วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยาม ในพระอุปถัมภ์ฯ การพัฒนาการเรียน การสอน วิชากลยุทธ์การตลาดตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กลุ่ม 7051 โดย อาจารย์บุปผาภรณ์ บูรณะพิมพ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยาม ในพระอุปถัมภ์ฯ
ปัญหาการวิจัย การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อ ที่ว่าการจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองอย่างสูงสุดตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง และการแสดงผลการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ะคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าครู ยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป (การจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล http://library.vu.ac.th/km/?p=492 หัวข้อหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ) Posted on มิถุนายน 18, 2012 by admin
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน วิชากลยุทธ์การตลาดตามความคิดเห็นของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กลุ่ม 7051 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยามในพระอุปถัมภ์ สมเด็จเจ้าพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริ โสภาพรรณวดี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ด้านผู้สอน ในหัวข้อมีการค้นคว้าองค์ความรู้เพิ่มเติมในการสอนเป็นอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.67 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .485 อันดับที่สอง ได้แก่ ใช้คำถามที่ช่วยให้เกิดความกระตือตือร้น และมีส่วนร่วมในการเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.67 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .485 อันดับที่สาม ได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.44 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .616 อันดับที่สี่ ได้แก่ มีความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.33 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .594 อันดับที่ห้า ได้แก่ มีการเตรียมตัวและวางแผนในการสอนเป็นขั้นตอน มีค่าเฉลี่ย 4.22 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .548
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหาการสอน เป็นอันดับที่ 1 ได้แก่ เนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถไปประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาอื่นได้ มีค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .511 อันดับที่สอง ได้แก่ เนื้อหาวิชาที่เรียนมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพได้ อันดับที่สาม ได้แก่ เนื้อหาวิชาก่อให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรที่ดี ค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .511 อันดับที่สี่ ได้แก่ เนื้อหาการสอนมีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย 4.50 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .514 อันดับที่ห้า ได้แก่ นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ใหม่จากเนื้อหาวิชาค่าเฉลี่ย 4.33 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .485
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน เป็นอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.50 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .618 อันดับที่สอง ได้แก่ นักศึกษาได้ฝึกการทำงานเป็นทีม ค่าเฉลี่ย 4.50 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .618 อันดับที่สาม ได้แก่ นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย 4.39 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .502 อันดับที่สี่ ได้แก่ นักศึกษาได้รับการฝึกทักษะการคิดและการแก้ปัญหาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่าเฉลี่ย 4.28 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .752 อันดับที่ห้า ได้แก่ นักศึกษาได้รับความรู้และเข้าใจในเรื่องที่เรียน มีค่าเฉลี่ย 4.22 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน .428
สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชากลยุทธ์ การตลาดตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กลุ่ม 7051 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยาม ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จเจ้าพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านเนื้อหา การสอน และด้านผู้เรียน นั้น ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชากลยุทธ์การตลาดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