3. พ่อใหญ่จารย์สิม 4. พ่อใหญ่จารย์อ้วย 5. พ่อใหญ่พรม 6. พ่อใหญ่วิเชียร ชาภูคำ คนปัจจุบัน
พ่อใหญ่วิเชียร ชาภูคำ อายุ 67 ปี เกิดวันที่ 14 มีนาคม พ. ศ พ่อใหญ่วิเชียร ชาภูคำ อายุ 67 ปี เกิดวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2482 บ้านเลขที่ 4 บ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นปู่จั้มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 – 2549 เป็นเวลา 21 ปี
ผลิตภัณฑ์
โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริม กลุ่มทอผ้า โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริม กลุ่มทอผ้า ประวัติความเป็นมา กลุ่มพัฒนาอาชีพ ทอผ้า ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 11 หมู่ที่ 7 บ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดประชุมขึ้นเพื่ออยากให้มีการพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มสตรีแม่บ้าน เพื่อเสริมรายได้ จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมา และได้รับทุนสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตแคนานา ปัจจุบันมีสมาชิก 48 คน
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม 1. เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม 2. เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างประสบการณ์ของสมาชิกได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ 3. เพื่อหางบประมาณสนับสนุนในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานและพัฒนาอาชีพต่างๆ และหาทุนหมุนเวียนบริหารจัดการกลุ่ม ให้กลุ่มมีความเข้มแข็งและมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
นางบุญรอด ละอองคำ ประธานกลุ่มทอผ้า บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 7 บ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
อุปกรณ์ 1. กี่ทอผ้า
2. ฟันหวี หรือฟืม
3. ไม้เหยียบหูก
4. อั๊ก
5. ไน
6. กระสวย
7. หลอดด้าย
8. กง
ขั้นตอนการผลิต 1. กวักด้ายใส่อั๊ก
2. สืบหลักค้น 3. สืบด้ายใส่ฟืม
4. สืบด้ายเสร็จแล้ว นำฟืมมาใส่กี่ทอผ้า 5. ปั่นด้ายใส่หลอดด้าย
6. นำหลอดด้ายใส่กระสวย 7. แล้วจากนั้นนำไปทอผ้าได้
ผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
ผ้าที่ทอแล้วนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
นางสาวเพ็ญพักตร์ คณะมะ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิศาสตร์ โดย นางสาวเพ็ญพักตร์ คณะมะ 464303102 โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิศาสตร์