การวางแผนการผลิต และการบริการ การวางแผนการผลิต และการบริการ มุกดา โจวตระกูล ที่ปรึกษาระบบมาตรฐานคุณภาพ GMP เครื่องสำอาง
คืออะไร การวางแผนกำลังการผลิต (PRODUCTION PLANNING) ความสามารถสูงสุดที่กำลังการผลิต มีหน่วยเป็นปริมาณผลผลิตต่อเวลา เช่น ตัน/ปี , ชิ้น/วัน
การบริหารการผลิตจะต้องสนใจกำลังการผลิต ด้วยเหตุผล 3 ประการ การบริหารการผลิตจะต้องสนใจกำลังการผลิต ด้วยเหตุผล 3 ประการ เพื่อผลิตสินค้า และบริการให้ทันต่อความต้องการของ ลูกค้า เพื่อประสิทธิภาพในจัดลำดับการผลิต และต้นทุนการผลิต เพื่อการตัดสินใจว่าจะขยายกำลังการผลิตอย่างไรจึงจะให้ ผลตอบแทนในการลงทุนสูงที่สุด
การดำเนินการวางแผนการผลิต ประเมินกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน คาดการณ์กำลังการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการ สินค้าและบริการ กำหนดทางเลือกเพื่อปรับกำลังการผลิต โดยวิเคราะห์ และประเมินผลการเงิน การตลาด และเทคนิค เลือกทางเลือกสำหรับการปรับปรุงการผลิตที่ดีที่สุด
ขั้นตอนการวางแผนการผลิต สินค้าคงเหลือปัจจุบัน (กรณีผลิตมากกว่าความ ต้องการสินค้า) ค้างส่งสินค้า (กรณีกำลังการผลิตน้อยกว่าปริมาณความ ต้องการสินค้า) ปรับระดับการใช้แรงงาน พนักงานทำงานล่วงเวลา ในช่วงที่ต้องเพิ่มกำลังการผลิต หรือยอมปล่อยให้ พนักงานมีเวลาว่างในช่วงที่มีความต้องการสินค้าลดลง
ขั้นตอนการวางแผนการผลิต (ต่อ) อบรม ให้ความรู้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้และ ความสามารถหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้เหมาะสมเพื่อที่จะ จัดสรรกำลังคน เพื่อการผลิตในลักษณะหมุนเวียนงาน ออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงสายการผลิต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต โดยไม่เพิ่มแรงงานหรือเครื่องจักร การจ้างเหมาช่วง (ช่วงที่กำลังการผลิตมาก) อาจจะใช้วิธีการ เหมาให้โรงงานอื่นรับงานไปทำชั่วคราว การซ่อมบำรุงเครื่องจักร (ช่วงที่กำลังการผลิตสินค้าน้อย)
การวัดกำลังการผลิตสามารถวัดได้ 2 ประการ วัดจากปัจจัยนำเข้า (Input) วัดจากผลิตภัณฑ์ (Output)
ปรับกลยุทธ์เมื่อกำลังการผลิต ไม่สอดคล้องกับความต้องการสินค้า กลยุทธ์ระยะสั้น (3-6 เดือน) แต่ส่วนมากจะไม่เกิน 1 ปี กลยุทธ์ระยะยาว ธุรกิจทั่วไปมักจะวางแผนกลยุทธ์ สำหรับดำเนินธุรกิจในช่วง 3-5 ปี
ระยะเวลาสำหรับการวางแผนกำลังการผลิต ระยะสั้น (Short Run Planning) จะพิจารณาในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้ถูกต้องแม่นยำ ระยะยาว (Long Run Planning) พิจารณาจากการวางแผนกำลัง การผลิตที่ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง (3-5 ปีเป็นอย่างน้อย) พิจารณามูลค่าเงินปัจจุบันที่จะได้ในอนาคต Present Value การวางแผนกำลังการผลิตรวม Aggregate Planning การพิจารณามูลค่าการลงทุนในระยะยาว โดยนำมาเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตในปัจจุบัน
รูปแบบของการวางแผนกำลังการผลิต (CAPACITY PLANNING MODELS) Present Value : PV จะเป็นรูปแบบที่ช่วยตัดสินใจ เมื่อนำมาพิจารณา ระยะเวลาในการลงทุนและงบกระแสเงินสด Aggregate Planning Models : เหมาะสมกับการผลิตภายใต้กำลังการผลิต ปัจจุบันในระยะสั้น Breakeven Analysis : สามารถแสดงจุดคุ้มทุนในปริมาณการผลิตที่น้อยที่สุด เมื่อทางเลือกในการขยายกำลังการผลิตจะประมาณการได้จากรายได้จาก การขาย Linear Programming : ประเมินกำลังการผลิตระยะสั้น (Short Run) การนำ Linear Programming มาประยุกต์ใช้กับกำลังการผลิตสินค้าที่มีหลาย ชนิด (Product Mixed) การวางแผนกำลังการผลิตระยะสั้น
วงจรการผลิต Manufacturing cycle การผลิตตามการสั่งซื้อของลูกค้าเรียกว่า Pull Manfacturing การผลิตตามอุปสงค์ในอนาคต เรียกว่า Push Manufacturing ซึ่งการผลิตแบบ Push มีโอกาสเสี่ยงต่อ สินค้าล้าสมัย และเสียหายชำรุดได้ง่าย โดยเฉพาะสินค้าที่มี ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บางบริษัท แก้ปัญหาโดยการชะลอการผลิตโดย จัดทำเกือบเสร็จแต่ยัง ไม่ได้ทาสี เมื่อมีลูกค้าสั่งค่อยจัดทำตามที่ลูกค้าต้องการ
รูปแบบวงจรการผลิต (MANUFACTURING CYCLE) จัดทำตารางการผลิต คำสั่งซื้อมาถึงบริษัท การผลิต การรับส่งมอบสินค้า
ระบบสารสนเทศทางการผลิต (PRODUCTION INFORMATION SYSTEM) การนําระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการต่าง ๆ ทางการผลิต เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล และความสะดวกในการทำงาน ควรมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
วิธีการหลักในการ นำระบบสารสนเทศมาใช้กับการผลิต Job-shop production วิธีการผลิตจะผลิตครั้งละน้อย ๆ ตาม ใบสั่งซื้อของลูกค้า หรือบางครั้งเรียกว่า Process-focused system Flow-shop production วิธีการผลิตสินค้าที่มีรูปแบบไม่มาก หรือไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการผลิตครั้งละมาก ๆ และต่อเนื่อง หรือบางครั้งเรียกว่า Product-focused system Batch production วิธีนี้จะมีรูปแบบการผลิตที่แน่นอน มีการกำหนดว่าการผลิต แต่ละครั้งได้กี่ชิ้น
THE END สามารถส่งคำถามได้ที่ มือถือ 08 1838 7649 หรือ e-mail : mukda.jow@gmail.com