งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประโยคในการสื่อสาร จัดทำโดย ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประโยคในการสื่อสาร จัดทำโดย ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประโยคในการสื่อสาร จัดทำโดย ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓
ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓ ด.ช. ปัญญาวุฒิ ปิยะศิรินานันท์ เลขที่ ๔๔

2 ประโยคในการสื่อสาร ประโยคในการสื่อสารด้วยการพูดและการเขียนมีหลายรูปแบบดังนี้ ๑. ประโยคบอกเล่า ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่มีเนื้อหารายละเอียดเพียงเพื่อให้คนฟังรับทราบ รับรู้เพียงเท่านั้น ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ๒. ประโยคคำถาม ประโยคคำถาม คือ ปะโยคที่ใช้ในการตั้งคำถาม เมื่อต้องการคำตอบ จะมีคำแสดง เป็นคำถามอยู่ในประโยค จะอยู่ต้นประโยค หรือท้ายประโยคก็ได้ คำที่แสดงคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม เมื่อไร อย่างไร หรือ ไหม ประโยคคำถามมี อยู่ 2 ลักษณะ คือ ๒.๑ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นคำอื่นแทนที่ใช้คำถาม (คำถามปลายเปิด ตอบแบบไหนก็ได้) มักจะมีคำว่า ใคร อะไร เหตุใด เช่น อะไรอยู่ในกล่องใบนี้ ? (คำตอบจะเป็นอะไรก็ได้) ๒.๒ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ หรือ ปฏิเสธ ซึ่งจะมีคำว่า ไหม หรือ หรือไม่ อยู่ในประโยคคำถาม เช่น เธอจะไปดูหนังกับฉันไหม ? (คำตอบคือ ไป กับ ไม่ไป ซึ่งถ้าไม่ไปก็จะได้ใช้ประโยคปฏิเสธในข้อ 2 มาเกี่ยวด้วย)

3 ๓. ประโยคปฏิเสธ ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่บอกถึงการไม่ยอมรับ ข้อเสนอ หรือข้อตกลงต่างๆ ซึ่งมักจะมีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้ ประกอบอยู่ในประโยคด้วย เช่น แม่ยังไม่ได้กลับบ้านเลย ๔. ประโยคคำสั่ง ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่บอกให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตาม ให้ทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ๔.๑ ประโยคคำสั่งให้ทำ มักนิยมใช้คำกริยา ขึ้นต้นประโยค หรือ ใช้คำว่า “จง” ขึ้นต้น และในประโยคมักจะมีคำว่า ซิ นะ หน่อย อยู่ในประโยคด้วยเช่นกัน เช่น เธอ จง ทำงานที่ครูสั่งให้เสร็จนะ เดิน ให้มันดีๆ หน่อย ๔.๒ ประโยคห้าม หรือ สั่งไม่ให้ทำ มักละประธานไว้ และ ใช้คำว่า อย่า ห้าม เช่น ห้ามออกนอกบ้านเวลากลางคืน อย่าส่งเสียงดัง

4 ๖. ประโยคแสดงความต้องการ
๕. ประโยคขอร้อง ประโยคขอร้อง คือ ประโยที่ขอให้ผู้ฟังทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ ซึ่งผู้ฟังจะทำหรือไม่ทำก็ได้ จะแตกต่างจากประโยคคำสั่ง ซึ่งประโยคขอร้อง จะร่วมไปถึงประโยคชักชวน และ ประโยคอนุญาต ซึ่งจะมีคำว่า กรุณา โปรด วาน ขอ ช่วย อยู่หน้าประโยค และจะมีคำว่า ซิ หน่อย นะ น่า อยู่หลังประโยค เช่น ช่วยหยิบดินสอให้หน่อย ๖. ประโยคแสดงความต้องการ ประโยคแสดงความต้องการ คือ ประโยคที่บอกถึงความต้องการ ความยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น หรือ ต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเราจะพบคำว่า ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยคด้วย เช่น เขาต้องการที่จะเป็นที่มีชื่อเสียง *สังเกตจะมีความต้องการอยู่ในประโยค

5 เริ่มเกมส์ ประโยคในการสื่อสาร

6 ๑. สุนัขของฉันกัดแมวของเธอ เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคคำถาม ข. ประโยคขอร้อง ค. ประโยคบอกเล่า ง. ประโยคแสดงความต้องการ

7 ๒. ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
ก. ทำไมวันนี้คุณไม่ไปโรงเรียน? ข. ผมจะไปทำงานครับ ค. ใครเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน? ง. ถูกทั้ง ก และ ค

8 ๓. ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า
ก. ห้ามกินข้าวเน่านะ ข. ห้ามเดินผ่านทางนี้ ค. บ้านหลังนี้เลี้ยงสุนัขหลายตัว ง. โอ๊ะ ! ขอโทษครับ ผมไม่ทันเห็น

9 ๔. ข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง
ก. กินไหม ข. กินน่าเพื่อน ค. กินเถอะน่า ง. กินเดี๋ยวนี้

10 ๕. ข้อใดเป็นประโยคขอร้อง
ก. อย่าไปเลยน่า ฝนกำลังจะตกแล้ว ข. จงอย่าส่งเสียงดังในที่ประชุม ค. อย่าวิตกจนเกินกว่าเหตุ ง. ห้ามทิ้งขยะหรือสิ่งของต่าง ๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง

11 ๖. “ฉันไม่ต้องการทำการบ้านตอนนี้” เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคบอกเล่า ข. ประโยคปฏิเสธ ค. ประโยคคำถาม ง. ประโยคคำสั่ง

12 ๗. “ทำไมนักเรียนไม่ทำการบ้านมาส่ง” เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคบอกเล่า ข. ประโยคปฏิเสธ ค. ประโยคคำถาม ง. ประโยคคำถามปฏิเสธ

13 ๘. “หมาตัวนั้นไม่ดุ” เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคปฏิเสธ ข. ประโยคคำถาม ค. ประโยคบอกเล่า ง. ประโยคแสดงความต้องการ

14 ๙. “ฉันอยากไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ตที่สุด” เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคแสดงความต้องการ ข. ประโยคขอร้อง ค. ประโยคปฏิเสธ ง. ประโยคคำถาม

15 ๑๐. ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
ก. ไหนเลยเขาจะเห็นชอบกับพวกเรา ข. ไหน ๆ ก็มาแล้วช่วยกันทำให้สำเร็จเถิด ค. ไหนเธอว่าจะพาพวกเราไปเที่ยวทะเลไงเล่า ง. ไหน ๆ ก็รู้จักกันมานานแล้ว จะไม่ช่วยเหลือได้อย่างไรเล่า เพื่อน

16 เฉลยคำตอบ ๑. ค ๖. ข ๒. ง ๗. ง ๓. ค ๘. ก ๔. ง ๙. ก ๕. ก ๑๐. ค

17 ถูกต้องแล้วครับ! ไปข้อ1 ไปข้อ2 ไปข้อ3 ไปข้อ4 ไปข้อ5 ไปข้อ6 ไปข้อ7
ไปข้อ8 ไปข้อ9 ไปข้อ10

18 ผิดลองใหม่นะ

19 ขอบคุณครับ 


ดาวน์โหลด ppt ประโยคในการสื่อสาร จัดทำโดย ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google