นายทศพิธ แป้นดวงเนตร วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีธนาพณิชยการ เชียงใหม่ ชื่อเรื่องวิจัย “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรการท่องเที่ยวของภาคใต้โดยใช้ผังความคิด (Mind Mapping) วิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคใต้ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 2/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556” นายทศพิธ แป้นดวงเนตร วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีธนาพณิชยการ เชียงใหม่
ทำไมจึงต้องทำวิจัยในครั้งนี้ ? 1. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าใจ เนื้อหาและจำเนื้อหาไม่ได้ เพราะ ข้อมูลมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากนักเรียนขาดทักษะในการจัดระบบความคิด ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนจึงต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนำการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความคิด (Mind Mapping) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอันจะนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรการ ท่องเที่ยวของ ภาคใต้โดยใช้ผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 2/6
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าค้นพบและ สร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความรับผิดชอบรู้จัก บทบาทและหน้าที่ของตนเอง ผู้สอนได้เทคนิควิธีการจัดการ เรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผ่านการทดลองวิจัยแล้วมาใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
กรอบแนวคิดการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน สูงขึ้น ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน สูงขึ้น
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ขอบเขตการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้น ปวช.2/7 สาขาการท่องเที่ยว จำนวน 18 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความคิด (Mind Mapping) ตัวแปรตาม ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสูงขึ้น เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องทรัพยากรการท่องเที่ยวของภาคใต้รายวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคใต้ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังความคิด ละพอ ทับทิม (2546) และ ปฐมาธิดา นาใจคง (2544) ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานและแนวคิดของ Buzan (2001) แล้วนำเสนอวิธีจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดย ใช้แผนที่ความคิด โดยจัดลำดับขั้นตอนในการจัดการ เรียนการสอนไว้ดังนี้ สร้างแผนที่ความคิดเกี่ยวกับบทเรียนที่จะสอนผู้เรียน เขียนแผนการสอนประกอบด้วยสาระสำคัญ ผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ (ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป) สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมี 3 ขั้น คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศศิธร หาคำ (2548) การศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้ เทคนิคการคิดแบบ Mind Map ดริญญา มูลชัย (2553) การศึกษาเรื่อง การใช้แผนผังความคิดเพื่อผลสัมฤทธิ์ใน การเรียนวิชาสารเคมีสำหรับยาง ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับผังความคิด วางแผนการจัดทำโครงเรื่องวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นเตรียม ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับผังความคิด วางแผนการจัดทำโครงเรื่องวิจัย กำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการทำผังความคิด 1 ฉบับ ใบงานทดสอบการปฏิบัติการทำผังความคิด 1 ฉบับ แบบประเมินการทำใบงาน 1 ฉบับ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 1 ฉบับ
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) ขั้นดำเนินการ นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้สอน นักเรียนระดับชั้น ปวช. 2/6 สาขาวิชา งานการท่องเที่ยว ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2556 สัปดาห์ที่ 4 จำนวน 6 ชั่วโมงตามขั้นตอนที่กำหนด ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการทำผัง ความคิด วัดความรู้ ความเข้าใจ ผลงานและ พฤติกรรมการทำงาน เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ ในแผนการจัดการเรียนรู้สุดท้ายของหน่วย เรียนที่ 2 เรื่อง ทรัพยากรการท่องเที่ยว ของภาคใต้ ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้นักเรียนทำแบบทดสอบความรู้ความ เข้าใจ
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) การเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินการทำงาน ใบงานทดสอบการปฏิบัติการทำผังความคิด 1 ฉบับ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาค่าร้อยละ และประเมินโดยใช้ระดับคุณภาพ