การกำหนดสัญลักษณ์และเลขลำดับ
การใช้คำสั่ง <UL> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการแบบไม่มีเลขลำดับ (Unorder List หรือ Bullet List) รูปแบบ <ul>..............หัวเรื่อง............... <li> ข้อความ..................</li> <li> ข้อความ.................. </li> <li> ข้อความ.................. </li> </ul>
การใช้คำสั่ง <UL> คำสั่งเพิ่มเติม type เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบหัวข้อเป็นแบบอื่นๆ <ul type=“ชนิดของเครื่องหมาย”>.................หัวเรื่อง............... <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. </ul> disc คือ วงกลมทึบ (ค่าปกติ) circle คือ วงกลมโปร่ง square คือ สี่เหลี่ยมทึบ
การใช้คำสั่ง <OL> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยใช้ตัวเลขเรียงลำดับ (Order List หรือ Number List) <ol type=“ชนิดของการเรียง” start=“เริ่มต้น”>หัวเรื่อง <li> ข้อความ <li> ข้อความ <li> ข้อความ </ol> 1 หมายถึง ตัวเลขอารบิค (ค่าปกติ) A หมายถึง ตัวพิมพ์ใหญ่ a หมายถึง ตัวพิมพ์เล็ก I หมายถึง ตัวเลขโรมันพิมพ์ใหญ่ i หมายถึง ตัวเลขโรมันพิมพ์เล็ก
การใช้คำสั่ง <DL> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยกำหนดหัวข้อหรือข้อความ (Definition List) <dl>................หัวข้อเรื่อง............... <dt> หัวข้อ....... <dd> คำอธิบาย..... <dt> หัวข้อ....... <dd> คำอธิบาย..... <dt> หัวข้อ....... <dd> คำอธิบาย..... </dl>
การใช้คำสั่ง <DIR> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการแบบไดเรกทอรี (Directory List) ใช้สำหรับแสดงหัวข้อสั้นๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษร ไม่มีการเรียงลำดับรายการ และไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้าข้อความ <dir>.................หัวข้อเรื่อง............... <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. </dir>
การใช้คำสั่ง <menu> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการแบบเมนูลิสต์ (Menu List)รูปแบบการใช้งานให้ผลเหมือนกับการใช้คำสั่ง dir <menu>.................หัวข้อเรื่อง............... <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. <li> ข้อความ.................. </menu>