การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการนำเข้าและการส่งออกของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด รวมพร ประพฤติธรรม ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ
ปัญหาการวิจัย - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในวิชาการนำเข้าและการส่งออก ปรากฏ ออกมาในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (อ้างอิงจากการประเมินผลการเรียน และการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนวิชาการการนำเข้าและการส่งออก ปีการศึกษา 2555) - ตำราเรียนไม่มี - มีแนวคิดที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้นสามารถสร้างความคิดรวบยอด สรุปสาระสำคัญได้เป็น รูปธรรม -วิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้จักการใช้ความคิดในการวิเคราะห์ อย่างมีระบบ พบว่า แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็นการ สรุปความคิดให้เป็นหมวดหมู่อย่างสร้างสรรค์ - ผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีให้ผู้เรียนเขียนแผนฟังความคิด มาใช้แก้ปัญหาในการเรียนด้วยการสร้างแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด มาใช้เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด 2. เพื่อพัฒนาแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนผังความคิดวิชาการนำเข้าและการส่งออก 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาดที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด
ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักศึกษา 45 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสอน ได้แก่ แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด วิชาการนำเข้าและการส่งออก 2. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาการนำเข้าและการส่งออก และ แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการนำเข้าและการส่งออก - ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนผังความคิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วย เทคนิคการเขียนผังความคิด
สมมติฐานของการวิจัย 1. นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด อยู่ในระดับมาก
t-test Dependent Sample สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 1 สรุปเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาหลังการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด การประเมินผล N S.D. df t ก่อนเรียน 45 30.12 2.72 44 หลังเรียน 33.18 2.83 t-test Dependent Sample 3.29 1.62 14.352** **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง พบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ แสดงว่าแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิดมีคุณภาพ สามารถทำให้นักศึกษามีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ตารางที่ 2 คะแนนประสิทธิภาพของแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิดตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 การทดสอบ คะแนนเต็ม ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ระหว่างใช้แบบฝึก (E1) 60 48.20 80.33 หลังใช้แบบฝึก (E2) 40 33.18 82.95 จากตาราง พบว่า แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิดวิชาการนำเข้าและการส่งออกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ80.33/82.95 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 แสดงว่าแบบฝึกที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด รายการ S.D. ระดับความพึงพอใจ 1. ผู้สอนให้คำแนะนำแนวทางในการเขียนแผนผังความคิด 4.47 0.41 มาก 2. ช่วยให้นศ.จำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และจำได้มากขึ้น 4.49 0.38 3. ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาสาระด้ดีขึ้น มากขึ้น 4.33 0.36 4. ช่วยให้นศ.รู้จักคิดวิเคราะห์ 4.18 0.54 5. ช่วยให้นศ.จับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสาคัญได้ 4.17 0.53 6. นศ.สามารถใช้ในการเตรียมตัวสอบ ลดเวลาในการอ่านหนังสือ 4.08 0.29 7. เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง 4.04 0.44 8. ช่วยให้นศ.ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา 4.26 0.51 9. ทำให้นศ.มีสติ มีสมาธิ มีความรอบคอบมากขึ้น 4.03 0.27 10. ทำให้รู้จักวางแผน ลำดับขั้นตอนการทำงานได้ 4.06 0.47
สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบฝึกด้วยเทคนิค การเขียนแผนผังความคิด รายการ S.D. ระดับความพึงพอใจ 11. นศ.ชอบกิจกรรมในภาพรวมในการเรียนการสอน 4.38 0.43 มาก 12. นศ.ชอบวิธีที่ผู้สอนใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด 4.28 0.36 13. นศ.พึงพอใจวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 4.21 0.34 14 นำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ หรือในชีวิตประจำวันได้ 4.31 0.41 15. นศ.พึงพอใจผู้สอนที่ใช้วิธีการสอนแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด 0.51 ความพึงพอใจในภาพรวม 4.24 0.49
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ครูผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้นำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเทคนิคการเขียนแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ และยังสามารถไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถจัดระบบความคิดทำให้จำได้ดี จับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสาคัญได้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองการสอนควรเพิ่มให้มากขึ้น ผู้สอนจะต้องสร้างแบบฝึกให้น่าสนใจ เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และเป็นผู้กระตุ้นแนะนำ แนวทางเพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนแผนผังความคิดได้อย่างถูกต้อง
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้สอนได้สร้างนวตกรรมเป็นแบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิดวิชาการนำเข้าและส่งออก ช่วงแรกๆนักศึกษามีปัญหาในการเขียนคีย์เวิร์ด การวาดเส้น และการจับประเด็นเนื้อหาสาระสำคัญไม่ครบถ้วน แต่ต่อมานักศึกษาใช้ความพยายามและตั้งใจมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในวิชาการนำเข้าและการส่งออก เมื่อเทียบกับการสอนโดยไม่ใช้แบบฝึก และส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมอีกด้วย นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับประโยชน์โดยตรงทำให้ผู้เรียนสามารถจัดระบบความคิดทำให้จำได้ดี จับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสาคัญได้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง