Domain Name System (DNS)
DNS หรือ Domain Name System ในความหมายทั่วไป นั้นหมายถึง พื้นที่ที่ควบคุม หรือ โลกของความรู้ในอินเตอร์เน็ต domain ประกอบด้วย กลุ่มของตำแหน่งเครือข่าย ชื่อ domain จัดโครงสร้างเป็นระดับโดยระดับบนสุดเป็นการระบุด้านภูมิศาสตร์ หรือจุดมุ่งหมายขององค์กร เช่น .th หมายถึง ประเทศไทย .com หมายถึง หน่วยธุรกิจ ระดับที่สอง เป็นชื่อที่ไม่ซ้ำ (Unique) ภายใน Domain ระดับบนสุด และระดับต่ำที่ต้องนำมาใช้
ดังนั้น Domain Name System ก็เป็นระบบจัดการแปลงชื่อ(Domain Name)ให้เป็นหมายเลข IP address (name-to-IP address mapping) โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เพื่อใช้เก็บข้อมูล ที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การจดจำตัวเลข IP สำหรับแต่ละที่อยู่เว็บไซต์ มีความยากลำบากในทางปฏิบัติจึงได้มีระบบการแปลงเลข IP ให้เป็นชื่อที่ประกอบขึ้น จากตัวอักษร คำ หรือ วลี เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ซึ่งเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) เมื่อเราป้อนที่อยู่เว็บไซต์ หรือโดเมนเนม ให้กับโปรแกรม Browser คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงโดเมนเนม ให้เป็นชุดตัวเลข IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ด้วยกันเอง เข้าใจระบบที่ใช้แปลงค่า ระหว่างโดเมนเนม และ เลข IP นี้เรียกว่า Domain Name System (DNS)
Domain Name Server (DNS) คือ สิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใครคน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ
Domain name server โดยปกติจะมี 2 ส่วน คือ. 1 Domain name server โดยปกติจะมี 2 ส่วน คือ 1. Primary Name Server เป็นเครื่องหลักที่เก็บข้อมูลชื่อและ IP Address ของเครื่องในโดเมนเนม 2. Secondary Name Server เป็นเครื่องสำรองที่เก็บสำเนาข้อมูล ทั้งหมดของเครื่อง Primary ซึ่งอาจมีการสำรองมากกว่า 1 เครื่องก็ได้ โดยการจะจด DNS Name Server ได้ จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิด อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ที่ผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) มหาวิทยาลัยใหญ่ บริษัทใหญ่ และผู้ให้บริการ รับฝาก เว็บ ซึ่งเรียกว่า Web Presence หรือ Web Hosting เป็นต้น
ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ. 1 ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 1.Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client 2.Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก 3.Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative
การทำงานของระบบ DNS การทำงานของระบบชื่อโดเมนนั้น เริ่มต้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็น DNS Server ซึ่งทำงานด้วยซอฟแวร์พิเศษชื่อว่า BIND ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่าง DNS Server แต่ละเครื่องผ่าน DNS Photocal เมื่อมีคำร้องขอให้สืบค้นหมายเลข IP อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ DNS Server จะมีให้ก็ต่อคำร้องหนึ่งๆนั้น ขันกับว่า DNS Server นั้นเป็น DNS Server ประเภทใด
การตั้งชื่อให้ DNS ต้องเป็นไปตามกฎนี้ ใช้ได้เฉพาะตัวอักษรละติน (ASCII character set) ใน RFC 1035 ระบุว่าสัญลักษณ์ที่ใช้ได้ในโดเมนเนม คือ (1) ตัวอักษร a ถึง z (case insensitive - ไม่สนใจพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่) (2) เลข 0 ถึง 9 (3) เครื่องหมายยติภังค์ (-)
แหล่งอ้างอิง http://www.susethailand.com/index.php/en/windows-server/dns-server http://www.mindphp.com/modules.php?name=News&file=article&sid=115 http://www.dpu.ac.th/compcntre/page.php?id=2362
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ห้อง ก.ไก่ จัดทำโดย นางสาวจิราภรณ์ สังข์กลิ่นหอม เลขที่ 20 นางสาวนันทนา บุญยะเลขา เลขที่ 45 นางสาวไพบูลย์ ขันตรี เลขที่ 65 นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ห้อง ก.ไก่