งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทเรียนโปรแกรม Power Point

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทเรียนโปรแกรม Power Point"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทเรียนโปรแกรม Power Point
การใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ ผู้สอน ครูศิริพรรณ รักร่วม

2 ความหมายของการโน้มน้าวใจ
หมายถึง การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ และการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสม จนเกิดการยอมรับ และยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ

3 ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ กับการโน้มน้าวใจ
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นตัวการทำให้มนุษย์สร้างทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตน

4 ตัวอย่าง ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
ตัวอย่าง ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ - ต้องการอาหาร - ต้องการความมั่นคงในชีวิต - ต้องการความรัก ฯลฯ

5 กลวิธีการโน้มน้าวใจ สามารถสรุปได้ ดังนี้
สามารถสรุปได้ ดังนี้ แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน

6 กลวิธีการโน้มน้าวใจ(ต่อ)
๔. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย ๕. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร ๖. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เพื่อให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น

7 ข้อสรุปของการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจมิใช่การเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม ด้วยวิธีขู่เข็ญ คุกคาม หรือหลอกลวง การโน้มน้าวใจมิใช่พฤติกรรมที่ดีหรือเลว แต่เป็นพฤติกรรมกลางๆ ขึ้นอยู่กับเจตนาที่อยู่เบื้องหลัง

8 ข้อสรุปของการโน้มน้าวใจ(ต่อ)
การโน้มน้าวใจเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายเสมอ และต้องใช้กลวิธีที่ทำให้เกิดผล การเรียนรู้วิธีโน้มน้าวใจ ต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมควบคู่กันไปด้วยเสมอ

9 ภาษาที่โน้มน้าวใจ ควรเป็นภาษาสุภาพ ไม่บังคับหรือแสดงอำนาจ พยายามใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล น่าฟัง ชัดเจน กระชับและรัดกุม ทำให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เช่น คำขวัญ คำขวัญ คือ ถ้อยคำสั้นๆที่กระชับและชัดเจนมาเรียงกัน มีสัมผัสในคล้องจอง เช่น คำขวัญวันเด็กประจำปี พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ว่า “สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม”

10 การพิจารณาสารโน้มน้าวใจในลักษณะต่างๆ
อาจแบ่งได้ ๓ ชนิด ดังนี้ ๑. คำเชิญชวน ๒. โฆษณาสินค้า หรือโฆษณาบริการ ๓. โฆษณาชวนเชื่อ

11 คำเชิญชวน คำเชิญชวน มักเน้นให้ผู้รับสารคล้อยตามว่าปฏิบัติตามแล้วจะเป็นที่ยอมรับในสังคม อาจปรากฏในรูปของใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ อาจบอกด้วยวาจาเฉพาะหน้า ผ่านทางเครื่องขยายเสียง วิทยุหรือโทรทัศน์ คำประกาศเชิญชวน มักจะบ่งบอกจุดประสงค์อย่างชัดเจน และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมทั้งวิธีปฏิบัติ

12 กลวิธีในการเขียนคำเชิญชวน
คือ การกระตุ้นให้ผู้ถูกโน้มน้าวเกิดความภูมิใจว่า ถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวน จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม และเป็นที่ยอมรับอย่างมีเกียรติในสังคม สารโน้มน้าวชนิดนี้มักจะเป็นไปในทางวัฒนะ

13 โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ
เน้นสินค้าและการบริการ มุ่งประโยชน์ทางธุรกิจ โดยใช้สื่อที่สะดุดตาและหู เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ

14 ประโยชน์ของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
ทำให้ผู้ต้องการซื้อสินค้านั้นทราบได้ทันทีว่าจะไปซื้อหาหรือรับบริการที่ไหน สินค้าที่มีประโยชน์และจำเป็นแก่ชีวิตเมื่อโฆษณาแพร่หลาย ปริมาณการจำหน่ายสูง ราคาจะถูกลง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ได้รับค่าโฆษณา ทำให้สามารถแพร่ข่าว ความรู้และความบันเทิง

15 โทษของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
อาจทำให้ประชาชนหลงผิด ซื้อหรือใช้บริการที่ไม่สมควรแก่ภาวะความจำเป็นของตน การโฆษณาที่แข่งขันกันมากทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ราคาสินค้าก็สูงขึ้นกว่าที่ควรเป็น การใช้ภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาที่มุ่งความแปลกใหม่ อาจทำลายคุณค่าทางเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติได้

16 โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายาม โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนความเชื่อ และการกระทำของบุคคลจำนวนมาก ให้เป็นไปในฝ่ายของตน ด้วยกลวิธีต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามเหตุผลและข้อเท็จจริง

17 ชนิดของการโฆษณาชวนเชื่อ
โฆษณาชวนเชื่อทางการค้า โฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง เนื่องจากเจตนาที่อยู่เบื้องหลังสารชนิดนี้ มักเป็นไปทางหายนะมากกว่าวัฒนะ จึงควรทราบกลวิธีการโฆษณาชวนเชื่อ และใช้วิจารณญาณให้ดี ไม่หลงเชื่อง่ายๆ

18 กลวิธีการโฆษณาชวนเชื่อ
การตราชื่อ ใช้ถ้อยคำหรูหรา อ้างบุคคลหรือสถาบัน อ้างประโยชน์ตน อ้างคนส่วนใหญ่ อาจทำตัวให้กลมกลืนกับชาวบ้าน เพื่อง่ายต่อการชักจูง

19 จากสารโน้มน้าวใจทั้ง ๓ ลักษณะ เราควรพิจารณาจากจุดประสงค์ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม เป็นหลักในการตัดสินใจที่จะเชื่อถือหรือซื้อสินค้าและบริการ


ดาวน์โหลด ppt บทเรียนโปรแกรม Power Point

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google