การศึกษากิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจต่อการเรียน งานวิจัยเรื่อง การศึกษากิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจต่อการเรียน วิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี รหัส วิชา 3000-1307 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง ชั้น ปวส.1 สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม ผู้วิจัย นาย สุรศักดิ์ ว่องวิทย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง
ปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยได้พบว่าในปีที่ผ่านมานักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ใน การเรียนวิชาชีวิตและวัฒนธรรมไทยไม่ดีนัก จากข้อมูล เบื้องต้นทราบว่านักศึกษาขาดความสนใจ ชอบคุยเล่นและไม่ มีสมาธิกับบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียน ผู้วิจัยจึงหาวิธี แก้ปัญหาโดยการศึกษากิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจต่อ การเรียนวิชาชีวิตและวัฒนธรรมไทย
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ป.ว.ส. 1 ) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง มี แรงจูงใจในการเรียนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีให้มี ผลการเรียนที่ดีขึ้น 2. เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนในชั้นเรียน
นักศึกษา ปวส.1 สาขาเทคนิคอุตสาหกรรม กรอบแนวคิดงานวิจัย ตัวแปรต้น นักศึกษา ปวส.1 สาขาเทคนิคอุตสาหกรรม ตัวแปรตาม 1. แรงจูงใจภายนอกการได้รับคำชมเชย การได้รับการยอมรับการได้รับรางวัล แรงจูงใจภายในความสนใจความ ตั้งใจและความพึงพอใจ
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ป.ว.ส. 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่งภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สาขาเทคนิคอุตสาหกรรมจำนวน 28 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มเดียวกับ ประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การส่งเสริมแรงจูงใจต่อการเรียนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีโดย การใช้เครื่องมือแบบตารางบันทึกคะแนนกิจกรรมพิเศษ ( ผลงาน/ชิ้นงาน ) โดยใช้ เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคและการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้โปรแกมสำเร็จรูป
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยของคะแนนกิจกรรมที่ 1 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลำดับที่ คะแนน ( X ) คะแนนเฉลี่ย ( ) 1 16 4.00 2 14 3.50 3 15 3.75 4 - 28 รวม 104 ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยสะสม = 104 ผลคะแนนเฉลี่ยของห้อง = 3.71
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของคะแนนกิจกรรมที่ 2 สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต ลำดับที่ คะแนน ( X ) คะแนนเฉลี่ย ( ) 1 15 3.75 2 14 3.50 3 16 4.00 4 - 28 รวม 104 ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยสะสม = 104 ผลคะแนนเฉลี่ยของห้อง = 3.71
สรุปผลการวิจัยพบว่า 1. จากกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจที่มอบให้นักศึกษาทำผลงาน/ชิ้นงานโดยใช้เกณฑ์การประเมินจากองค์ประกอบที่ประเมินด้านภาษา/ สื่อ ตัวอย่างพบว่าคะแนนสูงสุดระดับ 3.75 คะแนนต่ำสุด 3.50 ระดับคะแนนเฉลี่ยของห้องอยู่ในระดับ 3.71 พบว่าผลงาน/ชิ้นงานอยู่ในระดับดี 2. จากการสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมพิเศษกิจกรรมที่ 1เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้เทคโนโลยีพบว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับดี มีความรับผิดชอบทำงานตรงเวลากิจกรรมที่ 2 เรื่องสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิตพบว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับดี มีความรับผิดชอบทำงานตรงเวลา มีความพอใจที่ดีก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนในชั้นเรียน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ครูผู้สอนสามารถนำเทคนิคของการส่งเสริมแรงจูงใจโดยการ นำกิจกรรมพิเศษมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ ได้และเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน 2. ในการวิจัยครั้งต่อไปถ้าต้องการศึกษากับกลุ่มประชากรที่ซับซ้อนกว่านี้ เช่นนักเรียนปวช.ระดับพานิชการหรือระดับช่างอุตสาหกรรมที่มีความหลายหลายของกลุ่มประชากร การพัฒนาค่าสถิติอี่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้การทำการวิจัยมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการที่ผู้วิจัยได้ใช้กิจกรรมพิเศษมาจัดการเรียนการสอนทำให้เกิดผลกระทบคือ นักศึกษามีความสนใจในการศึกษาและเรียนรู้วิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีมากขึ้น โดยได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและสามารถแบ่งปันให้กลุ่มได้เรียนรู้ด้วย ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่ผู้วิจัยประสบคือครูผู้สอนได้พยายามศึกษาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ เทื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น