ผู้วิจัย นางสาวนิตญา จุทาชื่น วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติที่มี ต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่องสถิติ ของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.1 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) กับที่เรียนจากการสอนแบบปกติ ผู้วิจัย นางสาวนิตญา จุทาชื่น วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ
ปัญหาการวิจัย นักเรียนจำนวนไม่น้อยเบื่อหน่ายการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ค่อยตั้งใจ สนใจเรียนไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่นักเรียนมักจะมีเจตคติไม่ดี ต่อวิชาคณิตศาสตร์จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ความรู้ที่นักเรียน ได้รับมิใช่มาจากครูแต่ผู้เดียว แต่สามารถเรียนรู้จากเพื่อนนักเรียนด้วยกัน เพราะนักเรียนด้วยกันย่อมประสบปัญหาในการเรียนคล้าย ๆ กัน เมื่อผู้หนึ่ง เริ่มเรียนรู้ เริ่มเข้าใจ ก็สามารช่วยเหลือเพื่อนได้ว่าปัญหาขัดข้องอยู่ที่ใด ผู้อื่นที่สามารถข้ามพ้นปัญหานี้ได้จะเห็นว่าการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน นั้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนที่มีระดับความรู้ที่แตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ ประสบการณ์อย่างเดียวกันได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในหลายสถานะ แทนที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จาก ครู คนเดียวก็ได้เรียนรู้จากแหล่งอื่นด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของครู เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทำงานเป็นหมู่คณะ
ตารางหรือผังสรุปสำคัญ สูตรคำนวณ t = การหาค่า E 80 /80
t คำนวณ = 13.22 t ตาราง ( จากการเปิดตารางวิกฤติที) ระดับ .01 เท่ากับ 2.457 ดังนั้นค่า t ที่คำนวณได้ 13.22 ค่าวิกฤติของ t ตารางที่ระดับนัยสำคัญ .01 แสดงว่า Posttest มากกว่า Pretest จากการใช้นวัตกรรมนี้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 งานวิจัยนี้จึงถือว่าเป็นไปตามสมมุติฐาน สรุปว่านวัตกรรมนี้ใช้ได้ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 81.90 ประสิทธิภาพของผลโดยรวม (E2) เท่ากับ 83.03 ดังนั้นดัชนีประสิทธิภาพจึงเป็น 81.90 / 83.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
สรุปผลการวิจัย ผลการสร้างแผนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่อง สถิติ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 1 กับกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.90 / 83.03 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเจตคติ พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อนมีค่าเฉลี่ยเจตคติที่มีต่อการเรียนสูงกว่าที่เรียนจากการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลกระทบหรือประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ผลกระทบจากการศึกษาวิจัย ประโยชน์จากการศึกษาวิจัย นักเรียนส่วนน้อยที่จะสอนเพื่อนให้ เข้าใจได้ ทดลองกับนักเรียนในสถานศึกษาอื่น ๆ ใช้ทดลองกับเนื้อหารายวิชา อื่นๆ นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น นักเรียนมีความรักและสามัคคีในกลุ่ม สร้างความกระตือรือร้นในการเรียน