บริการพยาบาลด้วยใจ ให้เข้าถึงสิทธิ ไม่ผิดกฎหมาย ดร. กาญจนา จันทร์ไทย ผู้อำนวยสำนักการพยาบาล
ประเด็นกฎหมาย 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ การเข้าถึงสิทธิต่างๆ ของผู้ป่วย มี - กลุ่มใหญๆ คือ สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ(รวมรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมือง) สิทธิ uc 2.กฎหมายวิชาชีพ 3.กฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน กำลังคน ค่าตอบแทน ระบบข้อมูล การปรับโครงสร้างกระทรวง งบประมาณ Service Plan
ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต (living Will) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตคน หรือเพื่อยืดการทรมานจากการเจ็บป่วยได้.... กฎกระทรวงของ สช. ได้ออกแนวทางปฎิบัติ มีผลบังคับใช้เมื่อ 20 พค. 2554
พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง เมื่อมีผู้ขอทำหนังสือแสดงเจตนาฯมาขอทำที่สถานพยาบาล พยาบาลอำนวยความสะดวก แต่ไม่ได้ชี้ชวนให้ทำ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีไม่ควรเซนต์เป็นพยานในหนังสือฯ ให้คำแนะนำกรณีการปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนา ผู้ป่วยตั้งครรภ์จะเป็นผลให้หนีงสือแสดงเจตนาต้องยกเลิกไว้ก่อนจนกว่าจะพ้นสภาพตั้งครรภ์
พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง (ต่อ) เมื่อผู้มารับบริการเข้ารักษาในโรงพยาบาล ไม่ควรไปถามหา living will เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยหรือญาตินำมาให้ สำเนาหนังสือไว้ในเวชระเบียน ฉบับจริงให้เก็บไว้กับผู้ป่วยหรือญาติ แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติรับรู้ง่าหนังสือฯจะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อาจด้วยวาจาก็ได้ แพทย์เป็นผู้อธิบายความเป็นไปของภาวะโรค หนังสือแสดงเจตนานำมาปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้าย
พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง (ต่อ) การแจ้งข่าวร้าย ควรให้แพทย์เป็นผู้แจ้งข่าวร้าย หรือถ้าเป็นพยาบาลควรได้รับการฝึกอบรมในการแจ้งข่าวร้าย การพิสูจน์หนังสือว่าเป็นของจริง กระทรวงสาธารณสุขได้มีมติในเรื่องนี้ว่าให้ดำเนินการโดยคณะบุคคล ซึ่งประกอบด้วยรองฯบริหาร แพทย์เจ้าของ และนิติกร แต่แนวปฎิบัติของแพทยสภาให้ญาติใช้กระบวนการทางศาล
พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง (ต่อ) การวินิจฉับภาวะสุดท้าย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกแนวปฎิบัติให้ใช้คณะบุคคล โดยประกอบด้วยแพทย์เจ้าของไข้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (ซึ่งอาจเชิญจากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป กรณีผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน และนิติกรของโรงพยาบาลหรือของจังหวัด ถ้าดำเนินการไม่ได้ก็ให้ส่งต่อ
พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง (ต่อ) การถอดถอนกรณีที่ญาตินำหนังสือฯมาแสดงในกรณีที่ผู้ป่วยภาวะสุดท้าย ได้มีการรักษาไประยะหนึ่งแล้ว แนวปฎิบ้ติของแพทยสภาไม่ให้มีการดำเนินการถอดถอน แม้จะไม่เป็นไปตามหนังสือแสดงเจตนา การดำเนินการใดๆให้ญาติได้รับรู้และเห็นพ้องต้องกัน (อาจให้มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้)