โครงการในปีงบประมาณ 2558
โครงการที่ 1 พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ ในการเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านความรู้ การปฏิบัติเรื่องสุขภาพเต็มรูปแบบ สร้าง ผู้สูงอายุต้นแบบด้านสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุในชุมชนสามารถเป็นแกนนำด้านสุขภาพ ในชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากผู้สูงอายุสามารถ เสียสละเวลาในการทำงานสาธารณะได้มากกว่า อาสาสมัครกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้ชมรมผู้สูงอายุ เป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพ มีการถ่ายทอดประสบการณ์ การร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา สุขภาพชุมชน ตามบริบทของชุมชน
เป้าหมาย ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข มากกว่าร้อยละ ๘๐ ชมรมผู้สูงอายุ มีการคัดเลือกและยกย่องให้ รางวัล แกนนำชมรมผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีจิต อาสาในการทำงานชุมชน อย่างน้อยชมรมละ ๑๐ คน
กิจกรรม ชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีการประเมินตนเองให้ได้ตาม มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ เพื่อให้ชมรมผู้สูงอายุมีการ พัฒนาศักยภาพของสมาชิก ในการเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ (Elder Healthy Model) ชมรมผู้สูงอายุมีการประชุมและจัดกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ ประชาชนในชุมชน อย่างน้อย ๒ กิจกรรม เช่นกิจกรรมการป้องกัน โรคไข้เลือดออกในชุมชน กิจกรรมจิตอาสาในการดูแลเด็กและสตรี ในชุมชน กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน กิจกรรม นันทนาการในชุมชน กิจกรรมเล่านิทานในศูนย์เด็กเล็ก กิจกรรมอื่นๆ ตามบริบทของพื้นที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ชมรมผู้สูงอายุ มีการคัดเลือกแกนนำผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีกิจกรรม ที่เป็นต้นแบบด้านสุขภาพและยกย่องให้รางวัล
โครงการที่ 2 เฝ้าระวังและป้องกันการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น
วัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิกแม่บ้านสาธารณสุขและ อาสาสมัครเครือข่ายแม่บ้านสาธารณสุข มีการ ดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อให้แม่วัยรุ่นและบุตร ได้รับการดูแลด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม แบบบูรณา การ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน การเฝ้าระวังและป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
เป้าหมาย เครือข่ายอาสาสมัครแม่บ้านสาธารณสุขและ สมาชิกแม่บ้านสาธารณสุข ร่วมโครงการ ๗๖ จังหวัด ในการรับนโยบายและแนวทางการ ดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในแม่วัยรุ่น จังหวัดนำร่อง ๑๐ จังหวัด มีการดำเนินการ อบรมอาสาสมัครเครือข่ายแม่บ้านสาธารณสุข จังหวัดละ ๒๐ คน และไปจัดตั้งเครือข่าย “สายใยรักแม่วัยรุ่นในชุมชน”
กิจกรรม การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์แม่วัยรุ่นในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งเครือข่าย “สายใยรักต่อแม่ วัยรุ่นในชุมชน” ประสานการช่วยเหลือดูแล แม่วัยรุ่น แบบครบวงจร
การประสานความช่วยเหลือ > ด้านสุขภาพแม่และพัฒนาการเด็ก : สาธารณสุข ด้านการฝึกอาชีพ : พัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ การศึกษาต่อ : กระทรวงศึกษาธิการ การสงเคราะห์แม่วัยรุ่น : พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ การนำบุตรของแม่วัยรุ่นเข้าศูนย์เด็กเล็ก : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขอบคุณค่ะ