นางสาวทิพย์วรรณ จะปูน วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร เชียงใหม่ การใช้บทเรียนสำเร็จรูป แก้ปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นางสาวทิพย์วรรณ จะปูน วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร เชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย จากสภาพการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นั้น มีนักศึกษาบางกลุ่มที่มีความสนใจเรียน และบางกลุ่มที่ไม่ค่อยสนใจ อันด้วยวิธีสอนหรือสื่อที่นำมาจัดการเรียนการสอน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ส่งผลให้นักศึกษาส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้สอน รายวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาหารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณภาพการเรียน โดยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 87 คน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 แผนกวิชา ช่างยนต์ ห้อง 101 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 28 คน มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (sample random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยดังนี้ 1. บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2. แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการใช้การวิเคราะห์โดยวิธีการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป (E1 / E2 โดยตั้งไว้ที่ 80/80)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) จากตารางที่ 1 แสดงว่าค่าประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป รายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 แผนกวิชาช่างยนต์ (กลุ่มตัวอย่าง) เป็น 80.60/84.80 แสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูป มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้
สรุปผลการวิจัย การใช้บทเรียนสำเร็จรูป แก้ปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัยปีที่ 1 แผนกวิชาช่างยนต์ (กลุ่มตัวอย่าง) ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป รายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็น 80.60/84.80 แสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปสามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้