ทักษะการปฏิเสธ หลักการปฏิเสธ ๑) ควรปฏิเสธด้วยคำพูด น้ำเสียง ท่าทางที่จริงจังแต่มีความสุภาพ เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการปฏิเสธ
๒) แสดงความรู้สึกและพฤติกรรมประกอบไปกับเหตุผล ๓) การขอความเห็นส่วนร่วมกับการแสดงการขอบคุณ การขอโทษ เพื่อรักษาน้ำใจและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ๔) มีสมาธิในการปฏิเสธเมื่อถูกรบเร้าไม่ควรหวั่นไหวหรือลังเล ควรยืนยันการปฏิเสธ และหาทางออกโดยวิธีการดังนี้
-ควรปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งกล่าวคำอำลา โดยไม่ฟังคำพูดอื่นใดอีก เพื่อไม่ให้เกิดความลังเลใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง -มีการต่อรองหรือผัดผ่อน โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน -มีการผัดผ่อน โดยยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนใจ ๔.๓ การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ
๑) ไม่ชอบหรือไม่ต้องร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธ ๒) เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเสีย ๓) เมื่อรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นเสี่ยงต่อตนเอง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ ดังกล่าวนั้น
๔.๔ ประโยชน์ของการปฏิเสธ ๑) เป็นการแสดงสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลต่อการแสดงความรู้สึกไม่พอใจความขัดแย้งของตนเอง ต่อผู้อื่นโดยไม่เสียสัมพันธภาพ ๒) ทำให้เกิดความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดความสูญเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ๓) เป็นการระงับความขัดแย้งหรือเพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันให้คงอยู่
๔) ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานการณ์เสี่ยงต่อสุขภาพและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการใช้ทักษะการปฏิเสธ บอยมาหาบีที่บ้านเพื่อช่วยกันทำรายงาน หลังทำรายงานเสร็จบอยจึงใช้คำพูดขอหอมแก้มบีและบอกว่ารักบีมาก บอย: “เราขอหอมแก้มบีได้มั้ย บอยรักบีนะ” บี: “บีว่าอย่าดีกว่านะ มันไม่เหมาะสม เพราะเรายังเด็กกันอยู่ อย่าทำอะไรแบบนี้
บอย: “บีไม่รักบอยเหรอ” บี: “บีก็รักบอย แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา เราควรเป็นเพื่อนกันไปก่อน และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เรียนหนังสือให้จบ มีงานทำและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ นั่นคือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้” บอย: “บอยขอโทษ ต่อไปบอยจะไม่ทำอย่างนี้อีก”