งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการการเงินชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการการเงินชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการการเงินชุมชน
กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์จัดการ กองทุนชุมชน กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ

2 ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้
กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้ ประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจการตรวจสุขภาพ ทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต วัตถุประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้มีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลโปร่งใส ตรวจสอบได้ วิธีการ แต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพจังหวัดทีมละ 3 คน (เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ และคณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต)

3 กลุ่มเป้าหมาย : ทีมตรวจสุขภาพทางการเงิน จำนวน 40 คน
หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พื้นที่ดำเนินการ : สถานที่เอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (พฤศจิกายน 2561) จำนวน 1 วัน ข้อปฏิบัติสำหรับอำเภอ - ทบทวน ตรวจสอบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอ ว่าหมดอายุแล้วหรือไม่ หากหมดอายุแล้ว ให้ดำเนินการแต่งตั้งขึ้นใหม่ แล้วส่งสำเนาคำสั่งให้จังหวัด

4 กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน
ประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1.2 เวทีส่งเสริมการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต วิธีการ 1. ทีมตรวจสุขภาพระดับจังหวัด (ทีมละ 3 คน) ดำเนินการจัดเวทีการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด 2. ทีมตรวจสุขภาพฯ สรุปผลตามแบบรายงานที่กรมฯ กำหนด (ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น)

5 กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
จำนวน 694 กลุ่มๆละ 10 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (ธันวาคม 2561) จำนวน 1 วัน

6 ประกอบด้วย โครงการ ดังนี้
กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ประกอบด้วย โครงการ ดังนี้ 2. รักษามาตรฐานการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต วัตถุประสงค์ : เพื่อรักษามาตรฐานการบริหารจัดการการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามหลักธรรมาภิบาล วิธีการ 1.ทบทวนแผนการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่ได้รับงบประมาณตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (กิจกรรมการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่ระดับมาตรฐาน SMART Saving Group) *** บุรีรัมย์มีเป้าหมาย 65 กลุ่ม 2. จัดทำแผนการจัดเวทีประเมินผลการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

7 กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
3. จัดเวทีประเมินผลการพัฒนากลุ่มฯ กลุ่มละ 12 คน โดยใช้หลักเกณฑ์การแยกประเภทเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 10 ข้อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลฯ 4. จากข้อ 3 กลุ่มฯ ที่ยังไม่ผ่านการประเมินฯ ให้จัดทำแผนและดำเนินการพัฒนาในข้อที่ยังไม่ผ่าน กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 65 กลุ่มๆละ 12 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (ธันวาคม 2561) จำนวน 1 วัน

8 กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน
3. เพิ่มศักยภาพคณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทบทวนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมฯ ส่งเสริมสนับสนุน และสามารถปฏิบัติตามระเบียบฯ ที่กำหนดไว้ วิธีการ คัดเลือกคณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน ที่มีการประเมินผลการพัฒนากิจกรรมหมู่บ้าน กข.คจ. ในระดับที่ 3 (ปี 2561) * บุรีรัมย์มีฐานข้อมูล 623 หมู่บ้าน โดยให้คัดเลือกครอบคลุมในพื้นที่หลายๆหมู่บ้านๆละ 1-3 คน

9 กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการ กข.คจ. อำเภอๆละ 13 คน
หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (ธันวาคม 2561) จำนวน 1 วัน

10 กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน
4. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่ระดับมาตรฐาน SMART Saving Group วัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้รับการพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานและมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล วิธีการ จังหวัดและอำเภอร่วมกันพิจารณาคัดเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลการประเมินการจัดระดับการพัฒนาอยู่ในระดับ 2-3 ที่ยังไม่ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการฯ และพร้อมจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนา

11 กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มละ 12 คน (จำนวน 45 กลุ่ม)
หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 2 (มกราคม 2562) จำนวน 1 วัน

12 ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้
กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้ 2.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารจัดการหนี้ วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชนแก่ผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ให้สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา 2. เพื่อพัฒนาและสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในเรื่อง การบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา

