การเปรียบเทียบความคงทนในบทเรียนระหว่าง วิธีการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับวิธีการแบบบรรยาย นุชดา ลาทอง
ที่มาและความสำคัญของปัญหา ผู้สอนใช้วิธีบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการสอนเรื่องความรู้เบื้องต้นในวิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อมีการทดสอบท้ายหน่วย ผู้เรียนสามารถทำข้อสอบท้ายหน่วยผ่านทุกคน เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ผู้เรียนมักจะลืมและไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วได้ แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนไม่สามารถจดจำในสิ่งที่ผู้สอนสอนได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเองโดยอาศัยประสบการณ์เดิม ให้โอกาสผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ตรงกับบุคคลอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสังคมของการเรียนรู้ สอดคล้องกับแนวคิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ที่อธิบาย ความรู้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอด แต่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างความรู้อย่างตื่นตัว
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในบทเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับวิธีการบรรยายและยกตัวอย่างประกอบ วิธีการจัดการเรียนรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง บรรยายและยกตัวอย่าง ความคงทนในบทเรียน
สมมติฐานในการวิจัย ผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีคะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการบรรยายและยกตัวอย่างประกอบ
ขั้นตอนการวิจัย กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา วิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์” จัดทำแผนการเรียนรู้ และแบบทดสอบหลังเรียน กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุม เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบบรรยายและยกตัวอย่างประกอบ คือ นักเรียนระดับชั้น ปวช. ปีที่ 3 ห้อง 4 สาขางานคอมพิวเตอร์ จำนวน 35 คน กลุ่มทดลอง เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง คือ นักเรียน ระดับชั้น ปวช. ปีที่ 3 ห้อง 3 สาขางานคอมพิวเตอร์ จำนวน 34 คน
ขั้นตอนการวิจัย
ผลการวิจัย
ขอบคุณค่ะ