13 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
กลุ่มเป้าหมาย : 184 คน ประกอบด้วย 1. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ๆละ 1 คน = 23 คน 2. คณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชน อำเภอละ 3 คน = 69 คน 3. คณะทำงานกองทุนชุมชน อำเภอละ 2 คน = 46 คน 4. คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อำเภอละ 1 คน = 23 คน 5. คณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) อำเภอละ 1 คน = 23 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พื้นที่ดำเนินการ : สถานที่เอกชนในเขตพื้นที่จังหวัด ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (พฤศจิกายน 2561) จำนวน 1 วัน

14 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
2.2 ศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบริหารจัดการหนี้ “สำนึกดี แผนดี บริหารหนี้ได้” วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการเงินในการบริหารจัดการหนี้และ สร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน 2. เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา

15 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
กลุ่มเป้าหมาย : ครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นหนี้ที่ได้รับการคัดเลือกและ ลงทะเบียนครัวเรือนกับคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุน ชุมชนแห่งละ 30 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งของศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 2 (กุมภาพันธ์ 2562) จำนวน 3 วัน ประกอบด้วย อำเภอเมืองบุรีรัมย์(2) อำเภอกระสัง อำเภอชำนิ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอนางรอง(2) อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอพลับพลาชัย (2) อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอประโคนชัย อำเภอปะคำ อำเภอพุทไธสง(2) อำเภอละหานทราย อำเภอลำปลายมาศ (2) อำเภอสตึก อำเภอหนองกี่ อำเภอห้วยราช และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวม 22 แห่ง

16 ข้อสังเกต : ฐานข้อมูลลูกหนี้อำเภอไม่เป็นปัจจุบัน
กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 3 (เมษายน 2562) จำนวน 3 วัน ได้แก่อำเภอหนองหงส์ อำเภอบ้านด่าน อำเภอแคนดง อำเภอคูเมือง อำเภอบ้านกรวด และอำเภอโนนดินแดง รวม 6 แห่ง ข้อสังเกต : ฐานข้อมูลลูกหนี้อำเภอไม่เป็นปัจจุบัน

17 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
2.3 ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการบริหารจัดการทุนชุมชนและการพัฒนาอาชีพหมู่บ้านทุนชุมชนขยายผลตามแนวพระราชดำริ วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านทุนชุมชนได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในการพัฒนาทุนชุมชนของหมู่บ้านและการพัฒนาอาชีพ สามารถบริหารจัดการทุนชุมชน บูรณาการทุนชุมชนให้เหมาะสมเกิดประโยชน์กับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

18 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
วิธีการ จังหวัดคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในหมู่บ้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 1 หมู่บ้าน - ส่งเสริมการบริหารจัดการทุนชุมชนและการพัฒนาอาชีพหมู่บ้านทุนชุมชนโดยการวิเคราะห์ทุนชุมชน เพื่อคัดเลือกกิจกรรมแก้ปัญหาของชุมชน เพื่อส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพภายใต้โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ 8 ด้าน มาปรับใช้ กลุ่มเป้าหมาย : ผู้นำหมู่บ้าน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 30 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (ตุลาคม 2561-ธันวาคม 2561) จำนวน 2 วัน

19 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
2.4 ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการดำเนินงานธุรกิจชุมชน วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สามารถหนุนเสริมธุรกิจชุมชน

20 กิจกรรมย่อยที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และ หนุนเสริมสัมมาชีพ
วิธีการ จังหวัดคัดเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ดำเนินงานตามแนวทางของกรมฯ ที่เข้มแข็ง ดำเนินการครบตามหลักเกณฑ์ 10 ข้อ และมีแผนในการดำเนินกิจกรมเครือข่ายธุรกิจชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม - ดำเนินการจัดเวทีค้นหาศักยภาพ และจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานเสนอจังหวัด เพื่ออนุมัติ กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 40 คน หน่วยดำเนินการ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่ตั้งที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระยะเวลาดำเนินการ : ไตรมาส 1 (ธันวาคม 2561) จำนวน 1 วัน


ดาวน์โหลด ppt โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการการเงินชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google